การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
![]() ![]() |
การสนับสนุนเครือข่ายด้านความยั่งยืนGRI 2-28
ปตท. ตระหนักดีว่าการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและปลอดภัยอย่างยั่งยืนและสมดุลในทุกมิตินั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและสากลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ปตท. จึงมุ่งเน้นเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนทั้งภายในและภายนอก กลุ่ม ปตท. ทั้งที่เป็นองค์กร สมาคมการค้า สถาบัน องค์กรของรัฐและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยยึดมั่นในนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎหมายกฎ ระเบียบองค์กรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน และคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ในการพิจารณาตัดสินใจให้การสนับสนุน/ ร่วมมือกับพันธมิตรและเครือข่ายดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
จุดยืนและรูปแบบการสนับสนุนเครือข่ายด้านความยั่งยืน
ปตท. กำหนดจุดยืนในการสนับสนุน/ เข้าร่วมเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืน “เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน มุ่งแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างทันท่วงที เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรในระยะยาว รวมทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2583 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 ช่วยควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส” โดยกำหนดรูปแบบของการสนับสนุนเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนด้วยการจ่ายค่าธรรมเนียมสมาชิกเป็นหลักเท่านั้น ไม่มีกิจกรรมหรือการสนับสนุนเพื่อชี้นำทางการเมืองหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด (Lobby) ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินหรือทรัพยากรใด ๆ แก่พรรคการเมืองหรือองค์กรหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองหรืออื่น ๆ นอกเหนือจากการจ่ายภาษีตามหน้าที่และการจ่ายเงินอื่น ๆ ให้กับรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามหลักการและคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ ปตท.
ปตท. มุ่งเน้นพิจารณาให้การสนับสนุนเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนที่มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้
- พัฒนาและส่งเสริมการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีด้านความยั่งยืน สิทธิมนุษยชน และ SSHE ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซและที่เกี่ยวข้อง
- สนับสนุนการดำเนินธุรกิจตามนโยบายและเป้าหมายของประเทศไทย ตลอดจนสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามข้อตกลงปารีสของ ปตท. และประเทศ
การกำกับดูแลการสนับสนุนเครือข่ายด้านความยั่งยืน
ในการพิจารณาตัดสินใจเข้าร่วมในเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืน ปตท. กำหนดให้สายงานผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน รับผิดชอบในการกลั่นกรองและให้ความเห็น
การตัดสินใจเข้าร่วม ติดตามและทบทวน การเข้าร่วมหรือเป็นสมาชิกเครือข่ายด้านความยั่งยืน โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์และกิจกรรมการดำเนินงานของเครือข่ายว่ายังสอดคล้องหรือเบี่ยงเบนไปจากจุดยืนในการสนับสนุน/ เข้าร่วมเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนของ ปตท. หรือไม่ และเสนอต่อคณะกรรมการฯ หรือผู้บริหารที่มีอำนาจในการเห็นชอบตามที่กำหนดเป็นประจำทุกปี
รายการสนับสนุนเครือข่ายด้านความยั่งยืน
ในปี 2565 ปตท. ทำการทบทวนรายการเครือข่ายและพันธมิตรในระดับประเทศและสากล ทั้งในรูปแบบองค์กร สมาคมการค้า สถาบัน องค์กรของรัฐและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ที่ ปตท. เข้าร่วมและเป็นสมาชิก พบว่า ทุกรายการยังคงมีวัตถุประสงค์และมีการดำเนินโครงการ/ กิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดยืนและเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืน ตลอดจนการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามข้อตกลงปารีสของ ปตท. ดังนี้
ความร่วมมือเครือข่ายและพันธมิตรด้านความยั่งยืนในระดับประเทศและสากลGRI 2-28
เครือข่าย/ พันธมิตร |
ระดับ |
วัตถุประสงค์ของเครือข่ายและพันธมิตร |
บทบาทของ ปตท. และการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2565 |
---|---|---|---|
![]() สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Federation of Thai Industries: F.T.I.) |
ประเทศ |
|
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก และร่วมในคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม |
![]() |
ประเทศ |
|
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก และร่วมในคณะกรรมการเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย |
![]() (World Business Council for Sustainable Development: WBCSD) |
สากล |
|
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ |
![]() สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (Petroleum Institute of Thailand: PTIT) |
ประเทศ |
|
ปตท. เป็นสมาชิก และเข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม และ
|
![]() |
ประเทศ |
|
|
|
ประเทศ |
|
|
![]() |
สากล |
|
|
![]() |
ประเทศ |
|
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก โดยมี
|
![]() |
สากล |
|
|
|
ประเทศ |
|
|
|
ประเทศ |
|
|
|
สากล |
|
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก โดยเป็นสมาชิกหลักในนามกลุ่ม ปตท. |
![]() สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน |
ประเทศ |
|
ปตท. ร่วมเป็นสมาชิก และดำรงตำแหน่ง ดังนี้
|
![]() (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) |
ประเทศ |
|
ปตท. เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเภทองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก(Climate Action Leading Organization) และได้รับการรับรองภายใต้โครงการริเริ่ม Climate Neutral Now ภายใต้สำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยมี
|
ค่าสมาชิกเครือข่ายและพันธมิตรที่ ปตท. เข้าร่วมเป็นสมาชิกGRI 2-28, GRI 415-1
ในปี 2565 จำนวนค่าสมาชิก 5 อันดับแรก ได้แก่ สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
องค์กร | ประเภท | ค่าสมาชิก / ค่าการสนับสนุนทางการเมือง (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|
2562 | 2563 | 2564 | 2565 | ||
การสนับสนุนทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการการล็อบบี้ การเป็นตัวแทนผลประโยชน์ | Contributions in Lobbying, interest representation or similar | 0 | 0 | 0 | 0 |
การสนับสนุนทางการเงินในแคมเปญทางการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับชาติ / องค์กร / ผู้สมัคร | Contributions in Local, regional or national political campaigns / organizations / candidate | 0 | 0 | 0 | 0 |
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (F.T.I.) | สมาคมการค้า | 241,820 | 370,220 | 359,520 | 363,520 |
หอการค้าไทย | สมาคมการค้า | 24,610 | - | 24,610 | 24,610 |
สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) | อื่น ๆ | 2,484,928 | 2,733,232 | 3,201,138 | 3,434,895 |
สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) | อื่น ๆ | 4,263,128 | 3,644,500 | 4,139,536 | 3,973,736 |
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) | อื่น ๆ | 1,605,000 | 535,000 | 535,000 | 535,000 |
สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (Thai LCA) | อื่น ๆ | 7,490 | 26,750 | 26,750 | 26,750 |
สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) | สมาคมการค้า | 6,495,660 | 6,495,660 | 6,495,660 | 7,616,869 |
องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) | อื่น ๆ | 250,000 | 500,000 | 500,000 | 250,000 |
ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) | อื่น ๆ | 609,164 | 620,794 | 595,046 | 653,798 |
สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (RE100) | อื่น ๆ | - | - | - | 55,350 |
รวม | 17,981,800 | 16,926,156 | 17,877,260 | 16,934,528 |
ความร่วมมือเครือข่ายภาคพลังงานในประเทศGRI 2-28
ตามที่ ปตท. ได้ร่วมจัดทำข้อเสนอและนำเสนอในการประชุมนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพลังงาน นั้น ปตท. ยังมุ่งเน้น และให้ความสำคัญกับการสนับสนุนเป้าหมาย และมาตรการของประเทศไทย โดยการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้เร็วกว่าประเทศ และกำหนดแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ การปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไฮโดรเจน
ในปี 2565 ปตท. ในฐานะองค์กรพลังงานของไทย ได้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และเครือข่ายความยั่งยืน (เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย) ในการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC) เพื่อแบ่งปัน ถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 3,058,000 บาท
บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ: การพัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi)
จากการเข้าร่วมในเครือข่ายด้านความยั่งยืนของสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ข้างต้น ปตท. ยังประสบความสำเร็จในการริเริ่มสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) ณ พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ให้มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่สมบูรณ์ เป็นศูนย์การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงของประเทศที่สามารถต่อยอดสู่การใช้งาน โดยได้รับการสนับสนุนในการประกาศผังเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และได้รับการสนับสนุนเรื่องสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment of Thailand: BOI) โดยมีพันธมิตรที่สำคัญ ได้แก่
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วางแผน พัฒนาและบริหารพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์นวัตกกรม (EECi Headquarter) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการวิจัยและนวัตกรรมครบวงจรของประเทศใน 4 ด้านประกอบด้วย
- โครงการวิจัยงานด้าน BIOPOLIS การพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจฐานชีวภาพ
- โครงการวิจัยงานด้าน ARIPOLIS การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และ Intelligence System
- โครงการวิจัยงานด้าน SPACE INNOPOLIS การพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยาน เทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศจากการเป็นศูนย์กลางและฐานการผลิต
- โครงการวิจัยงานด้าน FOOD INNOPOLIS การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
- กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ตั้งสนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (CAV Proving Ground) สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคต (Future Mobility) เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการทดสอบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- บริษัท โกลบอล พาวเวอร์ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) พัฒนา ออกแบบและบริหารจัดการระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Renewable Energy) รวมทั้งการวางแผนและบริหารจัดการพลังงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์อย่างมีประสิทธิภาพ
- บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอน์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (WHAUP) ดำเนินกิจการบำบัดน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใน
การรดน้ำต้นไม้ในโครงการ รองรับผู้ใช้งานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยีด้านการบำบัดน้ำเสียให้ผู้ที่สนใจต่อไปได้ในอนาคต - บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (Eastwater) ดำเนินกิจการกิจการผลิตและให้บริการน้ำประปาในพื้นที่โครงการ
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุญาตให้ ปตท. เป็นผู้ประสานงานพื้นที่กำกับดูและเป็นการเฉพาะโดยมีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาและทดสอบนวัตกรรม (Regulatory Sandbox) ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์
- สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กำกับ ดูแลกฎระเบียบ ข้อกำหนดและเป็นผู้อนุญาตในการดำเนินงานทดสอบทดลองเกี่ยวกับอากาศยาน ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนาสำหรับอากาศยานไร้คนขับ “UAV Regulatory Sandbox” หรือการอนุญาตให้สามารถบินโดรนเพื่อการวิจัยนวัตกรรมได้ในพื้นที่ของวังจันทร์วัลเลย์เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ
- บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ตั้ง PTTEP Technology & Innovation Center (PTIC) สำหรับงานวิจัยนวัตกรรม พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการสนับสนุนธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robotic) และเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรและการเรียนรู้ของ ปตท.สผ.
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จัดทำโครงการต้นแบบร่วมกันในการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าในพื้นที่ EECi ให้มีประสิทธิภาพโดยเริ่มจากโครงการนำร่องบนพื้นที่ EECi
- สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน สร้าง “โครงการเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน” ที่ระดับพลังงาน 3 GeV สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน การวิเคราะห์คุณสมบัติของอะตอม โมเลกุล ใช้พัฒนาสำหรับวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นต้น
- บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (DTAC) สนับสนุนการใช้งานระบบ “5G Playground” เพื่อการทดลอง ทดสอบนวัตกรรมที่จำเป็นต้องใช้โครงข่าย 5G เช่น อุปกรณ์ IoT ต่างๆ หรือระบบอุตสาหกรรมอัจฉริยะในหลากหลายรูปแบบ
ปตท. อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทพันธมิตรที่หลากหลายในการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการพัฒนาคนและการศึกษา พร้อมทั้งแสวงหาโอกาสความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจต่อไป
ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact: UNGC)
ปตท. เข้าร่วมเป็นสมาชิกของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อสนับสนุนหลักการ 10 ประการของ UNGC ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต ในฐานะสมาชิก ปตท. ได้จัดส่งรายงานความก้าวหน้าประจำปี (Communication on Progress: COP) หรือรายงานความยั่งยืนประจำปี ให้ UN Global Compact เพื่อเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
กลุ่ม ปตท. บริหารจัดการความยั่งยืนไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของ ปตท. ในการกำกับดูแลและดำเนินงานตามแนวทางของมาตรฐานการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. เพื่อสนับสนุนหลักการ 10 ประการของ UN Global Compact
หลักการ 10 ประการของ UN Global Compact
สิทธิมนุษยชน
หลักการที่ 1: สนับสนุนและเคารพการปกป้องสิทธิมนุษยชนตามที่ประกาศใช้ในระดับสากล
หลักการที่ 2: หมั่นตรวจตราดูแลมิให้ธุรกิจของตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน
มาตรฐานแรงงาน
หลักการที่ 3: ส่งเสริมสนับสนุนเสรีภาพในการรวมกลุ่มของพนักงานและการรับรองสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองอย่างจริงจัง
หลักการที่ 4: ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเกณฑ์ และแรงงานที่ใช้การบังคับในทุกรูปแบบ
หลักการที่ 5: ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง
หลักการที่ 6: ส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทาง เพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ
สิ่งแวดล้อม
หลักการที่ 7: สนับสนุนแนวทางการป้องกันในการดำเนินงานที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หลักการที่ 8: จัดทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการยกระดับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
หลักการที่ 9: ส่งเสริมการพัฒนาและการเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การต่อต้านการทุจริต
หลักการที่ 10: ดำเนินงานเพื่อต่อต้านการทุจริต การกรรโชก และการให้สินบนทุกรูปแบบ
กรายงานความก้าวหน้าประจำปี (COMMUNICATION ON PROGRESS: CoP) 2565
Criterion | Description | Page |
---|---|---|
1 | The CoP describes mainstreaming into corporate functions and business units. | |
2 | The CoP describes value chain implementation. | |
3 | The CoP describes robust commitment, strategies or policies in the area of human rights. | |
4 | The CoP describes effective management systems to integrate the human rights principles. | |
5 | The CoP describes effective monitoring and evaluation mechanisms of human rights integration. | |
6 | The CoP describes robust commitment, strategies or policies in the area of labor. | |
7 | The CoP describes effective management systems to integrate the labor principles. | |
8 | The CoP describes effective monitoring and evaluation mechanisms of labor principles integration. | |
9 | The CoP describes robust commitment, strategies or policies in the area of environmental stewardship. | |
10 | The CoP describes effective management systems to integrate the environmental principles. | |
11 | The CoP describes effective monitoring and evaluation mechanisms for environmental stewardship. | |
12 | The CoP describes robust commitment, strategies or policies in the area of anti-corruption. | |
13 | The CoP describes effective management systems to integrate the anti-corruption principles. | |
14 | The CoP describes effective monitoring and evaluation mechanisms for the integration of anti-corruption. | |
15 | The CoP describes core business contributions to UN goals and issues. | |
16 | The CoP describes strategic social investments and philanthropy. | |
17 | The CoP describes advocacy and public policy engagement. | |
18 | The CoP describes partnership and collective action. | |
19 | The CoP describes CEO commitment and leadership. | |
20 | The CoP describes Board adoption and oversight. | |
21 | The CoP describes stakeholder engagement. |