ความยั่งยืน

เครือข่ายด้านความยั่งยืน

ความยั่งยืน

เครือข่ายด้านความยั่งยืน

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
 





การสนับสนุนเครือข่ายด้านความยั่งยืนGRI 2-28

ปตท. ตระหนักดีว่าการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและปลอดภัยอย่างยั่งยืนและสมดุลในทุกมิตินั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและสากลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ปตท. จึงมุ่งเน้นเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนทั้งภายในและภายนอก กลุ่ม ปตท. ทั้งที่เป็นองค์กร สมาคมการค้า สถาบัน องค์กรของรัฐและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยยึดมั่นในนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎหมายกฎ ระเบียบองค์กรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน และคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ในการพิจารณาตัดสินใจให้การสนับสนุน/ ร่วมมือกับพันธมิตรและเครือข่ายดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 

จุดยืนและรูปแบบการสนับสนุนเครือข่ายด้านความยั่งยืน

ปตท. กำหนดจุดยืนในการสนับสนุน/ เข้าร่วมเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืน “เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน มุ่งแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างทันท่วงที เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรในระยะยาว รวมทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2583 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 ช่วยควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส” โดยกำหนดรูปแบบของการสนับสนุนเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนด้วยการจ่ายค่าธรรมเนียมสมาชิกเป็นหลักเท่านั้น ไม่มีกิจกรรมหรือการสนับสนุนเพื่อชี้นำทางการเมืองหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด (Lobby) ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินหรือทรัพยากรใด ๆ แก่พรรคการเมืองหรือองค์กรหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองหรืออื่น ๆ นอกเหนือจากการจ่ายภาษีตามหน้าที่และการจ่ายเงินอื่น ๆ ให้กับรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามหลักการและคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ ปตท.

ปตท. มุ่งเน้นพิจารณาให้การสนับสนุนเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนที่มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

  1. พัฒนาและส่งเสริมการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีด้านความยั่งยืน สิทธิมนุษยชน และ SSHE ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซและที่เกี่ยวข้อง
  2. สนับสนุนการดำเนินธุรกิจตามนโยบายและเป้าหมายของประเทศไทย ตลอดจนสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามข้อตกลงปารีสของ ปตท. และประเทศ Climate-related direct lobbying activities

การกำกับดูแลการสนับสนุนเครือข่ายด้านความยั่งยืน

ในการพิจารณาตัดสินใจเข้าร่วมในเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืน ปตท. กำหนดให้สายงานผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน รับผิดชอบในการกลั่นกรองและให้ความเห็นการตัดสินใจเข้าร่วม ติดตามและทบทวน การเข้าร่วมหรือเป็นสมาชิกเครือข่ายด้านความยั่งยืน  โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์และกิจกรรมการดำเนินงานของเครือข่ายว่ายังสอดคล้องหรือเบี่ยงเบนไปจากจุดยืนในการสนับสนุน/ เข้าร่วมเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนของ ปตท. หรือไม่  และเสนอต่อคณะกรรมการฯ หรือผู้บริหารที่มีอำนาจในการเห็นชอบตามที่กำหนดเป็นประจำทุกปี


รายการสนับสนุนเครือข่ายด้านความยั่งยืน

ในปี 2566 ปตท. ทำการทบทวนรายการเครือข่ายและพันธมิตรในระดับประเทศและสากล ทั้งในรูปแบบองค์กร สมาคมการค้า สถาบัน องค์กรของรัฐและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ที่ ปตท. เข้าร่วมและเป็นสมาชิก พบว่า ทุกรายการยังคงมีวัตถุประสงค์และมีการดำเนินโครงการ/ กิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดยืนและเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืน ตลอดจนการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามข้อตกลงปารีสของ ปตท. ดังนี้

ความร่วมมือเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนในระดับประเทศและสากลGRI 2-28

เครือข่าย/ พันธมิตร

ระดับ

วัตถุประสงค์ของเครือข่ายและพันธมิตร

บทบาทของ ปตท. และการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2566



สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(Federation of Thai Industries: F.T.I.)
ประเทศ
  • การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น
  • การร่วมมือกันพัฒนาอุตสาหกรรม
  • การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกประเภทและทุกขนาด

ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก และร่วมในคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน

หอการค้าไทย ประเทศ
  • ส่งเสริมการค้า การลงทุน ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ในการดำเนินการส่งเสริมและจัดระเบียบการค้า ตลอดจนให้ข้อคิดเห็น คำปรึกษา ข้อเท็จจริง และคำแนะนำแก่รัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้า ประสานงานระหว่างผู้ประกอบการค้ากับทางราชการ
  • ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก และร่วมในคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย
  • นำคณะกรรมการสภาฯ ศึกษาดูงานบริษัทในเครือ กลุ่ม ปตท.

สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(World Business Council for Sustainable Development: WBCSD)
สากล
  • เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติ กำหนดกติกาข้อบังคับต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจในเวทีโลก  รวมถึงส่งเสริมการกระจายความสามารถในการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา มุ่งเน้นการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ปัญหาสิ่งแวดล้อม และความไม่เท่าเทียมกันในสังคม


ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็น Council  Member และมีผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายเป็น Liaison Delegate


สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
(Petroleum Institute of Thailand: PTIT)
ประเทศ
  • การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ด้านปิโตรเลียม
  • การร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาด้านปิโตรเลียม
  • การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม

ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมกับคณะทำงานกลุ่มโรงกลั่น เช่น ร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อม การจัดการสารอินทรีย์ระเหย และจัดทำร่าง White Paper ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสนอต่อภาครัฐ

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

ประเทศ
  • การพัฒนาทักษะและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับคณะกรรมการ
  • เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและแก้ไขปัญหาทุจริตและคอร์รัปชันของประเทศไทย
  • ยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานที่สามารถควบคุมความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน ให้มีประสิทธิภาพและความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
  • ปตท. ร่วมเป็นสมาชิกสมาคม
  • ปรับปรุงข้อมูลที่เปิดเผยใน แบบ 56-1 One Report ประจำปี 2565 และเว็บไซต์ ปตท. ให้สอคดล้องตามหลักเกณฑ์ Corporate Governance Report for Thai Listed Companies (CGR) ที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งเน้นให้ครอบคลุมข้อมูลด้านความยั่งยืน

สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
(Thai LCA)

ประเทศ
  • เป็นสื่อกลางระหว่างบริษัทจดทะเบียน และ หน่วยงานกำกับดูแล และมีบทบาทในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้องสำหรับบริษัทจดทะเบียน อาทิ กฎเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียน  การดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน เป็นต้น
ปตท.เป็นสมาชิกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย รวมทั้งในเครือข่าย ESG (ESG Network)ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เลขานุการบริษัทและองค์กรสัมพันธ์ เป็นกรรมการในชมรมเลขานุการบริษัท ซึ่งเป็นชมรมภายใต้สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) สากล
  • เข้าถึงผู้นำประเทศ ผู้นำสูงสุดของบริษัทชั้นนำระดับโลก บริษัทน้ำมันข้ามชาติ บริษัทน้ำมันแห่งชาติ และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ
  • ปธบ. และคณะผู้บริหาร ปตท. เข้าประชุม WEF Annual Meeting 2023 มีการติดตามทิศทางอุตสาหกรรม, Geopolitics ตลอดจนนโยบายการดำเนินธุรกิจที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้สนับสนุนกลยุทธ์องค์กร และได้ประชุมทวิภาคีกับผู้นำบริษัท เพื่อแสวงหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจใหม่ของ ปตท. 
องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ประเทศ
  • สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • สร้างความร่วมมือกับองค์กรหลักด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเครือข่ายระดับต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
  • เสริมสร้างศักยภาพแก่บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่นและประชาชนที่สนใจ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก โดยมี
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดำรงตำแหน่ง สมาชิก Council Members
  • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม และ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ดำรงตำแหน่ง  Associate Members
  • ร่วมแสดงเจตนารมณ์ขับเคลื่อนองค์กรสู่ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business) ในงานสัมมนาประจำปี 2565 TBCSD Annual Event 2022
ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) สากล
  • ส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ที่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและเป้าหมายสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง ปตท. ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสอดคล้องกับหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact
  • ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก UNGC
  • จัดส่งรายงานความก้าวหน้าประจำปี (Communication on Progress: CoP) หรือรายงานความยั่งยืนประจำปี ให้ UN Global Compact เพื่อเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เป็นประจำทุกปี

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย
(Global Compact Network Thailand: GCNT)

ประเทศ

  • เสริมสร้างบทบาทการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในเวทีระดับประเทศ มุ่งเน้นการรับมือสภาวะโลกร้อนและความท้าทายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ของ ปตท.
  • ยกระดับการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางสากล
  • ปตท. เป็นคณะผู้ก่อตั้งสมาคม ร่วมกับสมาชิกกว่า 110 องค์กร โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นผู้แทนในคณะผู้ร่วมก่อตั้ง และ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน ดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคม รวมถึงคณะกรรมการบริหารสมาคม
  • ในปี 2565 ได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์ว่าด้วย การบริหารจัดการ กำหนดนโยบายและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสนับสนุนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการปกป้องคุ้มครองพื้นที่บนบกและทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่ ภายในปี ค.ศ. 2030 และร่วมเสวนา ในงาน GCNT Forum 2022: Accelerating Business Solution to Tackle Climate & Biodiversity Challenges”

สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย
(RE100)

ประเทศ

  • เสนอนโยบายต่อภาครัฐและเป็นพลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศไทยไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (RE100)
  • เป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และบรรลุเป้าหมาย Paris Agreement ในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี ค.ศ.2100
  • เพื่อให้อุตสาหกรรมของประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยใช้พลังงานสะอาดสร้างประเทศไทยให้เป็นแหล่งลงทุนใหม่ในอาเซียน
  • เพื่อยกระดับความสามารถของอุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
  • ปตท. เป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง (Founding Member) โดยมีรองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน ร่วมเป็นคณะกรรมการสมาคมฯ


Oil Spill Response Limited
(OSRL)

สากล

  • ลดความเสี่ยงหากเกิดน้ำมันรั่วไหล กรณีที่ไม่สามารถจัดการเหตุได้ด้วยตนเอง และต้องการรับการสนับสนุนจากต่างประเทศ
  • ลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดเตรียมและหรือจัดหาอุปกรณ์ที่จะต้องใช้สำหรับการตอบสนองเหตุการณ์
  • การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพัฒนาบุคลากรร่วมกันในการป้องกันและขจัดคราบน้ำมัน
  • การสนับสนุนทีมฉุกเฉิน อุปกรณ์ เครื่องมือในการขจัดคราบน้ำมันระหว่างประเทศ
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก โดยเป็นสมาชิกหลักในนามกลุ่ม ปตท.

สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน
(Oil Industry Environmental Safety Group Association : IESG)

ประเทศ
  • ลดความเสี่ยงหากเกิดน้ำมันรั่วไหล กรณีที่ไม่สามารถจัดการเหตุได้ด้วยตนเอง
  • ลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดเตรียมและหรือจัดหาอุปกรณ์ที่จะต้องใช้สำหรับการตอบสนองเหตุการณ์
  • การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพัฒนาบุคลากรร่วมกันในการป้องกันและขจัดคราบน้ำมัน
  • การสนับสนุนทีมฉุกเฉิน อุปกรณ์ เครื่องมือในการขจัดคราบน้ำมันภายในประเทศ
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก และดำรงตำแหน่ง ดังนี้
  • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ปฏิบัติหน้าที่
    Board of Trustees
  • ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย และ
    สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่ Main Committee

เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย
(Thailand Carbon Neutral Network: TCNN)
ประเทศ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการศึกษาความเป็นไปได้ แนวทางการดำเนินงาน และการประกาศเป้าหมายคาร์บอนนิวทรัลในระดับองค์กร
  • เสริมสร้างประโยชน์ร่วมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจากกิจกรรมและโครงการลดก๊าซเรือนกระจก
  • ส่งเสริมให้เกิดแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรต่าง ๆ ในเครือข่ายฯ ในการจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ผลักดันสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ มาตรการส่งเสริม การเข้าถึงแหล่งทุนหรือการสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก
  • ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมและโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการรับรองและแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตภายในประเทศ
ผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเครือข่าย TCNN ดังนี้
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Council Board)ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Executive Committee)
  • ปตท. เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเภทองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization: CALO) และเข้าร่วมโครงการริเริ่ม Climate Neutral Now ภายใต้สำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยเป็นองค์กร CALO ประเภทดีเด่น ซึ่งมีผลประเมินการตรวจวัด และการลดในระดับทอง
  • ปตท. ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐ ในการสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ


ค่าสมาชิกเครือข่ายและพันธมิตรที่ ปตท. เข้าร่วมเป็นสมาชิกGRI 2-28, GRI 415-1

ในปี 2566 จำนวนค่าสมาชิก 5 อันดับแรก ได้แก่ สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

องค์กรประเภทค่าสมาชิก / ค่าการสนับสนุนทางการเมือง (บาท)
2563256425652566
การสนับสนุนทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการการล็อบบี้ การเป็นตัวแทนผลประโยชน์ Contributions in Lobbying, interest representation or similar 0 0 0 0
การสนับสนุนทางการเงินในแคมเปญทางการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับชาติ / องค์กร / ผู้สมัคร Contributions in Local, regional or national political campaigns / organizations / candidate 0 0 0 0
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (F.T.I.) สมาคมการค้า 370,220 359,520 363,520 342,400
หอการค้าไทย สมาคมการค้า - 24,610 24,610 24,610
สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) เครือข่าย/สมาคม/สถาบันด้านความยั่งยืน 2,733,232 3,201,138 3,434,895 3,594,600
สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) เครือข่าย/สมาคม/สถาบันด้านความยั่งยืน 3,644,500 4,139,536 3,973,736 3,922,725
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เครือข่าย/สมาคม/สถาบันด้านความยั่งยืน 535,000 535,000 535,000 535,000
สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (Thai LCA) เครือข่าย/สมาคม/สถาบันด้านความยั่งยืน 26,750 26,750 26,750 26,750
สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) สมาคมการค้า 6,495,660 6,495,660 7,616,869 7,351,938
องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) เครือข่าย/สมาคม/สถาบันด้านความยั่งยืน 500,000 500,000 250,000 250,000
ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) เครือข่าย/สมาคม/สถาบันด้านความยั่งยืน 620,794 595,046 653,798 1,050,000
สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (RE100) เครือข่าย/สมาคม/สถาบันด้านความยั่งยืน - - 55,350 2,140
- อื่น ๆ (ไม่เกี่ยวข้องกับการลงคะแนนเสียง) 0 0 0 0
รวม 16,926,156 17,877,260 16,934,528 17,100,163

ความร่วมมือเครือข่ายภาคพลังงานในประเทศGRI 2-28

ปตท. ร่วมกับ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) พัฒนาระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (Premium T-VER Methodology) สำหรับโครงการประเภทการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นหินทางธรณีวิทยาใต้ดิน (Carbon Capture and Storage: CCS) โดยจัดทำ (ร่าง) ระเบียบวิธีฯ นำเสนอและหารือกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (Thailand’s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy: LT-LEDS) ซึ่ง CCS เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญในการมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ

ในปี 2566 ปตท. ในฐานะองค์กรพลังงานของไทย ได้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และเครือข่ายความยั่งยืน (เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย) ในการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023) เพื่อแบ่งปัน ถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่ภาคประชาชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 3,620,000 บาท

บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ: การพัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi)

จากการเข้าร่วมในเครือข่ายด้านความยั่งยืนของสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ข้างต้น ปตท. ยังประสบความสำเร็จในการริเริ่มสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) ณ พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ให้มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่สมบูรณ์ เป็นศูนย์การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงของประเทศที่สามารถต่อยอดสู่การใช้งาน โดยได้รับการสนับสนุนในการประกาศผังเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และได้รับการสนับสนุนเรื่องสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment of Thailand: BOI) โดยมีพันธมิตรที่สำคัญ ได้แก่

  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วางแผน พัฒนาและบริหารพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์นวัตกกรม (EECi Headquarter) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการวิจัยและนวัตกรรมครบวงจรของประเทศใน 4 ด้านประกอบด้วย
    • โครงการวิจัยงานด้าน BIOPOLIS การพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจฐานชีวภาพ
    • โครงการวิจัยงานด้าน ARIPOLIS การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และ Intelligence System
    • โครงการวิจัยงานด้าน SPACE INNOPOLIS การพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยาน เทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศจากการเป็นศูนย์กลางและฐานการผลิต
    • โครงการวิจัยงานด้าน FOOD INNOPOLIS การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ตั้งสนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (CAV Proving Ground) สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคต (Future Mobility) เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการทดสอบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และร่วมพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นเมืองของ CAV Sandbox โดยใช้ถนนโครงการเป็น Proving Ground ระดับ Semi-Public Road ก่อนที่จะทดสอบการวิ่งจริงบนถนนสาธารณะภายนอก
  • บริษัท โกลบอล พาวเวอร์ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) พัฒนา ออกแบบและบริหารจัดการระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Renewable Energy) รวมทั้งการวางแผนและบริหารจัดการพลังงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์อย่างมีประสิทธิภาพ
  • บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอน์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (WHAUP) ดำเนินกิจการบำบัดน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ในโครงการ รองรับผู้ใช้งานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยีด้านการบำบัดน้ำเสียให้ผู้ที่สนใจต่อไปได้ในอนาคต
  • บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (Eastwater) ดำเนินกิจการกิจการผลิตและให้บริการน้ำประปาในพื้นที่โครงการ
  • สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุญาตให้ ปตท. เป็นผู้ประสานงานพื้นที่กำกับดูและเป็นการเฉพาะโดยมีพื้นที่ที่สามารถใช้คลื่นความถี่พิเศษ เพื่อพัฒนาและทดสอบนวัตกรรม (Regulatory Sandbox) ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์
  • สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กำกับ ดูแลกฎระเบียบ ข้อกำหนดและเป็นผู้อนุญาตในการดำเนินงานทดสอบทดลองเกี่ยวกับอากาศยาน ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนาสำหรับอากาศยานไร้คนขับ “UAV Regulatory Sandbox” หรือการอนุญาตให้สามารถบินโดรนเพื่อการวิจัยนวัตกรรมได้ในพื้นที่ของวังจันทร์วัลเลย์เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ
  • บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ตั้ง PTTEP Technology & Innovation Center (PTIC) สำหรับงานวิจัยนวัตกรรม พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการสนับสนุนธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robotic) และเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรและการเรียนรู้ของ ปตท.สผ.
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จัดทำโครงการต้นแบบ ERC Sandbox ร่วมกันในการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าในพื้นที่ EECi ให้มีประสิทธิภาพโดยเริ่มจากโครงการนำร่องบนพื้นที่ EECi ในการทดลองทดสอบการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าสะอาดระหว่างองค์กรผ่าน Peer-to-Peer Trading Platform ของ กฟภ.
  • สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน สร้าง “โครงการเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน” ที่ระดับพลังงาน 3 GeV สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน การวิเคราะห์คุณสมบัติของอะตอม โมเลกุล ใช้พัฒนาสำหรับวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นต้น
  • บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (DTAC) สนับสนุนการใช้งานระบบ “5G Playground” เพื่อการทดลอง ทดสอบนวัตกรรมที่จำเป็นต้องใช้โครงข่าย 5G เช่น อุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ หรือระบบอุตสาหกรรมอัจฉริยะในหลากหลายรูปแบบ
  • บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรและนวัตกรรม เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (AEROTHAI METROPLEX) ภายในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรมขั้นสูง และพัฒนาองค์ความรู้รูปแบบใหม่ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรด้านการบินอย่างต่อเนื่อง พัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการและระบบ เพื่อการใช้งานสำหรับภารกิจและต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม  รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาภารกิจ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
  • สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมพัฒนาโครงการทดลองทดสอบเหตุการณ์การบินด้วยเฮลิคอปเตอร์เพื่อการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อสร้างความมั่นคงของประเทศด้านสุขภาพ เพื่อให้เข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล รวมถึงเป็นต้นแบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
  • สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบระบบนิเวศและนวัตกรรม เพื่อยกระดับพื้นที่โครงการวังจันทร์วัลเลย์เป็นเมืองนวัตกรรมต้นแบบด้านอากาศยานไร้คนขับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา วิจัยพัฒนา ทดสอบทดลอง โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงบุคลากรด้านอากาศยาน ไร้คนขับ และนวัตกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมด้านอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทย

ปตท. อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทพันธมิตรที่หลากหลายในการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการพัฒนาคนและการศึกษา พร้อมทั้งแสวงหาโอกาสความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจต่อไป


ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact: UNGC)

ปตท. เข้าร่วมเป็นสมาชิกของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อสนับสนุนหลักการ 10 ประการของ UNGC ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต ในฐานะสมาชิก ปตท. ได้จัดส่งรายงานความก้าวหน้าประจำปี (Communication on Progress: CoP) หรือรายงานความยั่งยืนประจำปี ให้ UN Global Compact เพื่อเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

กลุ่ม ปตท. บริหารจัดการความยั่งยืนไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของ ปตท. ในการกำกับดูแล และดำเนินงานตามแนวทางของมาตรฐานการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. เพื่อสนับสนุนหลักการ 10 ประการของ UN Global Compact

หนังสือแสดงความมุ่งมั่นของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

หลักการ 10 ประการของ UN Global Compact

สิทธิมนุษยชน

หลักการที่ 1: สนับสนุนและเคารพการปกป้องสิทธิมนุษยชนตามที่ประกาศใช้ในระดับสากล
หลักการที่ 2: หมั่นตรวจตราดูแลมิให้ธุรกิจของตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน

มาตรฐานแรงงาน

หลักการที่ 3: ส่งเสริมสนับสนุนเสรีภาพในการรวมกลุ่มของพนักงานและการรับรองสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองอย่างจริงจัง
หลักการที่ 4: ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเกณฑ์ และแรงงานที่ใช้การบังคับในทุกรูปแบบ
หลักการที่ 5: ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง 
หลักการที่ 6: ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ

สิ่งแวดล้อม

หลักการที่ 7: สนับสนุนแนวทางการป้องกันในการดำเนินงานที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หลักการที่ 8: จัดทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการยกระดับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
หลักการที่ 9: ส่งเสริมการพัฒนาและการเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การต่อต้านการทุจริต

หลักการที่ 10: ดำเนินงานเพื่อต่อต้านการทุจริต การกรรโชก และการให้สินบนทุกรูปแบบ