คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ การกำกับดูแลกิจการและการบริหารจัดการที่ดีเลิศ โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน และคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวม มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ จึงได้กำหนดเป็นนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้คณะกรรมการ ปตท. ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้
- คณะกรรมการ ปตท. ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนมุ่งมั่นที่จะนำเอาหลักการสำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. ทั้ง 6 ประการ คือ Accountability, Responsibility, Equitable Treatment, Transparency, Vision to Create Long-term Value และ Ethics มาใช้ในการดำเนินงาน มีโครงสร้างการบริหารที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างคณะกรรมการ ปตท. ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรม
- คณะกรรมการ ปตท. จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเทและรับผิดชอบ มีความเป็นอิสระ และมีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่าง ประธานกรรมการ กับ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ออกจากกันอย่างชัดเจน รวมถึงกำหนดโครงสร้าง องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- คณะกรรมการ ปตท. และผู้บริหาร มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนงานที่สำคัญของ ปตท. พิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบ กำกับ ติดตาม และกำหนด แนวทางการบริหารจัดการตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรที่สำคัญอย่างเหมาะสม รวมทั้งต้องดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าระบบบัญชี รายงานทางการเงิน และการสอบบัญชี มีความน่าเชื่อถือ มีการประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวอย่างยั่งยืน
- คณะกรรมการ ปตท. และผู้บริหาร จะต้องเป็นผู้นำในเรื่องจริยธรรม เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. และสอดส่องดูแลเรื่องการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรายการที่เกี่ยวโยงกัน
- คณะกรรมการ ปตท. อาจแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องขึ้นตามความเหมาะสม เพื่อช่วยพิจารณากลั่นกรองงานที่มีความสำคัญอย่างรอบคอบ
- คณะกรรมการ ปตท. ต้องจัดให้มีการประเมินผลตนเองรายปี เพื่อใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ปตท.
- คณะกรรมการ ปตท. เป็นผู้พิจารณากำหนดคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐาน ทางจริยธรรม และจรรยาบรรณของ ปตท. เพื่อให้คณะกรรมการ ปตท. ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ควบคู่ไปกับข้อบังคับและระเบียบของ ปตท.
- คณะกรรมการ ปตท. ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องจัดให้มีการเปิดเผยสารสนเทศของ ปตท. ทั้งในเรื่องทางการเงินและที่ไม่ใช่เรื่องทางการเงินอย่างเพียงพอ เชื่อถือได้ และทันเวลา เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ปตท. ได้รับสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดให้มีหน่วยงานประชาสัมพันธ์และหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อรับผิดชอบการให้ข้อมูลแก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป
- คณะกรรมการ ปตท. ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องดำเนินการให้ผู้ถือหุ้น ปตท. ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และมีช่องทางที่เหมาะสมในการสื่อสารกับ ปตท. รวมถึงสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้นกับ ปตท.
- คณะกรรมการ ปตท. ต้องจัดให้มีระบบการคัดสรรบุคลากรที่จะเข้ามารับผิดชอบในตำแหน่งบริหารที่สำคัญทุกระดับอย่างเหมาะสม และมีกระบวนการสรรหาที่โปร่งใส เป็นธรรม
- คณะกรรมการ ปตท. ต้องจัดให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตและ คอร์รัปชัน รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
- เกี่ยวกับ ปตท.
- การจัดการองค์กร
- การรับรองคุณภาพ/มาตรฐาน
- รางวัลแห่งความสำเร็จ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เอกสารสำคัญ
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- นโยบายการร้องเรียน
- นโยบายการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท.
- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่ม ปตท.
- สารจาก CEO
- แนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท.
- การกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร (Compliance)
- หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท.
- คู่มือ
- รายงาน
- การเปิดเผยข้อมูล
- การตรวจสอบภายใน
- เยี่ยมชม
- ศูนย์ความเป็นส่วนตัว