13 สิงหาคม 2567
หลายๆ ท่านอาจมีข้อสงสัยว่า ทำไมประเทศไทยจะต้องอ้างอิงราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ด้วย เราสามารถตั้งราคาเองได้หรือไม่ บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยประเด็นนี้ให้ฟังข้อเท็จจริงเพื่อตอบประเด็นนี้
- ราคาเนื้อน้ำมันในประเทศไทยอ้างอิงราคาจากประเทศสิงคโปร์ เพราะตลาดสิงคโปร์เป็นตลาดกลางในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคา ณ โรงกลั่นสิงคโปร์ หรือราคาขายที่สถานีบริการน้ำมันสิงคโปร์ แต่เป็นราคาที่ผู้ค้าตกลงซื้อ-ขาย ผ่านตลาดกลางแห่งนี้ ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับอีกหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย เป็นต้น
- ตลาดน้ำมันสิงคโปร์เชื่อถือได้ เพราะมีผู้ซื้อขายหลายร้อยราย
- ตลาดน้ำมันสิงคโปร์สะท้อนกลไกตลาดจริง อ้างอิงราคาได้
นอกจากนี้ ต้นทุนโรงกลั่นในไทยสูงกว่าสิงค์โปร์ เนื่องจาก
- กำลังการกลั่น ประเทศไทยมีขนาดกำลังการกลั่นน้อยกว่า อีกทั้งธุรกิจโรงกลั่นใช้เงินลงทุนสูง ขนาดกำลังการผลิตจึงมีผลต่อต้นทุนการผลิต ทำให้โรงกลั่นสิงคโปร์ได้เปรียบโรงกลั่นไทย
- การสำรองน้ำมัน โรงกลั่นสิงคโปร์ไม่ต้องสำรองน้ำมัน แต่โรงกลั่นไทยต้อนสำรองน้ำมัน เมื่อไม่ต้องสำรองน้ำมันทำให้โรงกลั่นมีความยืดหนุ่นในการใช้ประโยชน์จากถังเก็บน้ำมันมากขึ้น กระบวนการผลิตจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- โรงกลั่นในประเทศไทยผลิตน้ำมันคุณภาพสูงกว่าหรือยูโร 4-5 เพื่อให้สามารถแข่งขันกับการน้ำเข้าน้ำมันจากโรงกลั่นสิงคโปร์


สรุป
ประเด็นที่พบ: ทำไมราคาน้ำมันไทยต้องอ้างอิงราคาจากสิงคโปร์ข้อเท็จจริง: ต้นทุนเนื้อน้ำมันของไทยใช้หลักการกำหนดราคาแบบ Import Parity ที่อ้างอิงราคาจากตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ไม่ได้เป็นราคาที่ประกาศโดยประเทศสิงคโปร์ หรือโรงกลั่นสิงคโปร์ แต่เป็นราคาที่สะท้อนถึงการซื้อขายของทุกประเทศในภูมิภาคนี้ โดยราคาน้ำมันจะมีค่าในการปรับปรุงคุณภาพ เพื่อปรับให้สอดคล้องกับคุณภาพของประเทศไทย และรวมค่าขนส่งซึ่งในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปตามระยะทาง ทั้งนี้การกำหนดราคาดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางเดียวกับประเทศในภูมิภาค อาทิ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย อินเดีย และ มาเลเซีย เป็นต้น