สื่อประชาสัมพันธ์

ข้อเท็จจริงประเด็น ปตท.

สื่อประชาสัมพันธ์

ข้อเท็จจริงประเด็น ปตท.

โครงสร้างราคาน้ำมันไทย

13 สิงหาคม 2567
       “น้ำมันไทยแพง” “น้ำมันโลกลดแล้วน้ำมันไทยไม่ลด” “ขึ้นก่อนลงทีหลัง” ประโยคเหล่านี้มักเป็นประโยคที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ เมื่อพูดถึงราคาน้ำมัน แต่จริงๆ แล้วโครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทยมีรายละเอียดอะไรบ้าง บทความนี้จะนำข้อมูลมาชี้แจงให้ฟัง

ข้อเท็จจริงเพื่อตอบประเด็นนี้

ในโครงสร้างราคาน้ำมัน 1 ลิตรนั้น ประกอบไปด้วยต้นทุนรวมไปถึงภาษีและอื่น ๆ ที่มี 3 สัดส่วนใหญ่ๆ ประกอบไปด้วย

  1. ต้นทุนเนื้อน้ำมันจากโรงกลั่น คือ ราคาที่อ้างอิงจากตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย โดยประเทศไทยจะอ้างอิงราคาตลาดของสิงคโปร์เพราะเป็นตลาดที่ใกล้ประเทศไทยที่สุด คิดจากต้นทุนเนื้อน้ำมันดิบ บวกด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโรงกลั่น เช่น ค่าการกลั่น ต้นทุนค่าขนส่ง แรงงาน เป็นต้น
  2. ภาษีและเงินกองทุนที่ภาครัฐเรียกเก็บ โดยเงินจำนวนนี้รัฐบาลจัดเก็บเพื่อนำมาเป็นรายได้ในการพัฒนาประเทศ และนำไปใช้ประโยชน๋ที่แตกต่าง ประกอบไปด้วย
    • ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จะมีอัตราเรียกเก็บที่แตกต่างกันไปตามชนิดของน้ำมัน
    • ภาษีเทศบาล คือ ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บเพิ่มขึ้น และส่งมอบให้กระทรวงมหาดไทย
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเพิ่มจากราคาขายส่งและขายปลีก เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 7% และภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าการตลาด คิดเป็น 7% ของค่าการตลาด
    • เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เงินส่วนนี้จะนำไปส่งเสริมด้านอนุรักษ์พลังงานและด้านพลังงานทดแทนในประเทศ โดยน้ำมันทุกชนิดถูกเก็บเท่ากันในอัตรา 0.10 บาท/ลิตร
  3. ค่าการตลาด ส่วนนี้ถือเป็นรายได้ของผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน โดยได้รวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ค่าก่อสร้างคลังน้ำมัน ค่าการขนส่ง ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่กำไรสุทธิของบริษัทและเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน เพราะยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งของบริษัทผู้ค้าและเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน
       ทั้งนี้ เงินส่วนหนึ่งจากค่าน้ำมันนั้น จะถูกนำส่งเข้ารัฐไปเป็นภาษีเพื่อนำไปใช้จ่ายของรัฐ ถือเป็นส่วนสำคัญในการนำมาบริหารจัดการด้านความมั่นคงทางพลังงาน อีกทั้งเป็นเงินสำรองเพื่อใช้ในยามที่ราคาน้ำมันโลกอยู่ในภาวะวิกฤตอีกด้วย ตลอดจนการพัฒนาประเทศในหลายมิติ และค่าภาษีและกองทุนแต่ละประเทศ ถูกกำหนดในบริบทที่แตกต่างกันตามนโยบายการบริหารประเทศนั้น





สรุป

ประเด็นที่พบ: น้ำมันไทยแพง / ราคาน้ำ้มันโลกรถแล้วราคาน้ำมันไทยไม่ลด
ข้อเท็จจริง: โครงสร้างราคาน้ำมันของแต่ละประเทศ โดยหลักประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ (1) ต้นทุนเนื้อน้ำมัน (2) ภาษีและกองทุนต่างๆ และ (3) ค่าการตลาด ซึ่งโครงสร้างในแต่ละส่วนจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามนโยบายด้านพลังงานของแต่ละประเทศส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน