สื่อประชาสัมพันธ์

Highlights / กิจกรรม

สื่อประชาสัมพันธ์

Highlights / กิจกรรม

PTT Net Zero Emissions

PTT Net Zero Emissions
19 มกราคม 2566

“เราต้องทำให้ได้ เราพร้อมเร่งลงมือทำจริง”

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

เราจะเดินหน้าต่อเนื่อง เพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เป็นจริงได้ เราจึงต้องเร่งวางแผนระยะยาว เพื่อปูทางสู่ปี 2050 NET ZERO EMISSIONS (เร็วกว่าเป้าหมายประเทศปี 2065) ด้วยการทุ่มเท เร่งลงมือทำเต็มที่อย่างมีกลยุทธ์ ในปี 2030, 2040 จนถึงปี 2050 เพื่อช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนให้เร็วที่สุด เพราะเราเชื่อว่าถ้ายิ่งแก้เร็ว จะยิ่งช่วยคนไทยลดความสูญเสียต่อชีวิต เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ได้เร็วยิ่งขึ้น


ทำทุกวิถีทาง… เพื่อให้ปี 2030 เป็นปีที่เราบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 15%
ปตท. จึงเร่งปรับปรุงเทคโนโลยีกระบวนการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ
เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจ Future Energy and Beyond



ทำให้เร็วที่สุด… ปี 2040 เราจะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้สำเร็จ
ปตท. จึงเร่งคิดค้น เร่งลงมือทำ ทั้งการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอน นำไปใช้ประโยชน์เป็นพลังงานหมุนเวียน
มีการประยุกต์ใช้พลังงานไฮโดรเจน เพื่อช่วยประหยัดและอนุรักษ์พลังงานในตัวไปอีกด้วย

ทุกสิ่งต้องเกิดขึ้นจริงในปี 2050
เราจึงต้องเร่งทำเพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์
ปตท. จึงมุ่งมั่นเร่งวางแผน คิดค้นไม่หยุด ลงมือทำจริง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้กับคนไทย
โดย ปตท. และ บริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น 100% มีการดำเนินโครงการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน
มีการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต
อีกทั้งเพิ่มปริมาณการดูดซับ และกักเก็บคาร์บอนด้วยการปลูกป่าอย่างยั่งยืน


เร่งปรับ 1
เร่งปรับ เร่งเปลี่ยน เร่งปลูก คือสิ่งที่ ปตท. เร่งลงมือทำ เพื่อช่วยให้คนไทยพ้นความเสี่ยงจากโลกร้อน
โดยเริ่มที่เร่งปรับ เป็นตัวตั้งต้นที่สำคัญเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
เน้นไปที่เร่งปรับการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
และเร่งดักจับ นำ CO2 ไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งการเร่งวิจัย เพื่อใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงใช้วิธีการทางธรรมชาติอื่นๆ เพิ่มเติม

เร่งปรับการผลิต

“เร่งปรับ” ด้วยการเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในกระบวนการผลิต
อีกทั้งปรับเปลี่ยนการส่งก๊าซให้ลูกค้าในอนาคต จากก๊าซธรรมชาติเป็น LNG
ซึ่งมีปริมาณ CO2 ปนอยู่น้อยมาก ทำให้ไม่ต้องดำเนินการแยก CO2 ออกจาก LNG
จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

เร่งดักจับ

“เร่งปรับ” ด้วยการเร่งดักจับ และกักเก็บCO2 ใน 2 ส่วนหลัก ทั้งพื้นที่ทะเลอ่าวไทย
และพื้นที่ใกล้ฝั่งในภาคตะวันออก (Off-Shore และ Near-shore)
ที่ Off-shore มี pilot project คือ โครงการ CCS ของแหล่งก๊าซฯ Arthit ซึ่งเป็นที่แรกของไทย
และมีการนำ CO2 ไปใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงธุรกิจ ด้วยการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
โดยปัจจุบันมีแผนเบื้องต้นในการดำเนินโครงการ Sodium Bicarbonate และศึกษาโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคต


เร่งนำพลังงานมาใช้

“เร่งปรับ” โดยเร่งนำพลังงานมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
มีการคิดค้นนำพลังงานความเย็นที่ได้จากกระบวนการเปลี่ยนสถานะก๊าซ LNG
มาสร้างความเย็นให้กับโรงเรือนประหยัดพลังงานต้นแบบ
ใช้สำหรับเพาะปลูกไม้เมืองหนาว อย่างลิลลี่ ทิวลิป และสตรอว์เบอร์รี่
เป็นการลดการนำเข้าพันธุ์ไม้จากต่างประเทศอย่างได้ผล

เร่งพัฒนา

“เร่งพัฒนา” ด้วยการเร่งวิจัย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเห็นผล

เร่งการใช้ H

“เร่งปรับ” ด้วยการเร่งผลักดันการใช้พลังงานไฮโดรเจน ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต
โดยนำมาผสมในเชื้อเพลิงในสัดส่วน 5-30% ของเครื่อง Turbine
จึงช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้


เร่งเปลี่ยน cover

ปตท. เร่งปรับ เร่งเปลี่ยน เร่งปลูก อย่างต่อเนื่อง
และ เร่งเปลี่ยน คือ ตัวแปรสำคัญ ที่ช่วยคนไทยลดเสี่ยงจากโลกร้อน
เร่งเปลี่ยน เพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นจริงได้ (NET ZERO EMISSIONS)
โดยเพิ่มการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด และธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน (Future Energy & Beyond)
มีเป้าหมายลงทุนในระยะยาว 10 ปี ที่ร้อยละ 32 ของงบประมาณลงทุน

เร่งเปลี่ยน 1

“ขยายระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้สมบูรณ์ และครบวงจร ทั้ง “ผลิต-เช่า-ชาร์จ”

ผลิต
- ส่ง “Arun” Plus จับมือกับ “Foxconn” จัดตั้ง “Horizon Plus” เพื่อผลิต และประกอบ EV ครบวงจร ด้วยเทคโนโลยี MIH platform
- ลงทุนกับ Partner ศึกษาและผลิตรถโดยสารพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ (E-Bus)
- ร่วมมือกับ GC และ IRPC ลงทุนด้าน Raw Materials นำเม็ดพลาสติกมาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

เช่า
“EVme” ผู้ให้บริการเช่าใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์ชั้นนำ ด้วยบริการแบบครบวงจร ง่ายครบจบในแอปเดียว

ชาร์จ
- ขยายเครือข่ายสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ on-ion ให้ครอบคลุมทั่วไทย พร้อมบริการติดตั้ง EV Charger ในที่พักอาศัย
- ร่วมกับ “GPSC” ลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ รองรับอุตสาหกรรม EV และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
- Swap & Go ธุรกิจให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แบบไม่ต้องรอชาร์จ

เร่งเปลี่ยน 2

“มุ่งลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด”
กลไกสำคัญลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล (Floating Solar on Sea) โครงการโซลาร์ลอยน้ำทะเลแห่งแรกของไทย
ตั้งอยู่ที่ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด
ยกระดับความสามารถการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เร่งเปลี่ยน 3

สู่ทางเลือกไลฟ์สไตล์อาหารเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
เพิ่มการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน (Beyond)
ด้วยผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช (Plant-based)
ที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนจากการทำปศุสัตว์ได้ถึง 30%
alt.Eatery จาก NRPT บริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด
และบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด ที่พร้อมก้าวสู่ผู้นำธุรกิจอาหารโปรตีนจากพืช


ปตท. เร่งปลูกป่าเพิ่ม อย่างไม่หยุดยั้ง
เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนไทย
ช่วยเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ
ด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งเร่งปลูกเพิ่มและฟื้นฟูรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเร่งขับเคลื่อนให้ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์



ปตท. อาสาปลูกและฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม
ทั้งป่าบกและป่าชายเลนทั่วประเทศ มาเป็นระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษ
เพิ่มพื้นที่ป่ากว่า 1 ล้านไร่ให้กับประเทศไทย
ในวันนี้ ปตท. ตั้งเจตนารมณ์เร่งปลูกป่าเพิ่มเติมอีก 1 ล้านไร่
เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์



ป่าทั่วประเทศกว่า 1 ล้านไร่ ที่ ปตท. ร่วมกับภาคีเครือข่ายร่วมปลูกและฟื้นฟู
สามารถดูดซับ CO2 กว่า 2.14 ล้านตัน CO2  / ปี และเพิ่ม O2 ได้มากถึง 1,700,000 ตัน O2 /ปี
รวมถึงนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับ (Drone)
มาช่วยสำรวจพื้นที่ร่วมกับภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ปริมาณการกักเก็บ CO2
สำรวจหาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูก และบำรุงรักษาป่าใหม่ให้ดูดซับ CO2 อย่างมีประสิทธิภาพ



ปลูกป่า ได้มากกว่าต้นไม้...
นอกจากพื้นที่ป่าที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศคือการคืนบ้านให้กับสัตว์ป่า
ป่าบกและป่าชายเลนที่เติบโต ได้คืนความอุดมสมบูรณ์สู่ธรรมชาติ
เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าน้อยใหญ่ สร้างระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ



ผลสัมฤทธิ์จากการปลูกป่ากว่า 1 ล้านไร่ที่ผ่านมา
นอกจากคืนความสมบูรณ์สู่ธรรมชาติ ยังสร้างทุนทางสังคม
ก่อเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน
ผลผลิตจากป่า สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยรอบ กว่า 280 ล้านบาทต่อปี


ลงมือทำ Net Zero

มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อโลกที่ยั่งยืน
ปตท. เชื่อมั่นด้วยความพร้อมและ “เร่งลงมือทำ” เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้เป็นจริงในปี 2050

เร่งปรับกระบวนการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เร่งเปลี่ยน สู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เร่งปลูกป่า เพื่อช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก

ทั้งหมดที่เราเร่งทำ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
สร้างโลกใหม่ที่น่าอยู่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม

----------