รู้จักกับ ปตท.

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

รู้จักกับ ปตท.

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Stakeholder


ต่อหน่วยงานภาครัฐ

สร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว โดยการจัดหาพลังงานในปริมาณที่เพียงพอ มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และราคาเป็นธรรม เพื่อเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ


ต่อสังคมชุมชน

เป็นองค์กรที่ดีของสังคม ดำเนินธุรกิจที่มีการบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคมชุมชน


ต่อผู้ลงทุน

ดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี และมีการขยายธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน


ต่อลูกค้า

สร้างความพึงพอใจและความผูกพันแก่ลูกค้า โดยผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล ด้วยราคาเป็นธรรม


ต่อคู่ค้าและ

คู่ความร่วมมือ

ดำเนินธุรกิจร่วมกันบนพื้นฐานของความเป็นธรรม มุ่งสร้างความไว้วางใจ ความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดี เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจร่วมกันในระยะยาว


ต่อพนักงาน

สนับสนุนการพัฒนาความสามารถการทำงานระดับมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง ให้ความมั่นใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานทัดเทียมบริษัทชั้นนำ เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กร



บทบาทต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การดำเนินธุรกิจของ ปตท. ย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหนี้ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง ไปจนถึงชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก แต่ละฝ่ายย่อมมีความต้องการและมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน การปฏิบัติต่อแต่ละฝ่ายจึงต้องกำหนดเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการ 

  • ปตท.แบ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ สังคมชุมชน ลูกค้า ผู้ลงทุน คู่ค้าและคู่ความร่วมมือ และพนักงาน ทั้งนี้ ปตท. ต้องรวบรวมความคาดหวัง และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริหารจัดการ และสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ ตลอดจนจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม อย่างพอเพียง
  • ปตท. ต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพของบุคลากรของ ปตท. โดยไม่เอาเปรียบในการทำสัญญาจ้าง มีการกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับศักยภาพเพื่อกระตุ้นให้บุคลากร ของ ปตท. มีแรงจูงใจในการทำงาน มีการฝึกอบรม และให้การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากร มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีการกำหนดมาตรฐาน ความปลอดภัยสร้างวินัยในการทำงาน ให้การเอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึง มีแผนชดเชยที่ดีหากมีเหตุให้บุคลากรของ ปตท. ต้องยุติการทำงานด้วยสาเหตุใดก็ตาม
  • ปตท. มีพันธสัญญาต่อผู้บริโภคในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยไม่กระทำ การใดอันเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้า ในการปฏิบัติต่อคู่ค้า ปตท. ต้องดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม และต้องไม่เอาเปรียบคู่ค้า โดยพิจารณาประโยชน์ของ ปตท. ควบคู่กันไป
  • ปตท. ต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้การช่วยเหลือ สนับสนุน และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมในภาพรวม มีแผนการในการรักษา สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากธุรกิจของ ปตท. มีแผนชดเชยที่ดีหากมีอุบัติเหตุและมีการวางแผนแก้ไขอย่างยั่งยืน
  • ปตท. ต้องจัดให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
  • คณะกรรมการ ปตท. ควรดำเนินการประชาสัมพันธ์สื่อความถึงความตระหนักและความเอาใจใส่ที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่องและสมํ่าเสมอ