สานพลังเพื่อสังคม

ปลูกป่า ได้มากกว่าต้นไม้

สานพลังเพื่อสังคม

ปลูกป่า ได้มากกว่าต้นไม้

หมุดหลักสำคัญในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ของ ปตท. เกิดขึ้นในปี 2537 เมื่อ ปตท. รับอาสาปลูกป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1 ล้านไร่ จาก 5 ล้านไร่ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิม พระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ของรัฐบาล เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย โดยมีพื้นที่ เป้าหมายกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ตั้งแต่พื้นที่ป่าดิบเขาบนภูเขาสูงในภาคเหนือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ บนที่ราบสูงกว้างใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าดิบลุ่มต่ำในภาคกลาง และภาคตะวันออก จนถึงป่าพรุและป่าชายเลนสองฝั่งทะเลในภาคใต้

การดำเนินงานปลูกป่า 1 ล้านไร่ดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.2537-2545 แล้วเสร็จ 1,043,230 ไร่ และจะไม่สามารถสำเร็จลงได้หากขาดการสนับสนุน และมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่าต่อเนื่องจาก หน่วยงานภาครัฐ ชาวบ้านในพื้นที่รอบแปลงปลูกป่า เพื่อเป็นหลักประกันว่าป่าที่ปลูกนั้นจะอยู่รอด การดูแลรักษาป่าระยะยาวอย่างมีส่วนร่วมจากส่วนร่วมของชุมชนจึงเป็นหัวใจสำคัญ



โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ไม่เพียงฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่เคยถูกทำลาย และเพิ่มพื้นที่สีเขียวกลับคืนให้กับประเทศ แต่ยังส่งผลต่อความตื่นตัว ตระหนักในความสำคัญของ ทรัพยากรธรรมชาติ และสานต่อเจตนารมณ์ในการดูและรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดเครือข่ายอนุรักษ์และรักษาป่าให้ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม โดยป่าปลูกทั่วประเทศได้รับการดูแลรักษาป่าระยะยาว จากเครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่ารอบแปลงปลูกป่า รวมถึงเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่าที่ขยายผลต่อมา ได้แก่ โครงการลูกโลกสีเขียว จึง เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542 เพื่อค้นหาเพื่อยกย่องเชิดชูบุคคล ชุมชน เยาวชน ที่มีผลงานในด้านการอนุรักษ์ดูแลรักษาป่า และโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ซึ่งขยายผลสู่ชุมชนหยั่งรากสร้างองค์ความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย และประชาชนทั่วไป ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

ในวันนี้ ป่าปลูกจากจุดเริ่มต้น ได้เติบโตและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ โดยการวิจัยของศูนย์วิจัยป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าป่าที่ ปตท. ได้ดำเนินการปลูกและดูแลรักษาตั้งแต่ ปี 2537-2559 สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 2.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี สามารถคิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์จากป่ากว่า 280 ล้านบาท/ปี และยังคงมีความ อุดมสมบูรณ์มากกว่า 82.66% ด้วยความร่วมใจดูแลรักษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และราษฎรอาสามัครพิทักษ์ป่า อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างการพึ่งพาตัวเอง ส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชนโดยรอบพื้นที่แปลงปลูกป่า


สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท.

สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ทำหน้าที่ขยายผล ต่อยอดจากภารกิจโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมุ่งเน้นการปลูกป่าเชิงกลยุทธ์ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์สร้างประโยชน์แก่สังคม และชุมชน ตลอดจนการสะสมองค์ความรู้จากประสบการณ์กว่า 25 ปี ในการปลูกป่า การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเผยแพร่ ไปยังสาธารณะสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ยังยกระดับการให้ความรู้ทางวิชาการ และสร้างความ ตระหนักผ่านการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญจำนวน 3 ศูนย์ ซึ่งมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย


การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านศูนย์เรียนรู้ 3 แห่ง
  • ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
    พื้นที่ศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลน 387 ไร่ ณ ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของ ปตท. ด้วยเป็นพื้นที่พิธีน้อมเกล้าฯถวายโครงการ ปลูกป่าถวารเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

    พื้นที่แห่งนี้ได้รับการฟื้นฟูจากนากุ้งร้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนระดับประเทศและภูมิภาค จากการมีส่วนร่วมจากชุมชน งานวิจัย และความรู้เป็นเครื่องมือในการพลิกฟื้น ดินเสื่อมโทรม และการระบายน้ำเค็ม สำเร็จผลเป็นป่าชายเลนจากการปลูกขนาดใหญ่ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแหล่งกำเนิดของระบบนิเวศที่สำคัญ และ เป็นต้นแบบองค์ความรู้ในการฟื้นฟูพื้นที่นากุ้งสู่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์รวมถึงเป็นพื้นที่ต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืนร่วมกับชุนชนและหน่วยงานภาครัฐ สร้างรายได้ให้ ชุมชนจากการรับรองนักท่องเที่ยว และจากการจับสัตว์น้ำ

  • ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
    จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิด และพระราชทานชื่อ ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด12ไร่ บนถนนสุขาภิบาล 2 มีการออกแบบที่กลมกลืนกับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นพื้นที่สีเขียวให้แก่เมือง มีจุดเด่นจากจากชมพื้นที่ป่าปลูกแบบผสมผสาน จากเรือนยอด และเป็นแหล่งสะสมพันธุ์ไม้พื้นถิ่นต่างๆ ของกรุงเทพฯ ทั้งยังรวบรวมองค์ความรู้การปลูกและอนุรักษ์ป่าของ ปตท. ปัจจุบันเป็นหนึ่งในแหล่งกิจกรรมปลูกฝังเรื่อง การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดคนเมือง

  • ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์
    ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง มีเนื้อที่รวม 351.35 ไร่ มีแนวคิดการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ซึ่งกระทบต่อธรรมชาติ น้อยที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมการฟื้นฟูป่ารูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการฟื้นฟูป่าแบบบูรณาการในรูปแบบ “วนเกษตร” ที่ปลูกไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชสวน รวมถึงการทำนาแบบผสมผสาน ทั้งยังเป็นพื้นที่ปลูกป่าโครงการนำร่องที่เข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand-Voluntary Emission and Reduction: T-VER) สาขาป่าไม้


ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ยังมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยรอบพื้นที่โดยจัดทำหลักสูตร นิเวศท้องถิ่น เชื่อมโยงการเรียนการสอนในโรงเรียนในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตาม พระราชดำริฯ มีผักปลูกจากเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานที่ปลอดภัยไว้บริโภค และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากรายได้การจำหน่ายผัก ในโครงการ “วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน”

การปลูกป่ารักษาระบบนิเวศและส่งเสริมการปลูกสวนป่าครัวเรือน

จากการที่ ปตท. ได้ส่งเสริมการดูแลรักษาป่าและสิ่งแวดล้อมผ่านเครือข่ายชุมชนอย่างต่อเนื่อง อาทิ สถาบันลูกโลกสีเขียว เครือข่ายราษฎร อาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสปท.) และเครือข่ายหญ้าแฝก จึงได้ต่อยอดการดำเนินงานในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในรูปแบบสวนป่าครัวเรือน คือ  การสร้างสวนป่าในบ้านหรือในครัวเรือนที่มีเอกสารสิทธิ์ โดยการปลูกพืชผสมผสานเป็นประโยชน์ทั้งทางด้านอากาศ และความมั่นคงทางด้านอาหาร ได้แก่ การปลูกไม้ยืนต้น  ไม้ผล ไม้ดอก สมุนไพร  เครื่องเทศ ฯลฯ สอดคล้องตามแนวทางโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  และยุทธศาสตร์ชาติด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง และการปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม (Green Mindset)

ปตท. เห็นถึงความสำคัญของการมีพื้นที่สีเขียวในเมืองและการมีส่วนร่วมของคนเมืองในการรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อม จึงได้ต่อยอดประสบการณ์จากการปลูกป่า กว่า 25 ปี มาปรับให้เหมาะสมกับบริบทเมือง เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองพร้อมปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มดำเนินการในปี 2562 เป็นต้นมา ตัวอย่างการจัดกิจกรรม 40 ปี ปตท. Plant Together โดยสนับสนุน 5 มหาวิทยาลัย ในการออกแบบพื้นที่สีเขียวตามความต้องการของแต่สถาบัน โดย ปตท. ให้การสนับสนุนทุนตั้งต้นในการออกแบบ พร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ร่วมกับภูมิสถาปนิก ในการคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ ความเหมาะสมของพื้นที่ วิธีการดูแลรักษาต้นไม้ที่เหมาะสม โดยกิจกรรมดังกล่าวสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองคิดเป็น 2,694 ตารางเมตร หรือ 1.7 ไร่

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ของสถาบันปลูกป่า ปตท. ได้ที่ http://www.pttreforestation.com