อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการบริษัท มีอำนาจดูแลและจัดการบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับและมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- คณะกรรมการบริษัท มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และจะแต่งตั้งรองประธานกรรมการก็ได้ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
- คณะกรรมการบริษัท มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่และเลขานุการคณะกรรมการตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการมีอำนาจดูแลและจัดการ ปตท. ให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนนโยบาย หรือแนวทางที่ได้กำหนดไว้
- คณะกรรมการต้องทุ่มเทเวลา และให้ความสำคัญในการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง กลยุทธ์ นโยบายและแผนงานสำคัญของ ปตท. มีการแสวงหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางดังกล่าว รวมถึง มีการพิจารณาถึงประเด็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และกำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริหารจะสามารถนำวิสัยทัศน์ ทิศทาง กลยุทธ์ นโยบายและแผนงานที่กำหนดขึ้นไปปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแข่งขันได้ และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความพร้อมต่อการสนองตอบต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึง สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ตลอดจนให้มีการทบทวนวิสัยทัศน์ ทิศทาง กลยุทธ์ดังกล่าวเป็นประจำทุกปี
- คณะกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาให้ความเห็นชอบกลยุทธ์ นโยบาย และแผนงานที่สำคัญ รวมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายทางการเงินและงบประมาณของ ปตท. ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรที่สำคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
- คณะกรรมการจะต้องกำกับดูแล ควบคุม ติดตาม ทบทวน และดูแลการรายงานผลการดำเนินงาน ของฝ่ายบริหารให้มีการปฏิบัติตามกลยุทธ์และแผนงานที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ รวมถึง การส่งเสริมให้มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการปฏิบัติงานที่เอื้อให้บรรลุพันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ และนโยบายการดำเนินงานของ ปตท.
- คณะกรรมการต้องพิจารณาและอนุมัติรายการที่มีนัยสำคัญตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย ระเบียบ หรืออำนาจดำเนินการของ ปตท. ซึ่งก่อให้เกิดภาระผูกพันต่าง ๆ กับกลุ่ม ปตท. เช่น รายการที่เกี่ยวโยงกัน ธุรกรรมหลักที่มีความสำคัญ เป็นต้น และกระบวนการอนุมัติรายการจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวม รวมถึงสอดส่องดูแลและจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกันที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย
- จัดให้มีระบบบัญชี การรายงานทางการเงิน และการสอบบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งดูแลให้มีกระบวนการในการประเมินความเหมาะสมของการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- จัดให้มีนโยบายหรือข้อกำหนด สำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เกี่ยวกับหลักการและแนวทางการดำเนินงานอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ นโยบายการควบคุมภายใน เป็นต้น รวมถึง กำกับดูแลให้มีการสื่อสารเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนรับทราบอย่างทั่วถึง มีความเข้าใจ มีการนำไปปฏิบัติจริง รวมถึงติดตามและประเมินผลการนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้ง ทบทวนนโยบาย และประสิทธิผลของการนำไปปฏิบัติเป็นอย่างสม่ำเสมอ
- จัดให้มีการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดขึ้น และกำหนดนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) ให้ครอบคลุมทั้ง ปตท. และดูแลให้มีการทบทวนเป็นประจำ โดยควรกำหนดให้ฝ่ายจัดการเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายและรายงานให้คณะกรรมการทราบเป็นประจำ และมีการทบทวนระบบหรือประเมินประสิทธิผลในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงให้ความสำคัญกับสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าและรายการผิดปกติทั้งหลาย ตลอดจนการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากความเสี่ยงดังกล่าว
- จัดให้มีระบบ หรือกลไกการจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารของ ปตท. ที่มีความเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
- คณะกรรมการ ปตท. ต้องมีการประเมินผลตนเองรายปี และประเมินผลคณะกรรมการเฉพาะเรื่องรายปี เพื่อใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของคณะกรรมการ ปตท. และให้เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) ด้วย
- พิจารณามอบหมายอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงานประจำวันให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารจัดการในกิจการของ ปตท. และดูแลให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ ทิศทางการดำเนินกิจการ วัตถุประสงค์ นโยบาย และงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ตลอดจนจัดให้มีการประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่อย่างสม่ำเสมอ
- พิจารณาและอนุมัติการกำหนดค่าตอบแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของ ปตท. ทั้งระยะสั้น และระยะยาว
- จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม และมีการประเมินผลด้านการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่ามีความถูกต้อง ชัดเจน โปร่งใส น่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานสูง
- เป็นผู้นำในเรื่องจริยธรรม เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานที่ดี ปฏิบัติตามกฎหมาย และสอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. รวมถึง ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมของ ปตท. ที่ยึดมั่นในจริยธรรม
- จัดให้มีการปันผลกำไรเมื่อบริษัทมีกำไรพอสมควรและไม่มีการขาดทุนสะสม โดยเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ลงมติต่อไป
- กำหนดกรอบการกำกับดูแลด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม สอดคล้องกับปัจจัยภายในและภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มโอกาสและพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร
- พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
- เกี่ยวกับ ปตท.
- การจัดการองค์กร
- การรับรองคุณภาพ/มาตรฐาน
- รางวัลแห่งความสำเร็จ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เอกสารสำคัญ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายการร้องเรียน
- นโยบายการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท.
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่ม ปตท.
- สารจาก CEO
- แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท.
- การกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร (Compliance)
- หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท.
- คู่มือ
- รายงาน
- การเปิดเผยข้อมูล
- การตรวจสอบภายใน
- เยี่ยมชม
- ศูนย์ความเป็นส่วนตัว