สื่อประชาสัมพันธ์

ข้อเท็จจริงประเด็น ปตท.

สื่อประชาสัมพันธ์

ข้อเท็จจริงประเด็น ปตท.

ปตท. คืนท่อไม่ครบ! จริงหรือ?

13 สิงหาคม 2567
       อีกหนึ่งประเด็นที่ ปตท. มักถูกกล่าวถึงในเชิงลบอยู่เรื่อยๆ คือประเด็น ปตท. คืนท่อก๊าซฯ ไม่ครบ แต่แท้จริงแล้วข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร บทความนี้จะมาชี้แจงให้ได้ทราบกัน

ข้อเท็จจริงเพื่อตอบประเด็นนี้

       ข้อเท็จจริงของประเด็นนี้คือ ปตท. ได้คืนท่อก๊าซฯ ครบแล้ว โดยมีคำตัดสินจากศาลปกครองสูงสุดตั้งแต่ปี 2550

มีลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญดังนี้

14 ธ.ค. 50 – ศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 มีคำพิพากษาให้แบ่งแยกทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และอำนาจมหาชนของรัฐ ออกจาก ปตท.

16 ธ.ค. 50 - ครม. มีมติรับทราบคำพิพากษา และเห็นชอบหลักการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท.

26 ธ.ค. 50 - กรมธนารักษ์แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

24 เม.ย. 51 - กรมธนารักษ์โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังและ ปตท. ได้ลงนามในบันทึกการแบ่งแยก และส่งมอบทรัพย์สินที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง

22 เม.ย. 51 - กรมธนารักษ์ได้มีหนังสือแจ้งว่า ปตท. ได้แบ่งแยกทรัพย์สินให้กระทรวงการคลังเสร็จสิ้นครบถ้วนแล้ว และขอให้รายงานศาลฯ ต่อไป

25 ธ.ค. 51 - ปตท. ได้ยื่นคำร้องรายงานสรุปการดำเนินการตามคำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด และรายงานทรัพย์สินที่ได้แบ่งแยกให้แก่กระทรวงการคลังตามคำพิพากษา

26 ธ.ค. 51 - ศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 มีคำสั่งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ (ปตท.) ได้ดำเนินการตามคำพิพากษา (คืนท่อ) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

       นอกจากคำสั่งครั้งแรกในวันที่ 26 ธ.ค. 51 ดังกล่าวแล้ว ยังมีคำสั่งศาลปกครองอีก ครั้ง (รวมเป็น ครั้ง) ว่า ปตท. คืนท่อฯ ครบแล้ว โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้

ครั้งที่ 2 วันที่ 3 มี.ค. 52

ครั้งที่ 3 วันที่ 2 พ.ย. 55

ครั้งที่ 4 วันที่ 12 ธ.ค. 57

ครั้งที่ 5 วันที่ 5 ม.ค. 58

ครั้งที่ 6 วันที่ 7 เม.ย. 59

ครั้งที่ 7 วันที่ 18 พ.ค. 59

ครั้งที่ 8 วันที่ 25 ก.พ. 64

ครั้งที่ 9 วันที่ 3 ก.พ. 66






สรุป

ประเด็นที่พบปตท. คืนท่อก๊าซฯ ไม่ครบ / ปตท. ฮุบท่อก๊าซฯ / ปตท. ไม่คืนสมบัติชาติ
ข้อเท็จจริงศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งตั้งแต่ปี 2551 ว่า ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แบ่งแยกและโอนทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลังจนเสร็จสิ้นครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว  โดยหลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ศาลปกครองยังคงมีคำสั่งตามเดิมอีก 9 ครั้งว่า ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยแล้วว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินฯ ครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว จึงถือว่าคดีเป็นที่ยุติแล้ว