ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์
กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร
กรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
กรรมการอิสระ
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร มีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ปตท. ดังต่อไปนี้
- กำหนด และทบทวน นโยบาย กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรและกรอบการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
- กำกับดูแล และสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงองค์กร และการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
- ให้ข้อเสนอแนะแนวทาง ติดตาม และประเมินผล การบริหารความเสี่ยงและการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อคณะกรรมการแผนวิสาหกิจและบริหารความเสี่ยง (Corporate Plan and Risk Management Committee, CPRC)(ระดับจัดการ) เพื่อนำไปดำเนินการ
- พิจารณารายงานผลการบริหารความเสี่ยงองค์กร และให้ข้อคิดเห็นในความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุม หรือบรรเทา (Mitigation Plan) และการพัฒนาระบบการจัดการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้แก่ CPRC เพื่อให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
- พิจารณารายงานผลการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้ข้อคิดเห็นในแผนการดำเนินการเพื่อขยายผลเชิงบวก หรือลด/ชดเชยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้แก่ CPRC เพื่อให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
- สนับสนุนการดำเนินงานของ Chief Risk Officer (CRO) และ Chief Stakeholder Officer (CSO) ให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงองค์กร และการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- รายงานผลการบริหารความเสี่ยงองค์กร และผลการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้คณะกรรมการ ปตท. รับทราบ และในกรณีที่มีปัจจัย หรือเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ ปตท. หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ปตท. อย่างมีนัยสำคัญ ต้องรายงานต่อคณะกรรมการปตท. เพื่อทราบและพิจารณาโดยเร็วที่สุด
- พิจารณากลั่นกรองและให้ข้อคิดเห็นวาระที่เกี่ยวข้องกับสัญญาที่ต้องนำเสนอคณะกรรมการ ปตท. เป็นผู้อนุมัติ ที่มีความซับซ้อนเชิงธุรกิจและมีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อ ปตท. หรืออาจมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ปตท. อย่างมีนัยสำคัญตามที่คณะกรรมการจัดการของ ปตท. เห็นชอบ
- พิจารณากลั่นกรองและให้ข้อคิดเห็นวาระที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ดังนี้
- โครงการลงทุนของ ปตท. และบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น 100% ที่มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท และต้องนำเสนอคณะกรรมการ ปตท. เป็นผู้อนุมัติ
- การลงทุนของบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นน้อยกว่า 100% ที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท ที่ต้องนำเสนอคณะกรรมการ ปตท. ให้
ความเห็นชอบก่อนผู้แทน ปตท. ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัท - การลงทุนที่มีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อ ปตท. หรืออาจมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ปตท. อย่างมีนัยสำคัญตามที่คณะกรรมการจัดการของ ปตท. เห็นชอบ
- กำหนดและทบทวนนโยบายการจัดการนวัตกรรมองค์กร
- ให้ข้อเสนอแนะแนวทาง ติดตามและประเมินผล แผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมระยะยาวและประจำปี เพื่อนำไปดำเนินการ
- กำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานตามนโยบายและแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรม เพื่อให้แผนปฏิบัติการประจำปี บรรลุได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
- รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมต่อคณะกรรมการ ปตท. เพื่อทราบ อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
- กำหนด และทบทวน กรอบการบริหารจัดการด้านลูกค้าและตลาด
- กำกับดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการดำเนินงานตามกรอบการบริหารจัดการด้านลูกค้าและตลาด เพื่อให้บรรลุได้ตามเป้าหมายที่กำหนดและสอดคล้องกับทิศทางในการดำเนินธุรกิจ
- รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านลูกค้าและตลาดต่อคณะกรรมการ ปตท. เพื่อทราบอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
- ประชุมคณะกรรมการฯ อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ปตท. มอบหมาย
- เกี่ยวกับ ปตท.
- การจัดการองค์กร
- การรับรองคุณภาพ/มาตรฐาน
- รางวัลแห่งความสำเร็จ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เอกสารสำคัญ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายการร้องเรียน
- นโยบายการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท.
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่ม ปตท.
- สารจาก CEO
- แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท.
- การกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร (Compliance)
- หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท.
- คู่มือ
- รายงาน
- การเปิดเผยข้อมูล
- การตรวจสอบภายใน
- เยี่ยมชม
- ศูนย์ความเป็นส่วนตัว