สื่อประชาสัมพันธ์

GODJI

สื่อประชาสัมพันธ์

GODJI

มาเปิดโลกพลังงาน และสิ่งแวดล้อม และรู้จักเกร็ดไลฟ์สไตล์ กับ Godji Tips

ทำความรู้จัก สัญลักษณ์พลาสติก

ทำความรู้จัก สัญลักษณ์พลาสติก

ทำความรู้จัก สัญลักษณ์พลาสติก

💬 พลาสติกในชีวิตประจำวันที่เราใช้นั้นล้วนมีลักษณะ และการใช้งานที่แตกต่างกันไป
ก๊อดจิเลยนำสัญลักษณ์ของพลาสติกมาบอกให้เพื่อน ๆ ทราบครับว่าแต่ละประเภทสังเกตยังไง

♻ เบอร์ 1 โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET)
พลาสติกประเภทนี้ คือ พลาสติกชนิดใส สามารถมองทะลุได้ เช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันพืช และขวดเครื่องปรุงอาหาร สังเกตสัญลักษณ์ คือ เบอร์ 1 และ PET

♻ เบอร์ 2 โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE)
พลาสติกประเภทนี้จะเป็นสีขาว สีทึบ และสีขุ่น พลาสติกชนิดนี้จะเหนียว และทนทานกว่า PET เช่น ขวดนม ขวดแชมพู ขวดน้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า กระปุกยา สังเกตสัญลักษณ์ คือ เบอร์ 2 และ HDPE/HD-PE

♻ เบอร์ 3 โพลีไวนิล คลอไรด์ (PVC)
หรือที่เราชอบเรียกกันติดปากว่า พีวีซี วัสดุที่มีความแข็ง หรือ เป็นยาง ท่อพีวีซีส่วนใหญ่จะใช้เป็นอุปกรณ์ก่อสร้าง และทำเป็นของเล่นเด็ก ผ้าม่านห้องน้ำ แฟ้มใส่เอกสาร บัตร หลอดพลาสติกแบบแข็งด้วยเหมือนกัน สังเกตสัญลักษณ์ของ พีวีซี คือ เบอร์ 3 หรือ PVC/V

♻ เบอร์ 4 พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ หรือ LDPE
พลาสติกใส นิ่ม ยืดหยุ่นได้ ไม่ทนต่อความร้อน เช่น ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว หลอดพลาสติก พลาสติกแรปห่ออาหาร สังเกตสัญลักษณ์ คือ เบอร์ 4 หรือ LDPE

♻ เบอร์ 5 โพลีโพพีลีน (PP) พลาสติกแข็ง
พลาสติกมีความยืดหยุ่นสูง ใส เหนียว ทนต่อความร้อนอุณหภูมิที่สูงถึง 175 องศา ถูกใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร เช่น ถ้วยโยเกิร์ต ถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบแข็ง สังเกตสัญลักษณ์ คือ เบอร์ 5 หรือ PP

♻ เบอร์ 6 โพลีสไตรีน (PS)
พลาสติก มีลักษณะแข็ง และมันวาวเปราะบาง แตกง่าย เช่น ช้อนส้อมพลาสติกตามร้านสะดวกซื้อ ภาชนะโฟม ฝาแก้วกาแฟ สังเกตสัญลักษณ์ คือ เบอร์ 6 หรือ PS

♻ เบอร์ 7 พลาสติกอื่น ๆ (OTHER)
พลาสติกหลายชนิดที่ผสมกัน ชนิดของพลาสติกที่ใช้ทำสัญลักษณ์ของการรีไซเคิลพลาสติก สามารถนำกลับไปแปรสภาพเพื่อการใช้งานใหม่ในรูปแบบอื่น(Recycle) ได้

✔พลาสติกทุกชนิดสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ แต่ต้องนำมารีไซเคิลให้ถูกวิธี และนำไปใช้อย่างถูกต้องด้วยนะครับ

เห็นมั้ยครับว่าพลาสติกแต่ละประเภทมีสัญลักษณ์ และการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ต่อไปนี้เพื่อน ๆ ก็สามารถสังเกตสัญลักษณ์พลาสติกกันได้แล้วใช่มั้ยหล่ะครับ จะได้แยกชนิดของพลาสติกก่อนนำไปทิ้งได้อีกด้วยน้า 💙

Source : https://ptt.onl/Plastic1
Source : https://ptt.onl/Plastic2