คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร มีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ปตท. ดังต่อไปนี้
- กำหนด และทบทวน นโยบาย กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรและกรอบการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร
- กำกับดูแล และสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงองค์กร และการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
- ให้ข้อเสนอแนะแนวทาง ติดตาม และประเมินผล การบริหารความเสี่ยงและการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย ต่อคณะกรรมการแผนวิสาหกิจและบริหารความเสี่ยง (Corporate Plan and Risk Management Committee, CPRC)(ระดับจัดการ) เพื่อนำไปดำเนินการ
- พิจารณารายงานผลการบริหารความเสี่ยงองค์กร และให้ข้อคิดเห็นในความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุม หรือบรรเทา (Mitigation Plan) และการพัฒนาระบบการจัดการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้แก่ CPRC เพื่อให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
- พิจารณารายงานผลการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย และให้ข้อคิดเห็นในแผนการดำเนินการเพื่อขยายผลเชิงบวด หรือลด/ชดเชยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียให้แก่ CPRC เพื่อให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
- สนับสนุนการดำเนินงานของ Chief Risk Officer (CRO) และ Chief Stakeholder Officer (CSO) ให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงองค์กร และการบริหารผู้มีส่วนได้เสีย
- รายงานผลการบริหารความเสี่ยงองค์กร และผลการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียให้คณะกรรมการ ปตท. รับทราบ และในกรณีที่มีปัจจัย หรือเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ ปตท. หรือผู้มีส่วนได้เสียของ ปตท. อย่างมีนัยสำคัญ ต้องรายงานต่อคณะกรรมการปตท. เพื่อทราบและพิจารณาโดยเร็วที่สุด
- พิจารณากลั่นกรองและให้ข้อคิดเห็นวาระทีมีภาระผูกพันในระยะยาว มีความซับซ้อนเชิงธุรกิจ ความซับซ้อนเชิงธุรกิจ ความซับซ้อนเชิงธุรกิจ และมีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อ ปตท. หรืออาจมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของ ปตท. อย่างมีนัยสำคัญ ก่อนที่จะนำเสนอ วาระนั้นๆ ต่อคณะกรรมการ ปตท.
- ประชุมคณะกรรมการฯ อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ปตท. มอบหมาย