ความยั่งยืน

การบริหารจัดการสิทธิมนุษยชน

ความยั่งยืน

การบริหารจัดการสิทธิมนุษยชน

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
   





ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานของ ปตท.

ปตท. พัฒนาและดำเนินการระบบการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับการบริหารจัดการความยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2558 และได้มีการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน  (Human Rights Due Diligence: HRDD) ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. (PTT Group Way of Conduct) ผลการประเมินฯ ล่าสุดเมื่อปี 2566 พบว่ามีประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญ คือ ความมั่นคงปลอดภัย และอาชีวอนามัยของพนักงานและผู้รับเหมา สิทธิแรงงาน สภาพการทำงานของผู้ค้า มาตรฐานการเป็นอยู่ของชุมชน และสิทธิของชนพื้นเมือง  ผลการประเมินดังกล่าวได้ถูกนำมาบูรณาการในการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของ ปตท. ประจำปี 2566 ด้วย โดยครอบคลุมอยู่ในทุกมิติของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและ ผลกระทบต่อบุคคล ชุมชนสังคม ซึ่งสอดคล้องตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) Sustainability Reporting Standard ปี 2021 : GRI 3 : Material Topics 2021

แนวทางการจัดการ

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของ ปตท. 

ปตท. เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนต่อความยั่งยืนขององค์กร จึงได้วางรากฐานให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐานของ ปตท. โดยยึดถือปฏิบัติตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ตามกฎหมายและเป็นมาตรฐานในระดับสากล เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และปฏิญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศเรื่องหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) เป็นต้น  ปตท. แสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจโดยเคารพซึ่งหลักสิทธิมนุษยชนไว้อย่างชัดเจนใน คำแถลงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงนามโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการป้องกัน ควบคุมและลดความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ ได้แก่ พนักงาน ชุมชนท้องถิ่น และพันธมิตรทางธุรกิจและพนักงานของพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน พันธสัญญาและหลักปฏิบัติในระดับสากล นอกจากนี้ ยังแสดงความมุ่งมั่นไว้ใน นโยบายการกำกับการดูแลปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อีกด้วย

โครงสร้างกำกับดูแล บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน

ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งถูกบูรณาการไปในกระบวนการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กรนั้น คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee: CGSC) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการชุดย่อยภายใต้คณะกรรมการ ปตท. ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบาย และการบริหารจัดการความยั่งยืนของกลุ่ม ปตท. ครอบคลุมการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนตลอดสายโซ่อุปทานของ ปตท. รวมถึง คณะกรรมการ ปตท. ได้ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ติดตามการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการ/ กรรมการอิสระ คุณวุฒิการศึกษา
  • ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์การทำงาน
  • 9 มีนาคม 2566 ประธานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน
  • 22 มีนาคม 2566 ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร)
  • 1 ตุลาคม 2560 ปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • 1 ตุลาคม 2555 อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • อดีต   ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง กระทรวงมหาดไทย
  • อดีต   ประธานกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย
  • อดีต   ประธานกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย
นางพงษ์สวาท นีละโยธิน กรรมการอิสระ/ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร คุณวุฒิการศึกษา
  • ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์การทำงาน
  • 2565 - ปัจจุบัน   ปลัดกระทรวงยุติธรรม
  • ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.)
    (รักษาราชการแทน)
  • รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • กรรมการร่างกฎหมายประจำ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ กองทุนการออมแห่งชาติ
  • กรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3
  • กรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
  • ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายคมนาคม
  • ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายการเมืองการปกครอง
  • ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายปกครอง
  • กรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
  • ผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต กรรมการอิสระ และคณะกรรมการตรวจสอบ คุณวุฒิการศึกษา
  • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • LL.M. , University of Cambridge , UK.
  • Ph.D. (Doctor of Philosophy (Law)) , University of Edinburgh, UK.
ประสบการณ์การทำงาน
  • ปัจจุบัน: อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประธานหมวดวิชากฎหมายมหาชน)
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท กรรมการ/กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร คุณวุฒิการศึกษา
  • ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) Western Michigan University สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์การทำงาน
  • 2566 - ปัจจุบัน อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • 2564 - 2567 กรรมการ/ กรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน)
  • เมษายน 2564 กรรมการ/ กรรมการสรรหา/ กำหนดค่าตอบแทน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • 2562 - 2566 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
  • 2562 - มีนาคม 2564 กรรมการ/ กรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • 2561 - 2562 รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
  • 2558 - 2561 ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายแผนพลังงาน
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน คุณวุฒิการศึกษา
  • ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต(การปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ประสบการณ์การทำงาน
  • ปัจจุบัน : ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • 2560-2562 : อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • 11 สิงหาคม 2558 - 7 มกราคม 2564
    กรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน

โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Incentive) ของคณะกรรมการ โดยครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลอย่างครบถ้วนรวมถึง ด้านสิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับระบบการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (SE-AM) โดย ปตท. ได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล (ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ในรายงาน 56-1 One Report ส่วนที่ 2 การกำกับดูแลกิจการ หัวข้อ การจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ ปตท. และเว็บไซด์ หัวข้อ การกำกับดูแลกิจการที่ดี)

สำหรับระดับจัดการ มีคณะกรรมการจัดการการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร (Governance Risk and Compliance Management Committee: GRCMC) และสายงาน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ภายใต้รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน โดยมี ฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน ทำหน้าที่พัฒนากระบวนการและกำกับดูแลการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนและสิทธิมนุษยชน ของ ปตท.และกลุ่ม ปตท. ในภาพรวม ซึ่งมีการถ่ายทอดการนำไปปฏิบัติไปยังหน่วยงานผู้รับผิดชอบในระดับ Corporate แต่ละ Function ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร เช่น หน่วยงานทรัพยากรบุคคล หน่วยงานความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานกิจการเพื่อสังคม หน่วยงานจัดหาพัสดุ และหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายฯ เป็นต้น 



คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนมีการประชุมรายไตรมาส เพื่อติดตามความคืบหน้าและให้ความเห็นต่อนโยบาย เป้าหมายระยะยาว/ประจำปี ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Material Topics) และความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน แผนการดำเนินงานและแผนบริหารจัดการความเสี่ยง โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบ/กระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึง มีการรายงานความก้าวหน้าเสนอคณะกรรรมการ ปตท. อีกด้วย 

รางวัลองค์กรต้นแบบ ประจำปี 2565


กระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ปตท.

ระบบบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่ม ปตท. (PTT Group Human Rights Management System) ได้ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2558 และจัดทำเป็น แนวทางการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่ม ปตท. (PTT Group Human Rights Management Guideline) เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. โดยครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ในทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท

ปตท. ผลักดันให้บริษัทในกลุ่ม ปตท. ประยุกต์ใช้และปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่ม ปตท.  ผ่านแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. (PTT Group Way of Conduct)  โดยที่บริษัทในกลุ่มจำเป็นต้องเปิดเผยการประเมินความเสี่ยง รวมถึงแผนการบรรเทาความเสี่ยง ตามโครงสร้างกำกับดูแลด้านความยั่งยืนทุกไตรมาส และรายงานความก้าวหน้ากลับมายัง ปตท. เพื่อจัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการ


ปัจจุบัน ปตท. ได้บูรณาการระบบบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไปในกระบวนการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กรอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การระบุประเด็น/ ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจากการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) เป็นหนึ่งในมุมมองของผลกระทบที่ต้องพิจารณาในกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร (Material topics) ด้วย ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจะถูกขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมผ่าน แผนแม่บทการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนฯ ปตท. ประจำปี 2564-2568 โดยมีการกำหนดเป้าหมายในแต่ละปีและเป้าหมายระยะยาว ภายในปี  2573 โดยการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน เท่ากับ ศูนย์ (Zero Human Rights Violation) รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน และถ่ายทอดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ ตัวชี้วัดระดับองค์กร / ระดับสายงานของหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งมีการรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนงานต่อคณะกรรมการตามโครงสร้างกำกับดูแลด้านความยั่งยืน ทุกไตรมาส

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน

ตัวชี้วัด

ขอบข่ายการวัดผล

น้ำหนัก (%)

  • ตัวชี้วัดและเป้าหมายตาม (Lagging KPI) วัดประสิทธิผลของการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
  • การละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน เท่ากับ 0
แผนแม่บทการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนฯ ปตท. ประจำปี 2564-2568
-
  • ตัวชี้วัดและเป้าหมายตาม (Lagging KPI) การปฏิบัติตามกฏหมายและกฏเกณฑ์ของ ปตท. (Non-compliance)
  • Non Compliance ครอบคลุมการกระทำที่เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง  ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ ด้วย 
  • วัดผลการดำเนินงานผู้บริหารทุกคน ตั้งแต่ระดับประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ลงมา
5
  • การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน (clean, healthy and sustainable environment)
  • ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) : ความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1, 2 และ 3)
  • ตัวชี้วัดระดับองค์กร/ สายงาน (Corporate KPI/ Functional KPI) : ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ 2
  • เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ซึ่งทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ปตท. ด้วย
  • วัดผลการดำเนินงานผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และสายงานที่เกี่ยวข้อง
5
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัยส่งผลกระทบต่อสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานของพนักงานและผู้รับเหมาในการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
  • ตัวชี้วัดในแผนแม่บทฯ และตัวชี้วัดระดับองค์กร/ สายงาน (Corporate KPI/ Functional KPI) : ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการความปลอดภัย (Safety Management Effectiveness) ของพนักงานและผู้รับเหมา  โดยประกอบด้วยตัวชี้วัด อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานรวม(Total Recordable Injuries Rate) อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Accident) และอุบัติเหตุจากกระบวนการผลิต (Process Safety Event) Tier 1
วัดผลการดำเนินงานผู้บริหารทุกคน ตั้งแต่ระดับประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ลงมา 5


การตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)GRI 407-1, GRI 408-1, GRI 409-1

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักการและกฎระเบียบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทมีความยั่งยืน และสอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศของไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีความมุ่งมั่นในการจัดทำมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนสำหรับพนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจ (ผู้รับเหมา ผู้ค้า ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ) ลูกค้า และชุมชน

การบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการประเมินความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบในขั้นตอนสำคัญของการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำ Due Diligence ในขั้นตอนการควบรวมหรือซื้อกิจการ การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ในการพัฒนาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ตามกฎหมาย ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการบรรเทาผลกระทบด้วยการบ่งชี้และประเมินประเด็นสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการประเมินอันตรายและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ตามมาตรฐาน ISO ในพื้นที่ปฏิบัติการทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้อยู่ในกระบวนการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (internal control) ของทุกหน่วยงานในองค์กร ซึ่งความเสี่ยงทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการโดยกำหนดเป็นมาตรการ ตลอดจนแผนบริหารจัดการรองรับตามความเหมาะสม และมีการรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บริหารในแต่ละสายงานที่ดูแลเป็นระยะ

สำหรับการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ตามมาตรฐานสากลซึ่งรวมถึงหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNGPs) ปตท. ได้กำหนดแผนการดำเนินงานที่จะทบทวนและปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) เป็นประจำทุก ๆ สองปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงหรือผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การลงทุน/ ขยายธุรกิจใหม่  ในพื้นที่/ ประเทศใหม่ หรือที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนสูง 

วัตถุประสงค์หลักของกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) คือการระบุและประเมินประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งครอบคลุมถึงการดำเนินงานของ ปตท. และพันธมิตรทางธุรกิจของ ปตท. รวมถึงผู้รับเหมา คู่ค้า ผู้จัดหาสินค้าและบริการ ซึ่งเป้าหมายหลักของการระบุและประเมินประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน คือการลดความเสี่ยงในเชิงรุก โดยการจัดทำมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบ และเพื่อการจัดการความเสี่ยงทางด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 

1. การกำหนดขอบเขตธุรกิจของกลุ่มบริษัท

2. การกำหนดบริบทด้านสิทธิมนุษยชน

3. การระบุ/ประเมินประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ และสิทธิที่เกี่ยวข้องในระดับบุคคล

4. การประเมินความเสี่ยง

5. การระบุการควบคุมและบรรเทาความเสี่ยง

6. การประเมินค่าความเสี่ยงคงเหลือ

7. การติดตามและทบทวน


กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ปตท. ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) โดยพิจารณาประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ ปตท. และกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท รวมถึงการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด (100 %)

กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) จะทำการตรวจสอบและควบคุมมาตรการปัจจุบันในการดำเนินธุรกิจของ ปตท. รวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมีเป้าหมายเพื่อระบุ บรรเทา ป้องกัน และแก้ไขความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชน
กระบวนการประเมินความเสี่ยง มีดังต่อไปนี้

กระบวนการประเมินความเสี่ยง มีดังต่อไปนี้

  1. ระบุประเด็นสิทธิมนุษยชน 
    ระบุประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ปตท. ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อธุรกิจและผู้ทรงสิทธิที่อาจได้รับผลกระทบ (รวมถึงกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง เด็ก ชนเผ่าพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น แรงงานข้ามชาติ แรงงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบุคคลที่สาม ผู้พิการ สตรีมีครรภ์ LGBTQI+) โดยการทบทวน และเทียบเคียงธุรกิจอุตสาหกรรมใกล้เคียง จากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับแนวโน้มประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก

    สิทธิแรงงาน
    (Labor Rights)

    สิทธิชุมชน
    (Community)

    ความมั่นคง ปลอดภัย (Security)

    สิ่งแวดล้อม
    (Environment)

    สิทธิลูกค้าและผู้บริโภค  (Customer and Consumer)

    การกำกับดูแลองค์กร (Corporate governance)

    • สภาพการทำงาน
    • เสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรอง
    • แรงงานบังคับและ
      การเกณฑ์แรงงาน
    • แรงงานเด็ก
    • สภาพการทำงานที่ปลอดภัย และ
      ถูกสุขลักษณะ
    • การเลือกปฏิบัติ
    • การล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศ
    • การค้ามนุษย์
    • มาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิต
    • สุขภาพ และความปลอดภัยในชุมชน
    • การมีส่วนร่วมของชุมชน
    • มรดกทางวัฒนธรรม
    • ชนกลุ่มน้อย รวมไปถึงคนพื้นเมือง
    • การโยกย้ายถิ่นฐาน 
    • การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย
    • ความรู้ความเข้าใจด้านความมั่นคงและความปลอดภัยที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิมนุษยชน
    • ทรัพยากรน้ำ
    • ผลกระทบของมลภาวะ
    • การบริหารจัดการของเสียและวัตถุอันตราย
    • ผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวิตภาพ
    • อุปสรรคในการเข้าถึงพลังงาน
    • สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
    • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล 
    • การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชั่น
    • การติดตามกฎหมาย
    • กฎระเบียบด้านสิทธิมนุษยชน
  2. การประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ 
    ประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ (ความเสี่ยงที่ไม่มีการควบคุมหรือมาตรการใด ๆ) ของประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ระบุ
  3. การประเมินความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ 
    ประเมินความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ (ความเสี่ยงจากการควบคุมหรือมาตรการของ ปตท.) ของประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ระบุ
  4. การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง 
    การจัดลำดับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ในระดับสูงสุด

การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือมีแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น
ขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน: การดำเนินงานของ ปตท. และกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ขอบเขตการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของ ปตท. ครอบคลุมถึงการดำเนินงานของ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ตามแนวทางการกำกับดูแลของ ปตท. ตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด


การประเมินคะแนนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนดำเนินการโดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ผลกระทบ และความเป็นไปได้

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน: ผลกระทบ (Impact)

ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจ รวมถึง ขนาด ขอบข่าย และข้อจำกัดของความสามารถในการแก้ไขผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นให้กลับไปมีสภาพดังเดิม

ผลกระทบ (Impact)
ระดับของผลกระทบ​ลักษณะของผ​ลกระทบ​จำนวนของผู้ทรงสิทธิ
ที่ได้รับผลกระทบ (Scope)
ความสามารถในการเยียวยาผลกระทบ
(Irremediability Nature)
  Critical ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย (ทางกายและทางใจ) ของผู้ทรงสิทธิอย่างรุนแรง อาทิ
  • ถึงขั้นทุพพลภาพ
  • เป็นอันตรายต่อชีวิต
ส่งผลต่อกลุ่มผู้ทรงสิทธิทั้งหมด (เช่น คนในชุมชนทั้งหมด พนักงานทั้งหมด คู่ค้าทั้งหมด ลูกค้าทั้งหมด) และ/หรือ กลุ่มเปราะบางตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป    เป็นไปไม่ได้ที่จะเยียวยาให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม และ/หรือ ใช้ระยะเวลานานในการเยียวยา (มากกว่า 5 ปี)
  Major
ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย (ทางกายและทางใจ) ของผู้ทรงสิทธิอย่างสูง  ถึงขั้นหยุดงาน
ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ทรงสิทธิส่วนใหญ่ (มากกว่า 50% ของกลุ่มผู้ทรงสิทธิ) และ/หรือ กลุ่มเปราะบางเพียง 1 คน ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานที่จะฟื้นฟูให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม (มากกว่า 3-5 ปี) 
  Moderate
ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย (ทางกายและทางใจ) ของผู้ทรงสิทธิอย่างเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยต้อง เข้ารับการรักษาทางการแพทย์
ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ทรงสิทธิบางส่วน (น้อยว่า 50% ของกลุ่มผู้ทรงสิทธิ) ใช้ระยะเวลาช่วงเวลาหนึ่งที่จะฟื้นฟูให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม (1-3 ปี)
  Minor
ไม่หรือแทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย (ทางกายและทางใจ) ของผู้ทรงสิทธิ โดยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือการรักษาโดยแพทย์
ไม่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ทรงสิทธิ ไม่ต้องใช้เวลาหรือใช้เวลาน้อยมากที่จะฟื้นฟูให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม (น้อยกว่า 1 ปี)

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน: โอกาสเกิด (Likelihood)

ระดับของผลกระทบ​ลักษณะของผ​ลกระทบ​ความน่าจะเป็น 
   

สูงมาก (4)
เคยเกิดขึ้นเป็นประจำ และ/หรือ มีโอกาสเกิดขึ้นเป็นประจำ
(เกิดขึ้นทุกวัน/ทุกสัปดาห์)
มีโอกาสเกิดขึ้นสูงมาก
(มากกว่า 20%)
   

สูง (3)
เคยเกิดขึ้นเป็นบ่อยครั้ง และ/หรือ มีโอกาสเกิดขึ้นสูง
(เกิดขึ้นทุกเดือน/ทุกไตรมาส)
มีโอกาสเกิดขึ้นสูง
(มากกว่า 10% ถึง 20%)
   

ปานกลาง (2)
เคยเกิดขึ้นแต่ไม่บ่อยครั้ง และ/หรือ มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย
(เกิดขึ้นปีละ 1 ครั้งในรอบ 1 – 2 ปี)
มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย
(มากกว่า 5% ถึง 10%)
 


น้อย (1)
แทบไม่เคยเกิดขึ้น และ/หรือ แทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
(เกิดขึ้นไม่เกิน 1 ครั้งในรอบ 3 – 5 ปี)
แทบไม่มีโอกาสในการเกิดขึ้น
(น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5%)

เมทริกซ์ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

  • การประเมินระดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจะดำเนินการโดยใช้เมทริกซ์ดังที่แสดงไว้ เพื่อกำหนดความสำคัญของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
  • การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนมี 2 มิติ คือ
    • ผลกระทบ (ระดับความรุนแรงของผลกระทบ จำนวนของผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบ และความสามารถในการเยียวยาผลกระทบ)
    • โอกาสเกิด
  • ขอบเขตของการประเมินครอบคลุมกลุ่มผู้ทรงสิทธิทั้งหมดที่อาจได้รับผลกระทบ (รวมถึงกลุ่มเปราะบาง) จากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ (Salient Issues) จะเป็นประเด็นที่มีระดับความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ “สูงมาก (Extreme)”

การบูรณาการดำเนินการ

ปตท. ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านตั้งแต่ปี 2558 ครอบคลุมทุกหน่วยธุรกิจหลักที่ ปตท. ดำเนินการเอง ประกอบด้วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2562 มีการขยายขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนไปยังธุรกิจที่ลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. (PTT Group Way of Conduct) ประกอบด้วย ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. จำนวน 16 บริษัท รวมเป็น 17 บริษัท ครอบคลุม 50 พื้นที่ 21 ประเทศ ประกอบด้วยธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก ธุรกิจถ่านหิน ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจของกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติการที่ ปตท. ดำเนินการเองทั้งหมด และร้อยละ 100 ของพื้นที่ของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่ ปตท.มีอำนาจในการบริหารจัดการ

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนล่าสุดจากการดำเนินงานของ ปตท. (Own Operations) กลุ่ม ปตท. (รวมถึง Joint Venture) และผู้ค้า/ ผู้รับเหมา (Tier 1)

พื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท.

บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่เป็น Joint Venture

ผู้ค้า/ ผู้รับเหมา
(Tier 1)

ร้อยละของพื้นที่ที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่มีแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น
100 100 100
ร้อยละของพื้นที่ที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยง
8.33 (2 แห่ง จาก 24 แห่ง) 0
ประเด็นความเสี่ยง ที่สำคัญ
  • พนักงาน:
  • อาชีวอนามัย (สุขภาพ) และความปลอดภัยคู่ค้า และผู้รับเหมา
  • อาชีวอนามัย (สุขภาพ) และความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • ชุมชน
  • สุขภาพ และความปลอดภัย
  • มาตรฐานการครองชีพ
-
ร้อยละของพื้นที่ที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยง มีการกำหนดและปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันความเสี่ยง รวมถึงกำหนดแนวทางการเยียวยาสำหรับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ

ประเด็นสิทธิมนุษยชนและผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบพนักงาน : อาชีวอนามัย (สุขภาพ) และความปลอดภัย

พื้นที่ปฏิบัติการที่พบความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ:
  • บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่)
มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ 

มีการใช้มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิของพนักงานได้รับการคุ้มครองในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ:

  • จัดให้มีนักกายภาพบำบัดให้คำแนะนำและพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมให้กับพนักงานในการยืดเหยียดร่างกายทุกชั่วโมง
  • ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงาน (โต๊ะ/เก้าอี้) ให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานและการยศาสตร์
  • จัดทำโครงการการจัดการความเครียดในที่ทำงาน
  • จัดทำคำแถลงด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งครอบคลุมนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Safety, Health, and Environment Policy) และจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อมั่นใจว่าเสียงของพนักงานจะได้รับการรับฟัง
  • จัดทำมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE กลุ่ม ปตท. โดยการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล QSHE เช่น ISO45001 ISO14001 เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยที่ดีแก่พนักงาน
  • กำหนดกฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ปตท. (PTT Life Saving Rules) และรณรงค์การนำไปใช้ในการปฏิบัติงานทุกช่วงเวลาการทำงาน
  • จัดให้มีการรายงานอุบัติการณ์ ซึ่งรวมถึงอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) และการกระทำหรือสภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (Sub-Standard Act/ Conditions) ในระบบ Incident and Non-Compliance Report System บน Intranet ขององค์กร
  • จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางต่างๆ
  • 1365 Contact Center
  • ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา
  • ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลของแต่ละหน่วยธุรกิจโดยตรง
  • ระบบข้อร้องเรียนแรงงานสัมพันธ์ของส่วนแรงงานสัมพันธ์
  • คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์
  • คณะกรรมการร่วมปรึกษาหารือ (Joint Consultation Committee: JCC)
  • สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (สร.ปตท.)
รายละเอียดของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น:
  • ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับอาชีวอนามัย (สุขภาพ) และความปลอดภัยของพนักงานอาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการทํางานที่ไม่ปลอดภัย หรือทํางานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานซึ่งอาจนําไปสู่อาการออฟฟิศซินโดรม
ผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มเปราะบาง:
  •  ผู้พิการ ผู้หญิง สตรีมีครรภ์ LGBTQI+
สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องตามหลักการจากตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (International Bill of Rights) : ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR)
  • สิทธิในการมีชีวิต
  • สิทธิในการได้รับสภาพเงื่อนไขการทำงานที่เป็นธรรมและน่าพอใจ
  • สิทธิที่จะได้รับการดำรงชีวิตที่ดี
  • สิทธิด้านสุขภาพ

ประเด็นสิทธิมนุษยชนและผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบ คู่ค้า และผู้รับเหมา: อาชีวอนามัย (สุขภาพ) และความปลอดภัย

พื้นที่ปฏิบัติการที่พบความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ:
  • บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
  • บริษัทในกลุ่ม ปตท. (ในประเทศไทย)
มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ

มีการใช้มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิของพนักงานได้รับการคุ้มครองในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ:

  • ทบทวนแนวปฏิบัติที่ปลอดภัยในการทำงานของระบบไฟฟ้า และสื่อสารแนวปฏิบัติที่ปลอดภัยให้คู่ค้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น
  • จัดทำแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนผู้ค้า (SSCoC) โดยให้คู่ค้า และผู้รับเหมา ปฏิบัติตามข้อกำหนดตลอดการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมเรื่องสิทธิมนุษยชน และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • กำหนดกฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ปตท. (PTT Life Saving Rules) และรณรงค์การนำไปใช้ในการปฏิบัติงานทุกช่วงเวลาการทำงาน
  • จัดทำคำแถลงด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งครอบคลุมนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Safety, Health, and Environment Policy)
  • จัดทำมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE กลุ่ม ปตท. โดยการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล QSHE เช่น ISO45001 ISO14001 เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยที่ดีแก่คู่ค้า และผู้รับเหมา
  • จัดให้มีการรายงานอุบัติการณ์ ซึ่งรวมถึงอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) และการกระทำหรือสภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (Sub-Standard Act/ Conditions) ในระบบ Incident and Non-Compliance Report System บน Intranet ขององค์กร
  • จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสให้คู่ค้า และผู้รับเหมาสามารถแจ้งเบาะแสโดยผ่าน
  • 1365 Contact Center
  • www.pttplc.com
  • PTT Voice” pttvoice@pttplc.com.
รายละเอียดของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น:
  • ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับอาชีวอนามัย (สุขภาพ) และความปลอดภัยของคู่ค้า และผู้รับเหมาอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทํางาน เช่นไฟฟ้าช็อต และการทํางานในพื้นที่สูง
ผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มเปราะบาง:
  • ผู้หญิง แรงงานข้ามชาติ แรงงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบุคคลที่สาม ผู้พิการ สตรีมีครรภ์ LGBTQI+
สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องตามหลักการจากตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (International Bill of Rights) : ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR)
  • สิทธิในการมีชีวิต
  • สิทธิในการได้รับสภาพเงื่อนไขการทำงานที่เป็นธรรมและน่าพอใจ
  • สิทธิที่จะได้รับการดำรงชีวิตที่ดี
  • สิทธิด้านสุขภาพ

ประเด็นสิทธิมนุษยชนและผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบ คู่ค้า และผู้รับเหมา: การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด

พื้นที่ปฏิบัติการที่พบความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ:
  • บริษัทในกลุ่ม ปตท. (ในประเทศไทย)
มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ

มีการใช้มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิของคู่ค้า และผู้รับเหมาได้รับการคุ้มครองในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ:

  • จัดทำคำแถลงการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งครอบคลุมถึงการไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบทั้งในด้านการจ้างงานและการปฏิบัติงาน
  • จัดทำคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้กล่าวถึง “ปตท. ปฏิบัติต่อบุคลากรของ ปตท. ทุกคนโดยเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ ไม่แบ่งแยก ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ สัญชาติเพศ อายุ สีผิว ศาสนา ความพิการ ฐานะ ชาติตระกูล สถานศึกษา หรือสถานะอื่นใดที่มิได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติงาน”
  • จัดทำแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนผู้ค้า (SSCoC) โดยผู้ค้าของ ปตท.จะให้การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมต่อลูกจ้าง โดยไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทน การเข้ารับการอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การเลิกจ้างหรือการให้ออกจากงาน อันเนื่องมาจากการแบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา อายุ สถานภาพการสมรส ผู้มีครรภ์ ความคิดเห็นทางการเมือง หรือผู้พิการ เป็นต้น
  • จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสให้คู่ค้า และผู้รับเหมาสามารถแจ้งเบาะแสโดยผ่าน
  • 1365 Contact Center
  • www.pttplc.com
  • PTT Voice” pttvoice@pttplc.com.
รายละเอียดของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น:
  • ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดคู่ค้า และผู้รับเหมาอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการมอบหมายงานที่ไม่เป็นธรรม หรือการข่มขู่ และการกระทําที่รุนแรงต่อร่างกายระหว่างพนักงานหรือผู้บังคับบัญชา
ผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มเปราะบาง:
  • ผู้หญิง แรงงานข้ามชาติ แรงงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบุคคลที่สาม ผู้พิการ สตรีมีครรภ์ LGBTQI+
สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องตามหลักการจากตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (International Bill of Rights) : ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR)
  • สิทธิชนกลุ่มน้อย
  • สิทธิเท่าเทียมของบุคคลตามกฎหมาย ทั้งด้านการได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ 
  • สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เข้าถึงข้อมูล และแสดงออก
  • สิทธิที่จะได้รับการดำรงชีวิตที่ดี
  • สิทธิในการได้รับสภาพเงื่อนไขการทำงานที่เป็นธรรมและ
    น่าพอใจ

ประเด็นสิทธิมนุษยชนและผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบชุมชน: สุขภาพ และความปลอดภัย

พื้นที่ปฏิบัติการที่พบความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ:
  • บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ

มีการใช้มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิของคู่ค้า และผู้รับเหมาได้รับการคุ้มครองในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ:

  • ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเฝ้าระวังที่มากขึ้น เช่น การใช้โดรนในการตรวจสอบและกำหนดความถี่ในการติดตามให้มากขึ้น
  • ให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการตรวจสอบท่อเบื้องต้น ซึ่งชุมชนสามารถช่วยติดตามสถานการณ์ได้
  • การดำเนินการบริหารจัดการความปลอดภัยในกระบวนการ (PSM) ในพื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท. และการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของ ปตท.
  • จัดทำคำแถลงการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งครอบคลุมนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Safety, Health, and Environment Policy) เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยกับชุมชน
  • จัดทำมาตรการควบคุมเหตุอุบัติการณ์ร้ายแรง และการตรวจสอบมาตรการควบคุม (Barrier validation)
  • จัดทำแผนการจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤต ของ ปตท. และการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและภาวะวิกฤต
  • ลงพื้นที่สื่อความสร้างความมั่นใจให้ชุมชน ในมาตรการความปลอดภัย/ การเตรียมความพร้อมรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และรับฟังความคิดเห็น นำมาพิจารณาประกอบการดำเนินงาน
  • เข้าพบ/ หารือผู้นำชุมชน เพื่อติดตามข้อร้องเรียนร้องขอที่เป็นระบบรวดเร็วและเป็นธรรม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและสร้างความมั่นใจให้ชุมชน
  • ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งแผนการก่อสร้างในพื้นที่ให้ชุมชนรับทราบ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะและข้อกังวล
  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนของชุมชน (เช่น Call Center 1365)
  • บอร์โทรฉุกเฉิน ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โทร. 1540
รายละเอียดของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น:
  • ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชนอาจเกิดขึ้นเนื่องจากอุบัติเหตุในพื้นที่ปฏิบัติงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสมาชิกในชุมชน เช่น ไฟไหม้ การระเบิดหรือการรั่วไหลของน้ํามัน ก๊าซ และสารเคมีจากการขนส่งทางท่อ
ผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มเปราะบาง:
  • ชุมชนท้องถิ่น  ชนเผ่าพื้นเมือง ผู้หญิง สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ LGBTQI+ เด็ก
สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องตามหลักการจากตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (International Bill of Rights) : ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR)
  • สิทธิชนกลุ่มน้อย
  • สิทธิในการมีชีวิต 
  • สิทธิในการได้รับสภาพเงื่อนไขการทำงานที่เป็นธรรมและน่าพอใจ
  • สิทธิที่จะได้รับการดำรงชีวิตที่ดี 
  • สิทธิในการเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิผล 
  • สิทธิด้านสุขภาพ
  • สิทธิการได้รับกระบวนการทางศาลที่เป็นธรรม

ประเด็นสิทธิมนุษยชนและผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบชุมชน: มาตรฐานการครองชีพ

พื้นที่ปฏิบัติการที่พบความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ:
  • บริษัทในกลุ่ม ปตท. (ในประเทศไทย)
มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ

มีการใช้มาตรการที่มีอยู่และมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิของคู่ค้า และผู้รับเหมาได้รับการคุ้มครองในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ:

  • วิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินงานและความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้นรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี ในทุกพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท.
  • จัดทำขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีปฏิบัติงาน และมาตรการป้องกัน ซึ่งต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด เช่น การติดตั้งทุ่นล้อมกักน้ำมันทุกพื้นที่ปฏิบัติการ โดยจะมีการติดตั้งทุ่นล้อมกักน้ำมันดังกล่าวทุกครั้งที่มีการ Loading น้ำมัน เพื่อไม่ให้น้ำมันหลุดรอดออกนอกทุ่นล้อมกักน้ำมันหากเกิดการรั่วไหล  ซึ่งจะมีการสังเกตการณ์การปฏิบัติ รวมทั้งตรวจประเมินการดำเนินงานเป็นระยะ
  • จัดทำแผนเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินกรณีการหกล้นรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี เพื่อให้สอดคล้องตามแนวทางการตอบสนองกรณีน้ำมันรั่วไหล ของกลุ่ม ปตท. (PTT Group Oil Spill Response Guideline)
  • วิเคราะห์ จัดเตรียมและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ และอุปกรณ์ป้องกันและขจัดคราบน้ำมันที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ เช่น เครื่องตรวจจับการรั่วของก๊าซ การติดตั้งระบบสั่งปิดวาล์วผ่านดาวเทียมในระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติ
  • จัดอบรมหลักสูตรป้องกันและขจัดคราบน้ำมันให้แก่บุคลากรในพื้นที่ปฏิบัติการ และหน่วยงานสนับสนุน
  • จัดให้มีการซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีการหกล้นรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี ทั้งบนดินและในน้ำ ทุกพื้นที่ปฏิบัติการเป็นประจำทุกปี โดยมีการซ้อมร่วมกับหน่วยงานราชการทั้งในระดับพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ รวมทั้งเครือข่ายพันธมิตรที่ ปตท. เป็นสมาชิก
รายละเอียดของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น:
  • ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับมาตรฐานการครองชีพของชุมชนอาจเกิดขึ้นเนื่องจากสารเคมีและน้ำมันรั่วไหล จากเรือขนส่ง การรบกวนจากกิจกรรมการดําเนินงาน เช่น กลิ่นจากก๊าซ หรือน้ำมัน การจัดการของเสียที่ไม่เหมาะสม เสียง มลพิษ การจราจรทางถนน และการรั่วไหลของของเสียที่เป็นอันตราย การปล่อยสารเคมีและน้ำมันจากการดําเนินงานลงท่อระบายน้ำ
ผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มเปราะบาง:
  • ชุมชนท้องถิ่น  ชนเผ่าพื้นเมือง ผู้หญิง สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ LGBTQI+ เด็ก
ผู้ทรงสิทธิที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มเปราะบาง:
สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องตามหลักการจากตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (International Bill of Rights) : ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR)
  • สิทธิชนกลุ่มน้อย
  • สิทธิในการมีชีวิต 
  • สิทธิในการเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิผล 
  • สิทธิที่จะได้รับการดำรงชีวิตที่ดี 
  • สิทธิด้านสุขภาพ 
  • สิทธิในการทำงาน

 

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ในการวิเคราะห์และประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนพบว่า กิจกรรมการดำเนินงานของบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การแยกก๊าซธรรมชาติ การลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงาน/ เชื้อเพลิงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การทำเหมืองถ่านหิน ล้วนมีส่วนสำคัญต่อการผลกระทบเชิงลบต่าง ๆ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังคุณภาพชีวิตของประชากรลดลง ครอบคลุมปัญหาสุขภาพ ความไม่มั่นคงด้านอาหารและน้ำ การพลัดถิ่น ปตท. จึงได้นำประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาเป็นปัจจัยป้อนเข้าที่สำคัญในการกระบวนการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งในปี 2565-2566 คณะกรรมการ ปตท. ได้เห็นชอบทิศทางกลยุทธ์ เป้าหมายระยะยาว ตลอดจนแผนธุรกิจ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อลดผลกระทบ/ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะมีต่อชุมชน สังคม ผู้คนในรุ่นต่อไป ได้แก่

  • การยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน เพื่อมุ่งเน้นด้านพลังงานสะอาด และช่วยลดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเหมืองด้วย
  • การกำหนดเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ในปี 2573 รวมเป็น 15 GW และปรับลดกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อน (Conventional Power) รวม 5 GW

ผู้ทรงสิทธิ์และกลุ่มเปราะบาง

ปตท. มีการพิจารณากลุ่มผู้ถือสิทธิ์ที่อาจได้รับผลกระทบในระหว่างการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) อย่างครบถ้วนทุกกลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ผู้ส่งมอบ พนักงานภายนอก ผู้รับเหมา คู่ค้าทางธุรกิจ ชุมชนท้องถิ่น ลูกค้า/ผู้บริโภค และกลุ่มเปราะบาง (แรงงานข้ามชาติ ผู้หญิง ชนพื้นเมือง LBGTQI+ ประชาชน ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และเด็ก) ซึ่ง ปตท. มีการสื่อสารความมุ่งมั่น และการดำเนินธุรกิจที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนตลอดสายโซ่อุปทาน โดยการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ กลุ่มต่าง ๆ ผ่านช่องทางที่เหมาะสม เช่น

  • พนักงาน เช่น ในการอบรมตั้งแต่วันแรกของการทำงาน ในหลักสูตร SSHE การจัดอบรมหลักสูตรสิทธิมนุษยชนเบื้องต้น การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรผ่านอีเมล วิดีโอ เป็นต้น
  • คู่ค้าทางธุรกิจ เช่น การสัมมนาผู้ค้า ประจำปี (ทั้งระดับองค์กร และระดับสายธุรกิจ) กลุ่มอื่น ๆ เช่น เครือข่าย สมาคม สถาบัน หน่วยงานภาครัฐ


มาตรการแก้ไข/ป้องกัน

การบริหารจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยาGRI2-25

การบริหารจัดการข้อร้องเรียนGRI2-16, GRI411-1

ปตท. พัฒนาระบบรับเรื่องร้องเรียนทั้งภายในและภายนอก เสนอเพิ่มช่องทางประเภทของข้อร้องเรียนเข้าไปเพื่อชี้ให้เห็นหลากหลายช่องทางให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ตามวิธีที่สะดวกตลอดเวลา รองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อรับประเด็นข้อร้องเรียนทุกประเภท รวมถึงข้อกังวลและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจได้รับผลกระทบ สำหรับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในต่างประเทศ สามารถติดต่อบริษัทผ่านทางเว็บไซด์และสื่อโซเชียลในภูมิภาคซึ่งรองรับภาษาท้องถิ่นในประเทศนั้น ๆ

ปตท. มีนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนและการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนภายใต้กรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ชัดเจน เสมอภาค โปร่งใส รักษาความลับ และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองปกป้อง โดยไม่มีการกลั่นแกล้ง ไล่ออก ทำโทษ กระทำรุนแรงต่อผู้ร้องเรียนหรือพยาน ผู้ร้องเรียนสามารถติดตามสถานะของการจัดการกับเรื่องร้องเรียนผ่านระบบข้อร้องเรียน และแรงงานสัมพันธ์ ปตท. ยังมีการจัดช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนสำหรับกรณีการละเมิดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจสำหรับบุคคลภายนอก ได้แก่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 1365 Contact Center ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายกำกับดูแลและส่งเสริมธรรมาภิบาล และฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์

นอกจากนี้ ปตท. ได้มีช่องทาง “แจ้งเบาะแสการทุจริต” ที่หน้าเว็บไซต์ www.pttplc.com และ “PTT Voice” (pttvoice@pttplc.com) เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากพบเห็นการฝ่าฝืนหรือการกระทำทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร ข้อมูลนี้จะถูกส่งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด โดย ปตท. ได้ทบทวนและปรับปรุง ข้อกำหนดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าด้วย การร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต การทุจริตต่อหน้าที่ การประพฤติมิชอบ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร พ.ศ. 2565 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต การทุจริตต่อหน้าที่ การประพฤติมิชอบ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร (Whistleblowing) เพื่อให้มีแนวทางในการกำกับดูแลและการสืบสวน สอบสวนที่ชัดเจน โปร่งใสและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กรอีกทั้งมีมาตรการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเบาะแสที่เกี่ยวข้องด้วย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนตัวอย่างประเภทของข้อร้องเรียนที่อาจจะเกิดขึ้น
พนักงาน
  • สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
  • ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลของแต่ละหน่วยธุรกิจโดยตรง
  • ส่วนแรงงานสัมพันธ์โดยผ่านระบบข้อร้องเรียนแรงงานสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ตหรือทางโทรศัพท์
  • คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ผ่านตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง
  • คณะกรรมการร่วมปรึกษาหารือ (Joint Consultation Committee: JCC)
  • สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น pttvoice@pttplc.com ระบบข้อร้องเรียนด้านแรงงานสัมพันธ์ จริยธรรมและจรรยาบรรณ
  • สิทธิแรงงาน
  • การเลือกปฏิบัติ
  • การคุกคามทางเพศและที่ไม่ใช่ทางเพศ
คู่ค้า ลูกค้า และบุคคลภายนอก
  • ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (โทร 1365)
  • ส่งจดหมายร้องเรียนได้โดยตรงไปยังประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คณะกรรมการตรวจสอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักตรวจสอบภายใน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ทรัพยากรบุคคลองค์กร หรือผู้จัดการฝ่ายสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่และเลขานุการบริษัท และฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์
  • ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้หลากหลายช่องทาง เช่น www.pttplc.com, www.pttbluecard.com, Facebook PTT News, We love PTT, PTT Blue Society และ PTT Blue Card Application เป็นต้น
  • การประชุมร่วมกับคู่ค้า
  • สิทธิผู้บริโภค
  • การปฏิบัติตามฉันทานุมัติที่ได้รับการรับรู้บอกแจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ (FREE, PRIOR AND INFORMED CONSENT: FPIC)
  • สิทธิแรงงาน
  • การเลือกปฏิบัติ
  • การคุกคามทางเพศและไม่ใช่ทางเพศ
  • มลพิษทางสิ่งแวดล้อมและเหตุรำคาญ
  • ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ชุมชนรอบสถานประกอบการของ ปตท.
  • จัดพนักงานชุมชนสัมพันธ์ลงพื้นที่ร่วมกับชุมชนตามแผนที่กำหนดของแต่ละพื้นที่ เพื่อรับเรื่องร้องเรียน รวมถึงความต้องการ และความคาดหวัง รวมถึงผลกระทบจากการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำมาดำเนินการแก้ไข รวมถึงออกแบบช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียน และช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ต่อไป
ทั้งนี้ ปตท. ส่งเสริมให้คู่ค้ามีการจัดตั้งกลไกการรับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก และสนับสนุนให้คู่ค้าแสดงความคาดหวังต่อคู่ค้าของตนในการส่งเสริมกลไกการรับเรื่องร้องทุกข์ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในห่วงโซ่อุปทานเข้าถึงการเยียวยาอีกด้วย

ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องผู้ร้องเรียนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดกระบวนการในการปกป้องผู้ร้องเรียนรวมถึงมีมาตรการในการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเบาะแสที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดระยะเวลาในการจัดการข้อร้องเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อร้องเรียนของพนักงาน มีกำหนดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนอยู่ที่ไม่เกิน 30 วัน ในขณะที่ข้อร้องเรียนจากภายนอกจะมีการตรวจสอบ แก้ไขปัญหา และแจ้งผลของการดำเนินงานกลับสู่ผู้ร้องเรียนภายใน 7 วันทำการ ทั้งนี้ ตลอดปี 2564 ไม่พบข้อร้องเรียนที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน

ช่องทางการรับข้อร้องเรียนของกลุ่ม ปตท.

การเยียวยา

ปตท. ให้ความสำคัญกับกระบวนการในการปกป้องและเยียวยาผู้ที่อาจได้รับผลกระทบสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงาน โดยจัดให้มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนในทุก ๆ สถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินและภาวะวิกฤติในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ปตท. จะไม่กีดกันและขัดขวางผู้ที่อาจได้รับผลกระทบหรือนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและกระบวนการเยียวยาใด ๆ ทั้งของภาครัฐและของบริษัท และกำหนดรูปแบบให้มีการเยียวยาอย่างทันที (Access to remedy) ทั้งทางรูปแบบตัวเงิน อาทิ การจ่ายเงินชดเชย การสนับสนุนเงินช่วยเหลือ และไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การจัดตั้งจุดรับเรื่องร้องเรียนฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุนและให้การเยียวยาในเบื้องต้น การให้คำแนะนำ หรือสนับสนุนโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำ โดยจัดเตรียมช่องทางการสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ เช่น

  • คู่ค้าของ ปตท. จัดให้มีการเสนอแนะ ข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงระบบข้อร้องเรียน ในการสัมมนาคู่ค้าประจำปี โดยข้อคิดเห็นที่ได้รับ ทาง ปตท. ได้นำมาปรับปรุง เช่น การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล การแสดงช่องทางการร้องเรียนบนเว็บไซด์ เป็นต้น
  • พนักงาน หน่วยงานที่รับผิดชอบได้มีการเชิญกลุ่มตัวอย่างพนักงานเข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นในการปรับปรุงระบบข้อร้องเรียนภายใน และร่วมทดสอบระบบดังกล่าว

ทั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบสามารถแจ้งข้อร้องเรียนไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของแต่ละโครงการหรือแจ้งที่ช่องทาง Call Center ของ ปตท. ซึ่ง ปตท. จะดำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุ ดำเนินการแก้ไขและป้องกันตามขั้นตอนต่อไป ในกรณีที่กระบวนการปกป้องและเยียวยาไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในเบื้องต้น ปตท. จะกำหนดกลไกในการปกป้องและเยียวยาโดยการรับเรื่องร้องเรียนแบบใช้คณะทำงานไตรภาคี ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันบริหารจัดการด้วยวิธีที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความพึงพอใจของทุกฝ่ายต่อไป


จำนวนข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน 

ทั้งนี้รายละเอียดข้อร้องเรียนทั้งหมดสามารถศึกษารายละเอียดใน เว็บไซด์ ปตท. หัวข้อ การปฏิบัติที่เป็นธรรม

การสื่อสารและอบรมGRI410-1

ปตท. ได้สื่อสารคำแถลงด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งรายละเอียดของการบริหารจัดการ ประเด็น/ ผลกระทบด้านความยั่งยืน รวมถึงสิทธิมนุษยชน มาตรการลดผลกระทบต่าง ๆ ช่องทางและความคืบหน้าของการแก้ไขเยียวยาข้อร้องเรียน ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ได้รับทราบและเข้าใจผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ตั้งแต่ระดับชุมชนรอบข้างพื้นที่ปฏิบัติงาน ที่มีการจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน  ระดับสังคม ประชาชนในประเทศผ่านเว็บไซต์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับองค์กร เช่น ผู้ลงทุน ผู้ค้า ผ่านแบบ 56-1 การสัมมนาผู้ค้าประจำปี เป็นต้น ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบ 56-1 One Report หัวข้อ การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน หัวข้อย่อย การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

สำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร ปตท. มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานทุกคนภายในองค์กรในเรื่องของธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน อย่างสม่ำเสมอ ผ่านการสื่อความทางบทความ วารสาร และอีเมล PR ภายใน ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับคำแถลง/ นโยบาย หลักการ แนวทาง ระบบการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน และกรณีศึกษาจากธุรกิจต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ปตท. ยังจัดหลักสูตรการบริหารจัดการความยั่งยืน และหลักสูตรความรู้พื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับในรูปแบบการอบรม และวิดีโอสื่อความ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ รวมทั้งตัวอย่างแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดหัวข้อสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นให้อยู่หลักสูตร SSHE1 สำหรับพนักงานใหม่ มีการจัดรวมทั้งหมด 64 รุ่น นอกจากนี้ ในปี 2565 ยังได้พัฒนาหลักสูตรออนไลน์หลักสูตร Fundamental Human Rights Management  เพื่อเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในภาคธรกิจพื้นฐานเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับพนักงานทุกระดับ

นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงยังได้แสดงบทบาทความเป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ ผ่านภาคีเครือข่ายและสื่อต่าง ๆ  เช่น ในปี 2564 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกฎหมายของ ปตท. ได้เข้าร่วมบรรยายและแบ่งปันแนวปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการสิทธิมนุษยชนของ ปตท. ในงานสัมมนากลุ่มย่อยโครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 1) โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหลักสูตร “ธรรมาภิบาลกับการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศสำหรับผู้บริหาร” จัดโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ รวมทั้งผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดการนำหลักการดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  รวมถึงได้ให้สัมภาษณ์ในพอดแคสต์ The Secret Sauce หัวข้อ โปร่งใส ผูกขาด สิทธิมนุษยชน กฎหมายที่ทุกบริษัทต้องรู้  ปี 2565 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารร่วมแสดงเจตนารมณ์สนับสนุนหลักสากล 10 ประการและ SDGs ในงาน GCNT Forum 2022 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน ของ ปตท.ร่วมบรรยายในงานสัปดาห์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ปี 2565 และคณะทำงานร่วมเสวนาการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ของ ปตท. ในงานนี้อีกด้วย 

สำหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ปตท. ระบุให้บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องดำเนินการฝึกอบรมความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทุกคนตามข้อกำหนดงานจ้างก่อนเข้าปฏิบัติงาน โดยเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน ไม่ใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น แม้ผู้กระทำผิด เจ้าหน้าที่ รปภ. ไม่มีสิทธิ์จับกุมผู้ใด ยกเว้นผู้กระทำผิดซึ่งหน้าในสถานที่ของ ปตท. และผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ในทุก ๆ ปี ปตท. และกลุ่ม ปตท. จะมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การปิดล้อมพื้นที่โดยชุมชน หรือผู้ที่มาเรียกร้อง ซึ่ง ปตท. ได้มีการทำงานร่วมกับสมาชิกชุมชนเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยหรือป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากสถานปฏิบัติงานของบริษัท (โดยเฉพาะในกรณีที่มีการใช้กำลังจากหน่วยรักษาความปลอดภัย ในพื้นที่การดำเนินงานที่เกิดภัยสงครามหรือความขัดแย้ง) รวมถึงกระบวนการในการจัดการกับการคุกคาม การข่มขู่ และความรุนแรงต่อผู้หญิง  โดยในปี 2565 ไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ ปตท.

เครือข่ายความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน

ปตท. เข้าร่วมเป็นภาคีของ United Nations Global Compact (UNGC) และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่เคารพและประยุกต์หลักสากล 10 ประการ นอกจากนี้ ปตท. ยังมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลป้อนกลับกับภาครัฐเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) และแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 อย่างต่อเนื่อง

คู่ค้าและคู่ความร่วมมือตลอดสายโซ่อุปทาน

ปตท. ส่งเสริมและผลักดันให้พันธมิตรทางธุรกิจในสายโซ่อุปทานของ ปตท. ดำเนินงานโดยให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนของ ปตท. โดยเริ่มจากการคัดเลือกผู้ค้าทั้งในกลุ่มสัญญาที่มีอยู่เดิมและสัญญาใหม่ ที่มีการดำเนินงานผ่านตามหลักเกณฑ์การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG) นอกเหนือไปจากเกณฑ์พื้นฐานด้านคุณภาพและการเงิน โดยผู้ค้าที่ได้คะแนนประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จะไม่ได้รับการอนุมัติให้อยู่ในทะเบียนผู้ค้าระบบงานทะเบียนผู้ค้า ปตท. (PTT Approved Vendor List : PTT AVL)

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า (Sustainable Supplier Code of Conduct) ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ซึ่งครอบคลุมหลักการด้านสิทธิมนุษยชนได้แก่ จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ให้มีผลบังคับใช้กับผู้ค้าที่ทำสัญญากับ ปตท. ในวงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป และ/หรือ งานที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีการติดตามผลการดำเนินงานผ่านการตรวจสอบและประเมินผู้ค้าอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2559 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่สำคัญและมีความเสี่ยงสูง หากพบการดำเนินงานที่ละเมิดแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า จะต้องมีการจัดทำแผนการแก้ไข ทั้งนี้ ปตท. สามารถยกเลิกสัญญาหากยังพบการละเมิดแนวทางการปฏิบัติฯ ดังกล่าว

การส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วม 

ปตท. ส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างและอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ในการเป็นหลักปฏิบัติที่ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการเลือกปฏิบัติในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การดูแลทรัพยากรบุคคล การฝึกอบรม และการเสริมสร้างศักยภาพของพนักงาน (รายละเอียดผลความหลากหลาย เช่น สัดส่วนของพนักงานหญิง สัดส่วนค่าตอบแทนเฉลี่ยหญิงและชาย ตัวชี้วัดความหลากหลายทางศาสนา มีข้อมูลแสดงในเว็บไซด์ ปตท. หัวข้อ ทิศทางการบริหารคน)  โดยไม่เลือกปฏิบัติในความแตกต่างด้านอายุ ความทุพพลภาพ เพศ สถานภาพสมรส การตั้งครรภ์และการลาคลอดบุตร ความคิดเห็นทางการเมือง เชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์ ศาสนาและความเชื่อ รสนิยมทางเพศ ภูมิหลังด้านเศรษฐกิจและสังคม การเป็นสมาชิกหรือการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน รูปแบบการทำงาน การมีหรือไม่มีครอบครัว และประเด็นอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานใน ปตท.

ปตท. มีการกำหนดมาตรฐานความประพฤติและการกระทำที่เป็นความผิดทางวินัย และประกาศให้พนักงานทราบโดยทั่วกันเพื่อให้พนักงานประพฤติปฏิบัติ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือน หรือในกรณีร้ายแรงมากขึ้น จะถือเป็นความผิดวินัย พนักงานจะถูกลงโทษหนักเบาตามลักษณะแห่งความผิดตามควรแก่กรณี

การกระทำหรือไม่กระทำการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน การล่วงละเมิดทางเพศและไม่เกี่ยวกับเพศ หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือ มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด หรือด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ (ข้อ 3.8 ของข้อกำหนดฯ HR หมวด 20 มาตรฐานความประพฤติและการกระทำที่เป็นความผิดทางวินัย) ถือเป็นความผิดวินัย หากผู้ใดกระทำจะถูกลงโทษหนักเบาตามลักษณะแห่งความผิดตามควรแก่กรณี (ข้อ 3 ของข้อกำหนดฯ HR หมวด 20 มาตรฐานความประพฤติและการกระทำที่เป็นความผิดทางวินัย) โดย ตามแนวทางการลงโทษทางวินัยของ ปตท. การกระทำข้างต้นถือเป็นกรณีความผิดปานกลาง มีโทษงดขึ้นเงินเดือนในปีถัดไปไม่เกิน 6 เดือน (ข้อ 2 ของตารางแนบท้าย แนวปฏิบัติเรื่องแนวทางการพิจารณาลงโทษทางวินัยและการพิจารณาลดหย่อนโทษ)

การตรวจสอบกระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน

กระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่การบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน การกำหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการและลดผลกระทบ/ ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การสื่อสารและเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับผู้บริหารและพนักงาน กระบวนการรับและจัดการข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการติดตามและสรุปรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการตามโครงสร้างกำกับดูแล  ได้รับการตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยฝ่ายตรวจสอบภายใน (Internal Audit) เป็นประจำทุก 3 ปี โดยผลการตรวจสอบได้มีการรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายใน (Internal Audit Committee) ในระดับคณะกรรมการ ปตท. ซึ่งการตรวจสอบครั้งล่าสุดเมื่อปี 2566 พบข้อตรวจพบเพื่อปรับปรุง 1 ข้อ ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ 

การลงทุนของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ปตท. ยึดถือการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐาน และมีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาร์ภายหลังการรัฐประหารปี 2564 โดยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาวิกฤตอย่างสันติและเข้มงวดในการปฏิบัติตามกฎหมาย แนวปฏิบัติสากลในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ รวมถึงการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงกระบวนการในการตัดสินใจและการบริหารจัดการ เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งพลังงานได้อย่างเท่าเทียม ปตท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์ในเมียนมาร์จะคลี่คลาย และกลับคืนสู่สภาวะปกติในเร็ววัน

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้เข้าร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาในปี 2564 นั้น ปตท. ได้ติดตามและประเมินสถานการณ์ เพื่อพิจารณาผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง และกำหนดมาตรการแก้ไข/ ป้องกันเพื่อยกระดับการกำกับดูแลการและบริหารจัดการอย่างทันท่วงที ดังนี้

  • คณะกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ พิจารณาผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งมิติทางธุรกิจ และมิติสังคม เช่น ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ชุมชนรอบข้าง ความมั่นคงทางพลังงานที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น ซึ่งได้นำมาทบทวนการประเมินความเสี่ยง และรายงานต่อคณะกรรมการ ปตท. เพื่อพิจารณากำหนดทิศทางการดำเนินงาน ตลอดจนมาตรการแก้ไข/ ป้องกันอย่างเหมาะสม

    ซึ่งจากการพิจารณาอย่างรอบด้าน ร่วมกับบริษัทในกลุ่ม เห็นว่า การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่มีความจำเป็นต่อความเป็นอยู่ของชาวเมียนมาในวงกว้าง ทั้งด้านการดำรงชีวิตประจำวัน โรงพยาบาล โทรคมนาคม สถานการศึกษา ธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้พลังงานในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ปตท.สผ. จึงยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป

  • ปตท. ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งมีบทบาทในการกำกับดูแลบริษัทในกลุ่ม ได้กำหนดมาตรการแก้ไข/ ป้องกันในกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    • ปตท. แต่งตั้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ เป็นกรรมการใน คณะกรรมการ (Board of Directors) ของ ปตท.สผ. ซึ่งได้รับรายงานสถานการณ์ในรายละเอียดอย่างใกล้ชิด สามารถให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ สั่งการได้โดยตรง 
    • ปตท. ยกระดับการปฏิบัติตาม ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การลงทุนและบริหารจัดการงบประมาณเพื่อการลงทุนของ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. และแนวทางการกำกับดูแลการลงทุนของบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น เพื่อใช้ในการกลั่นกรองการตัดสินใจ ติดตาม และกำกับดูแลการลงทุนของ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. โดยมีกระบวนการบริหารการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Investment Management: SIM) ที่มีคณะกรรมการบริหารการลงทุน ประกอบด้วยผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองการลงทุนก่อนนำเสนอคณะกรรมการจัดการของ ปตท. ให้ความเห็นชอบเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ ปตท. พิจารณาอนุมัติการลงทุน  การลงทุนที่มีมูลค่าการลงทุนสูงหรือมีความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมประเด็นความยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ จะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กรพิจารณาให้ข้อคิดเห็นประกอบการตัดสินใจลงทุนของคณะกรรมการ ปตท.  เมื่อการลงทุนได้รับอนุมัติดำเนินการจากคณะกรรมการ ปตท.แล้ว จะมีการติดตามผลเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารการลงทุน คณะกรรมการจัดการของ ปตท. และคณะกรรมการปตท. เป็นรายไตรมาส
    • จัดตั้งคณะกรรมการรองรับมาตรการคว่ำบาตรขององค์กรระดับสากลต่อประเทศเมียนมาร์ของกลุ่ม ปตท. โดยมีประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. และ บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่มีการลงทุนในเมียนมาร์ เป็นกรรมการ เพื่อติดตามสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งผู้ปฏิบัติงานของบริษัท ชุมชนทั้งที่เกิดขึ้นทางตรงและทางอ้อมอย่างใกล้ชิด รวมทั้งทบทวน/ กำหนดมาตรการแก้ไข/ ป้องกันและดำเนินการอย่างเร่งด่วนและรัดกุม

      ความเชื่อมโยงของสถานการณ์ส่งผลให้ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ถูกพิจารณาว่ามีการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับคำแถลงด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งนโยบายอื่น ๆ ที่ประกาศไว้  ปตท. จึงได้ยกระดับกระบวนการควบคุมภายใน ให้หน่วยงานเจ้าของนโยบายติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทอย่างใกล้ชิด ระบุและประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานภายในองค์กร ตลอดจนของผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า ที่อาจส่งผลต่อการปฏิบัติไม่สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนด หากมีแนวโน้มของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ให้กำหนดมาตรการแก้ไข/ ป้องกันอย่างเป็นระบบ

    • สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมาร์ เพื่อควบคุม ป้องกัน และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อ สุขภาพ ชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานและผู้รับเหมาในพื้นที่ ปตท.สผ. ได้ยกระดับระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ปฏิบัติการที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
    • สื่อสารและชี้แจงสถานการณ์และข้อมูลที่สำคัญ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบอย่างโปร่งใส และทันกาล ซึ่ง ปตท.สผ. ได้จัดทำข้อมูลชี้แจงถึงการตัดสินใจและการดำเนินการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ เป็นระยะ เช่น หนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Press Release ทางเว็บไซต์ เป็นต้น
    • นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังคงดำเนินโครงการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่ที่เราเข้าไปดำเนินการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ปตท.สผ. มีความห่วงใยในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของชาวเมียนมาทุกคน และหวังว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายได้ในเร็ววัน เพื่อให้สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมากลับคืนสู่ความสงบสุขอีกครั้ง

ในเดือนเมษายน 2567 ที่ ปตท.สผ. ได้รับการถ่ายโอนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ “โครงการยาดานา” ประเทศเมียนมา ที่ส่งก๊าซธรรมชาติเข้ามาในประเทศไทย หลัง Unocal Myanmar Offshore Company Limited (UMOC) บริษัทลูกของกลุ่มเชฟรอน ถอนการลงทุน ทำให้ ปตท.สผ. ถือหุ้น เพิ่มเป็น ร้อยละ 62.9630  ปตท. ได้ยกระดับให้มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ภายใต้คำแถลงด้านสิทธิมนุษยชน และนโยบาย compliance ปตท. ได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงป้องกันในด้านที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ทบทวนนโยบาย compliance ให้ครอบคลุมเรื่อง sanction
  • กำหนด compliance framework ครอบคลุมในเรื่องกระบวนการคัดกรองบุคคลที่สาม (3rd party screening)
  • กำหนดข้อกำหนดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าด้วย หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. พ.ศ. 2565
  • กำหนดคู่มือและกระบวนการพิจารณาคุณสมบัติของบุคคลที่สามเพื่อทำธุรกรรม ให้หน่วยงานประเมินลักษณะตามหลักเกณฑ์ต้องห้าม (Blacklist)
  • นำเครื่องมือตรวจสอบคุณสมบัติบุคคลที่สาม ที่เรียกว่า Dow Jones Risk & Compliance (“Dow Jones”) มาช่วยกำหนดให้หน่วยงานที่จะทำธุรกรรมกับบุคคลที่สามต้องตรวจสอบข้อมูลก่อน

  • จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจนโยบาย (policy), กรอบการดำเนินงาน (framework) คู่มือและกระบวนการคัดกรองบุคคลที่สาม (3rd party screening)



กลุ่ม ปตท. การเจรจาไกล่เกลี่ยภายใต้การดำเนินคดีแบบกลุ่มจากเหตุการณ์มอนทารากับกลุ่มผู้เลี้ยงสาหร่ายในประเทศอินโดนีเซีย 

ปตท. ยึดถือการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐาน และให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกพื้นที่ไปทำธุรกิจ ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ กลุ่ม ปตท. ในนาม PTTEP AAA ได้เข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ยกับกลุ่มผู้เลี้ยงสาหร่าย ตามคำสั่งศาลสหพันธรัฐประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นขั้นตอนตามปกติของกฎหมายประเทศออสเตรเลียและได้บรรลุข้อตกลงในหลักการ โดย PTTEP AAA จะชำระเงินจำนวน 192.5 ล้าน ดอลลาร์ออสเตรเลีย (หรือเทียบเท่าประมาณ 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) เพื่อระงับการดำเนินคดีแบบกลุ่มทั้งหมด (รวมถึงการอุทธรณ์) กับกลุ่มผู้เลี้ยงสาหร่ายในประเทศอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงในหลักการเพื่อระงับการดำเนินคดีแบบกลุ่มนี้ไม่ถือเป็นการรับผิดของ PTTEP AAA โดยยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในขณะนี้เนื่องจากข้อตกลงในหลักการดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลสหพันธรัฐประเทศออสเตรเลีย