ปตท. มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ในการจัดให้มีมาตรการกำกับดูแลความโปร่งใสในการเข้าทำธุรกรรมกับคู่ค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ตลอดจนเพื่อสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. ให้เป็นไปอย่างรัดกุม เหมาะสม และมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ จึงประกาศใช้ ข้อกำหนดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าด้วย หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. ก่อนการอนุมัติการเข้าทำธุรกรรม การคัดเลือกขึ้นทะเบียน การพิจารณาการลงทุนกับ ผู้ค้า คู่ค้า ลูกค้า พันธมิตรคู่ค้า หรือผู้ร่วมทุน หรือการคัดเลือกพนักงานของ ปตท. แล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง ปตท. ที่เกี่ยวข้อง
ปตท. กำหนดให้ ผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. ต้องไม่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ต้องห้าม (Blacklist) ดังต่อไปนี้
ปตท. กำหนดให้ ผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. ต้องไม่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ต้องห้าม (Blacklist) ดังต่อไปนี้
- เป็นบุคคลที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิด โดยบุคคลดังกล่าวจะหลุดพ้นจากการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อนี้เมื่อภายหลังปรากฏว่าคดีถึงที่สุดและบุคคลดังกล่าวไม่มีความผิด
- เป็นบุคคลที่เป็นคู่ความกับ ปตท. ในข้อพิพาทหรือคดีใด ๆ ที่มีโทษทางอาญากำหนดไว้ แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นคดีความผิดลหุโทษ
บุคคลตามวรรคแรก จะหลุดพ้นจากการมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ต้องห้าม (Blacklist) ในกรณีต่อไปนี้
2.1 คดีที่ ปตท. เป็นจำเลย และคดีมีคำพิพากษาถึงที่สุด
2.2 คดีที่ ปตท. เป็นผู้เสียหาย และคดีมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า บุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง
2.3 คดีที่ ปตท. เป็นผู้เสียหาย และคดีมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า บุคคลดังกล่าวกระทำความผิดตามฟ้อง และบุคคลที่เป็นคู่ความพ้นโทษ หรือครบกำหนดเวลารอลงอาญา หรือครบกำหนดเวลารอกำหนดโทษแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
2.4 คดีอาญาเป็นที่ยุติโดยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ
กรณีตามข้อ 2.1 - ข้อ 2.4 ถ้าบุคคลที่เป็นคู่ความเป็นนิติบุคคล ให้ถือว่ากรรมการของบริษัทจำกัด หรือหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของบริษัทมหาชนจำกัด มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ต้องห้าม (Blacklist) และจะหลุดพ้นจากการมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ต้องห้าม (Blacklist) ตามข้อนี้เช่นเดียวกับนิติบุคคล
ในกรณีตามข้อ 2.3 เมื่อคดีมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า นิติบุคคลกระทำความผิดตามฟ้อง แต่ปรากฏว่ากรรมการของบริษัทจำกัด หรือหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของบริษัทมหาชนจำกัดไม่ได้กระทำความผิด และกรรมการหรือหุ้นส่วนดังกล่าวได้ลาออกจากนิติบุคคลแล้ว ให้ถือว่ากรรมการหรือหุ้นส่วนรายนั้นได้หลุดพ้นจากการมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ต้องห้าม (Blacklist)
ในกรณีที่คดีมีคำพิพากษาให้นิติบุคคลและกรรมการของบริษัทจำกัด หรือหุ้นส่วน ไม่จำกัดความรับผิด และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของบริษัทมหาชนจำกัด รับโทษหรือรอลงอาญาในระยะเวลาแตกต่างกัน ให้ใช้ระยะเวลารับโทษหรือรอลงอาญาที่ยาวที่สุด ในการนับระยะเวลาหลุดพ้นจากการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อนี้ - เป็นบุคคลที่ถูก ปตท. บอกเลิกสัญญาใด ๆ อันเนื่องจากการกระทำโดยทุจริตต่อ ปตท.
- เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกศาลสั่งให้ล้มละลาย กล่าวคือเป็นบุคคลที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ว่าชั่วคราวหรือเด็ดขาด ในคดีล้มละลาย และศาลยังไม่ได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้จำหน่ายคดี ยกเลิกการล้มละลาย หรือปลดจากล้มละลาย ทั้งนี้ ไม่ว่าศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ของบุคคลดังกล่าวในกระบวนการล้มละลายหรือไม่ก็ตาม
- เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดและประกาศรายชื่อโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
การตรวจสอบและกำกับดูแลความโปร่งใสในการทำธุรกรรมกับบุคคลที่สาม และการบริหารความเสี่ยงในการทำธุรกรรม ปตท. จะดำเนินการตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถเข้าถึงได้เป็นการทั่วไป และให้ดำเนินการตามแนวทางและมาตรฐานที่มีความโปร่งใส เป็นธรรมในระดับสากล โดยรายละเอียดประเภทธุรกรรม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการตรวจสอบและการบริหารความเสี่ยงในการทำธุรกรรม ให้เป็นไปตามที่ ปตท. กำหนด
- เกี่ยวกับ ปตท.
- การจัดการองค์กร
- การรับรองคุณภาพ/มาตรฐาน
- รางวัลแห่งความสำเร็จ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เอกสารสำคัญ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายการร้องเรียน
- นโยบายการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท.
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่ม ปตท.
- สารจาก CEO
- แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท.
- การกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร (Compliance)
- หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท.
- คู่มือ
- รายงาน
- การเปิดเผยข้อมูล
- การตรวจสอบภายใน
- เยี่ยมชม
- ศูนย์ความเป็นส่วนตัว