รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต
กรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
กรรมการอิสระ
กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ปตท. ดังต่อไปนี้
- ด้านกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการและการควบคุมภายใน การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร (Governance Risk and Compliance : GRC) และการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน (Anti-Fraud and Corruption)
- พิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ กรอบการบริหารจัดการ พร้อมทั้งมอบนโยบาย และแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย กลยุทธ์ของ ปตท. รวมถึง กฎหมาย กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติทั้งในประเทศและระดับสากล โดยให้มีการทบทวนเป็นประจำทุกปี
- เสนอแนะแนวปฏิบัติที่ดี ให้คำแนะนำ และคำปรึกษาด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการและการควบคุมภายใน การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร รวมถึงมาตรการด้านการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน ตามกรอบหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อคณะกรรมการ ปตท. และฝ่ายจัดการ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติขององค์กรให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีทั้งในประเทศและระดับสากล
- กำหนดนโยบาย วางกรอบแนวทางการกำกับดูแล สนับสนุน และติดตาม ให้มีการดำเนินงาน ด้านการรับเรื่องร้องเรียน การแจ้งเบาะแสการทุจริต และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร
- กำกับดูแล ติดตามการดำเนินงาน ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการและการควบคุมภายใน การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร และการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน รวมถึง การรับเรื่องร้องเรียน การแจ้งเบาะแสการทุจริต และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร และรายงานต่อคณะกรรมการ ปตท.
- ด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน (Sustainability Management : SM)
- พิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบาย แผนแม่บท กลยุทธ์ คู่มือปฏิบัติงาน ตลอดจนแผนงานการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน ปตท. ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (Environmental, Social, and Governance : ESG) เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ของ ปตท. รวมถึง มาตรฐาน แนวปฏิบัติที่ดีทั้งในประเทศและระดับสากล โดยให้มีการทบทวน เป็นประจำทุกปี
- พิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ กรอบการบริหารจัดการ การดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) พร้อมทั้งมอบนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และให้คำแนะนำ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย กลยุทธ์ของ ปตท. และแนวปฏิบัติสากล โดยให้มีการทบทวนเป็นประจำทุกปี
- เป็นต้นแบบ ให้คำแนะนำ และส่งเสริมการดำเนินงานของ ปตท. ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และทัดเทียมกับบริษัทชั้นนำ ตลอดจนสนับสนุนให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ปฏิบัติตนตามคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน ปตท.
- กำกับดูแล ติดตามการดำเนินงาน ด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน และการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และรายงานต่อคณะกรรมการ ปตท.
- กำหนดนโยบายให้ ปตท. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ปตท. และการเสนอวาระสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
- ให้คำแนะนำ และคำปรึกษา แก่คณะกรรมการจัดการการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร (Governance Risk and Compliance Management Committee : GRCMC)
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ปตท. มอบหมาย
- คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนควรประชุมอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
- เกี่ยวกับ ปตท.
- การจัดการองค์กร
- การรับรองคุณภาพ/มาตรฐาน
- รางวัลแห่งความสำเร็จ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เอกสารสำคัญ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายการร้องเรียน
- นโยบายการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท.
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่ม ปตท.
- สารจาก CEO
- แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท.
- การกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร (Compliance)
- คู่มือ
- รายงาน
- การเปิดเผยข้อมูล
- การตรวจสอบภายใน
- เยี่ยมชม
- ศูนย์ความเป็นส่วนตัว