กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. ภายใต้วิสัยทัศน์ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” หรือ “TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD” โดยเร่งสร้างความแข็งแรงและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจ Hydrocarbon ที่เป็น Core Business ของ ปตท. ที่ ปตท. ทำได้ดี ซึ่งต้องทำควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก และต้องปรับตัวพร้อมรับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยธุรกิจ Upstream จะต้องเร่งขยายแหล่งสำรวจและผลิต ร่วมกับพันธมิตร มีต้นทุนที่แข่งขันได้ รวมถึงการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา (OCA) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ในส่วนของธุรกิจ Power จะมุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้า และสนับสนุนกลุ่ม ปตท. ในเรื่อง Decarbonization สำหรับธุรกิจ Downstream นั้น จะต้องปรับตัว และสร้างความแข็งแรงร่วมกับพันธมิตร แสวงหาโอกาสในการสร้าง Synergy ร่วมกันเพิ่มเติม ทั้งนี้ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกนั้น จะมุ่งเป็น Mobility Partner ของคนไทย โดยการปรับพอร์ตการลงทุนให้มี Substance และ Asset Light รวมถึงการรักษาความเป็นผู้นำตลาด
ส่วนการดำเนินธุรกิจ Non-Hydrocarbon จะประเมินธุรกิจใน 2 มุม คือ 1) ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจ (Attractive) และ 2) ปตท. มี Right to Play หรือมีจุดแข็ง สามารถเข้าไปต่อยอดในธุรกิจนั้น ๆ ได้ และมีพันธมิตรที่แข็งแรง ซึ่งมีแนวทางการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ EV ปตท. จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งจะควบรวมแบรนด์ต่าง ๆ ภายใต้กลุ่ม ปตท. และใช้ OR Ecosystem ที่มีอยู่ทั่วประเทศให้เป็นประโยชน์ ธุรกิจ Logistics จะเน้นธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของ ปตท. และมี Captive Demand โดยใช้หลัก Asset-light และมีพันธมิตรที่แข็งแรง ในส่วนของธุรกิจ Life Science นั้น บริษัทจะต้องสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ด้วยตัวเอง และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้
ทั้งนี้ ปตท. มีแผนการสร้างสมดุล ESG ให้เหมาะสมกับบริบทองค์กร ควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ผ่านการผลักดันธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับไฮโดรเจน และการดำเนินโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Storage : CCS) โดยทำงานแบบบูรณาการร่วมกันทั้งกลุ่ม ปตท. โดยต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน และมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อใช้จุดแข็งของแต่ละบริษัท ในกลุ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมี ปตท. เป็นผู้ดูแลในภาพรวม
นอกจากนี้ ปตท. ให้ความสำคัญเรื่อง Operational Excellence (OpEx) อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทั้งกลุ่ม อีกทั้งมุ่งเน้นการเสริมศักยภาพบุคลากรและการมุ่งรักษาพื้นฐานที่สำคัญ มุ่งเน้นธรรมาภิบาล และการกำกับกิจการที่ดี รวมถึงการมีความเป็นเลิศทางด้านการเงิน (Financial Excellence) ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการประกอบธุรกิจ โดย ปตท. ยังคงยึดมั่นพันธกิจในการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพทางพลังงานให้แก่ประเทศ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง บนหลัก “ความยั่งยืนอย่างสมดุล” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
“ปตท. ให้ความสำคัญกับการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ยึดมั่นภารกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐานในระดับสากล สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่กับการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อมุ่งสู่การเติบโตขององค์กรในระดับโลกอย่างยั่งยืน”
“ปตท. ให้ความสำคัญกับการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ยึดมั่นภารกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐานในระดับสากล สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่กับการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อมุ่งสู่การเติบโตขององค์กรในระดับโลกอย่างยั่งยืน”
- เกี่ยวกับ ปตท.
- การจัดการองค์กร
- การรับรองคุณภาพ/มาตรฐาน
- รางวัลแห่งความสำเร็จ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เอกสารสำคัญ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายการร้องเรียน
- นโยบายการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท.
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่ม ปตท.
- สารจาก CEO
- แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท.
- การกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร (Compliance)
- หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท.
- คู่มือ
- รายงาน
- การเปิดเผยข้อมูล
- การตรวจสอบภายใน
- เยี่ยมชม
- ศูนย์ความเป็นส่วนตัว