คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้
- จัดทำกฎบัตรว่าด้วยการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานของ ปตท. โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ปตท.
และมีการสอบทานความเหมาะสมของระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง - สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการกำกับดูแลที่ดี กระบวนการบริหารความเสี่ยง และกระบวนการควบคุมภายใน
- สอบทานให้ ปตท. มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ
- สอบทานการดำเนินงานของ ปตท. ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติงาน มติคณะรัฐมนตรี กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ประกาศ
หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ปตท. - สอบทานให้ ปตท. มีระบบการตรวจสอบภายในที่ดี พิจารณาความเพียงพอของงบประมาณ บุคลากร และความเป็นอิสระของหน่วยตรวจสอบภายใน
- พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีโอกาสเกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของ ปตท. โดยให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
- สอบทานการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง (State Enterprise Assessment Model : SE-AM)
รวมทั้งมีบทบาทในการติดตามการดำเนินงานตามข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง - เสนอข้อแนะนำต่อคณะกรรมการ ปตท. ในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน
- พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของ ปตท. ต่อ คณะกรรมการ ปตท.
- ประสานงานเกี่ยวกับผลการตรวจสอบกับผู้สอบบัญชี และอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่าจำเป็น
- รับเรื่องร้องเรียนตามช่องทางและวิธีการที่ระบุในข้อกำหนดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าด้วย การร้องเรียนและแจ้งเบาะแส การทุจริต การทุจริตต่อหน้าที่ การประพฤติมิชอบ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร
- รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบต่อคณะกรรมการ ปตท. อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ยกเว้นรายงานผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ให้จัดทำเป็น
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีพร้อมทั้งส่งรายงานดังกล่าวให้กระทรวงเจ้าสังกัดของ ปตท. และกระทรวงการคลังเพื่อทราบ - ประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีบัญชีการเงินละ 1 ครั้ง ให้คณะกรรมการ ปตท. ทราบ
- เปิดเผยรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของคณะกรรมการตรวจสอบ และค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีในรายงานประจำปีของ ปตท.
- ประธานกรรมการตรวจสอบ หรือ กรรมการตรวจสอบ ต้องเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ปตท. เพื่อชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบ หรือการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีด้วย
- กรณีที่การดำเนินงานตรวจสอบภายในเรื่องใดหรือการปฏิบัติงานอื่นใดของคณะกรรมการตรวจสอบมีความจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ให้คณะกรรมการตรวจสอบ
เสนอต่อคณะกรรมการ ปตท. เพื่อพิจารณาให้มีการเชิญหรือดำเนินการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องด้วยค่าใช้จ่ายของ ปตท. ได้ - เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบได้รับรายงานผลการตรวจสอบภายในที่พบว่ามีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติงาน มติคณะรัฐมนตรี ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
ของ ปตท. ให้แจ้งต่อผู้บริหารสูงสุดเพื่อพิจารณาสั่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของ ปตท. ดำเนินการแก้ไข - คณะกรรมการตรวจสอบต้องประชุมร่วมกันอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ต้องมีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ให้คณะกรรมการตรวจสอบประชุมอย่างเป็นทางการร่วมกับฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะกรรมการ ปตท. มอบหมาย ทั้งนี้ต้องอยู่ในขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าด้วย คณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายใน พ.ศ. 2564
โดยมีผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักตรวจสอบภายใน (น.ส.ปิยะภรณ์ ธนังธีรพงษ์) เป็นเลขานุการ
- เกี่ยวกับ ปตท.
- การจัดการองค์กร
- การรับรองคุณภาพ/มาตรฐาน
- รางวัลแห่งความสำเร็จ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เอกสารสำคัญ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายการร้องเรียน
- นโยบายการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท.
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่ม ปตท.
- สารจาก CEO
- แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท.
- การกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร (Compliance)
- หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท.
- คู่มือ
- รายงาน
- การเปิดเผยข้อมูล
- การตรวจสอบภายใน
- เยี่ยมชม
- ศูนย์ความเป็นส่วนตัว