การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
![]() ![]() ![]() ![]() |
โอกาสและความท้าทาย
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการอุปโภคบริโภค และมีความจำเป็นทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร ในปัจจุบันความต้องการใช้น้ำมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของชุมชนเมือง รวมถึงความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ภาวะน้ำท่วม หรือแม้แต่มลพิษทางน้ำ ดังนั้นกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัว พัฒนานวัตกรรม และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำให้ดียิ่งขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
ปตท. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ จึงได้กำหนดให้เป็นหนึ่งในประเด็นด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมตั้งแต่การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การลดปริมาณการใช้น้ำและการนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมถึงการสร้างความตระหนักในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิการใช้น้ำของชุมชน อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางการการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย
แนวทางการจัดการ
การจัดการทรัพยากรน้ำGRI 303-1, GRI 303-2
ปตท. ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยกำหนดให้การบริหารจัดการน้ำเป็นหนึ่งในความเสี่ยงระดับธุรกิจ และได้กำหนดให้มีการดำเนินงานเพื่อติดตาม ประเมิน คาดการณ์และรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกที่เคยเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเมื่อปี 2548 อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสายการผลิตหลักที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ด้วยการจัดตั้งคณะทำงานบริหารจัดการน้ำกลุ่ม ปตท. (PTT Group Water Management Team) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำและระบบสาธารณูปการของบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินด้านการบริหารจัดการน้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในกรณีเกิดภัยแล้ง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ คณะทำงานบริหารจัดการน้ำกลุ่ม ปตท. ยังได้ดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) แผนการบริหารจัดการน้ำทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันให้เกิดความร่วมมือและแบ่งปันแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เป็นเลิศ โดยมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกองค์กร ดังนี้
ประเภท | ดำเนินกิจกรรมเพื่อการบริหารจัดการน้ำ |
---|---|
การบริหารจัดการความเสี่ยงภายนอกองค์กร |
|
การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร |
|
หมายเหตุ:
นโยบายภาครัฐและกฎหมาย ความเสี่ยงด้านสังคม เป็นต้น
• การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร เช่น การควบคุมและติดตามปริมาณน้ำใช้ การติดตามคุณภาพน้ำทิ้งจากระบบบำบัด เป็นต้น
• ปัจจุบัน GC และ TOP มีการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลด้วยระบบที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิต และอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายกำลังการผลิตน้ำ
จืดจากน้ำทะเลเพื่อลดการพึ่งพาการใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ
นอกจากนี้ ปตท. ยังได้ตระหนักถึงผลกระทบของคุณภาพน้ำทิ้งจากสถานประกอบการของตนเองต่อชุมชนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม โดยได้ควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560 และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด พ.ศ. 2548 เป็นต้น รวมทั้งควบคุมให้เป็นไปตามที่ระบุในมาตรการแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ (Environmental Impact Assessment: EIA) เฉพาะของสถานประกอบการนั้น ๆ
ปตท. มุ่งมั่นยกระดับประสิทธิภาพการใช้น้ำ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการด้าน SSHE มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายระยะยาวและประจำปี ควบคุมการดึงน้ำมาใช้ทั้งในภาคผลิตและอาคารสำนักงาน โดยมุ่งเน้นนำกลับมาใช้ใหม่/ นำมาใช้ซ้ำให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการติดตามตรวจวัดและรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมายให้ผู้บริหารแต่ละพื้นที่/ สายงาน ทบทวนประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป้าหมาย SSHE ซึ่งมีการรายงานตามโครงสร้างกำกับดูแลที่กำหนด เป็นรายไตรมาส
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
สรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานของ ปตท.
ร้อยละของปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่และนำกลับมาใช้ซ้ำ ต่อปริมาณดึงน้ำ (น้ำจืด) ทั้งหมดของ ปตท.
ปี | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 |
---|---|---|---|---|
ผลการดำเนินงาน | 6.41 | 9.18 | 7.62 | 6.32 |
ปริมาณน้ำกักเก็บสำหรับพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท. จังหวัดระยอง
(ล้านลูกบาศก์เมตร)
![]() |
หมายเหตุ:
ขอบเขตข้อมูลครอบคลุมอ่างเก็บน้ำ 3 แห่งหลักในพื้นที่จังหวัดระยอง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่
ปริมาณการดึงน้ำทั้งหมดของ ปตท. ในปี 2564 (ลูกบาศก์เมตร)
น้ำผิวดิน | น้ำทะเล | น้ำประปา | น้ำใต้ดิน | น้ำฝน |
---|---|---|---|---|
23,550 | 83,247 | 1,754,194 | 33,177 | 116,550 |
ปริมาณการดึงน้ำรวมของ ปตท. (ล้านลูกบาศก์เมตร) |
|
![]() |
สรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท.
ปริมาณการดึงน้ำจืด (ล้านลูกบาศก์เมตร) |
ปริมาณการใช้น้ำจืด (ล้านลูกบาศก์เมตร) |
![]() |
![]() |
หมายเหตุ: ขอบเขตข้อมูลครอบคลุม ปตท. และบริษัทในกลุ่ม (GC, IRPC, GPSC, PTTEP, TOP, OR)
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและค่าเสียโอกาส (เช่น รายได้ที่เสียไป)
จากเหตุละเมิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ (บาท)
ปี | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 |
---|---|---|---|---|
ค่าใช้จ่าย | 0 | 0 | 0 | 0 |
ตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมที่สำคัญ
กลุ่ม ปตท. ได้มีการดำเนินโครงการและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในการจัดหาน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับต่อความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนี้
โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Greywater RecycleSDGs 6.3, 6.4, 6.5, 6.a
ปตท. ได้จัดทำโครงการศึกษาและพัฒนาโครงการนวัตกรรมต้นแบบ Greywater Recycle สำหรับนำน้ำที่ผ่านการใช้แล้วจากการล้างมือ มาบำบัดและนำกลับมาใช้กับสุขภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยได้มีการดำเนินโครงการนำร่องในพื้นที่ ปตท. สำนักงานใหญ่ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าว สามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 30 ลิตรต่อชั่วโมง และมีคุณภาพน้ำผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน US EPA Guideline
![]() |
|
น้ำที่ผ่านการบำบัดโดยนวัตกรรม Grey Water Recycle Prototype |
งานโครงการศึกษาวิจัยคาดการณ์แนวโน้มสภาพน้ำต้นทุนเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ภาคตะวันออกSDGs 6.3, 6.4, 6.5, 6.a, 17
คณะทำงานการบริหารจัดการน้ำกลุ่ม ปตท. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำและคาดการณ์แนวโน้มทรัพยากรน้ำต้นทุนในอนาคตโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาดการณ์สภาพอากาศระยะยาวร่วมกับแบบจำลองทางอุทกวิทยา เพื่อประเมินแนวโน้มปริมาณน้ำต้นทุนอ่างเก็บน้ำหลักในพื้นที่จังหวัดระยองล่วงหน้าในระยะ 6 เดือน 1 ปีและ 20 ปี และพบว่าหากไม่มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่อย่างเหมาะสมอาจทำให้ความเสี่ยงการใช้น้ำของบริษัทในกลุ่ม ปตท. อยู่ในระดับปานกลางหรือสูง ดังนั้น คณะทำงานจึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะทำงานการบริหารจัดการน้ำของภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานราชการ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกและผู้แทนจากภาคเอกชน เพื่อติดตามสถานการณ์ ประเมินความเสี่ยง วิเคราะห์สถานการณ์น้ำในระดับลุ่มน้ำและกำหนดมาตรการต่าง ๆ จากการดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือของหลายหน่วยงาน ทำให้ในปี 2564 สถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกอยู่ในเกณฑ์ดี อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่าร้อยละ 90 ของความจุ ส่งผลให้ในปี 2564 – 2565 คาดว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอกับทุกภาคส่วน ไม่เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะการใช้น้ำในภาคเกษตรกรรม ประมง อุตสาหกรรมและการใช้น้ำในการดำเนินธุรกิจปกติของกลุ่ม ปตท. รวมถึงไม่เกิดปัญหาการแย่งน้ำและไม่กระทบสิทธิการใช้น้ำของชุมชน
งานส่งเสริมการประเมินการใช้น้ำตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) ตามมาตรฐาน ISO 14046SDGs 6.5, 6.a
สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ริเริ่มโครงการประเมินการใช้น้ำตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) เพื่อส่งเสริมมาตรฐาน ISO 14046 ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากคณะทำงานการบริหารจัดการน้ำ กลุ่ม ปตท. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเทคนิคในการกำหนดมาตรฐานการประเมิน และให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคกับบริษัทในกลุ่ม ปตท.เพื่อเข้าร่วมโครงการจนผลิตภัณฑ์ของ GC และ GPSC ได้รับการรับรองฉลาก Water Footprint จากการดำเนินงานในบริษัทนำร่องส่งผลให้เกิดการพัฒนาฐานข้อมูลการใช้น้ำที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อขยายผลต่อไปยังบริษัทอื่น ๆ ในกลุ่ม ปตท. ต่อไป
ในปี 2564 กลุ่ม ปตท. ยังคงดำเนินการตามมาตรการและแนวทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่า การใช้น้ำของกลุ่ม ปตท. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
งานติดตามผลักดันการดำเนินมาตรการป้องกันการขาดแคลนน้ำ ในปี 2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มกราคม 2564)SDGs 6.4, 6.a
สถานการณ์น้ำภาคตะวันออกและสรุปผลการบริหารจัดการ ปี 2564
การติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกพบว่า อ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ 220.16 ล้านลูกบาศก์เมตร (คิดเป็น 74.6%) ในขณะที่ 3 อ่างเก็บน้ำหลักของ จ.ระยอง ซึ่งประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำดอกกราย และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ 242.74 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 88.2% ซึ่งเมื่อพิจารณาสถานการณ์น้ำตลอดปี 2564 พบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง และ 3 อ่างเก็บน้ำหลักของ จ.ระยอง มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ และมีปริมาณน้ำกักเก็บสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี
ทั้งนี้ในปี 2564 คณะทำงาน PTT group water supply management ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้ดำเนินงานตามมาตรการผันน้ำเพื่อป้องกันภัยแล้งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยสรุปผลการดำเนินงานของโครงการเพิ่มน้ำในพื้นที่ จ.ระยอง (อ่างฯ หนองปลาไหล อ่างฯคลองใหญ่ และอ่างฯประแสร์) และพื้นที่ จ.ชลบุรี (อ่างฯบางพระ อ่างฯ หนองค้อ) ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ได้ดังนี้
1. ดำเนินโครงการผันน้ำคลองสะพานเติมอ่างเก็บน้ำประแสร์ โดยกรมชลประทาน เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีปริมาณสูบน้ำตามแผน 18 ล้านลูกบาศก์เมตร และผลการสูบน้ำสะสม 9.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้หยุดการสูบน้ำ
2. การสูบผันน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์เติมอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล โดยบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ East Water เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีปริมาณสูบน้ำตามแผน 22 ล้านลูกบาศก์เมตร และผลการสูบน้ำสะสม 22.05 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้หยุดการสูบน้ำ
3. การสูบผันน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์เติมอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ โดยบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ East Water และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ ซึ่งมีปริมาณสูบน้ำตามแผน 40 ล้านลูกบาศก์เมตร และผลการสูบน้ำสะสม 2.35 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้หยุดการสูบน้ำ
4. การสูบน้ำจากคลองน้ำหูเข้าสู่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นการสูบน้ำตามระดับน้ำของคลองน้ำหู และมีผลการสูบน้ำสะสม 6.35 ล้านลูกบาศก์เมตร
5. การสูบน้ำจากโครงการพระองค์ไชยานุชิต-อ่างฯบางพระ โดย กปภ.ในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีปริมาณสูบน้ำตามแผน 40 ล้านลูกบาศก์เมตร และผลการสูบน้ำสะสม 43.88 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้หยุดการสูบน้ำ
6. การสูบน้ำจาก น.บางปะกง-อ่างฯบางพระ โดย East Water ในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีปริมาณสูบน้ำตามแผน 22 ล้านลูกบาศก์เมตร และผลการสูบน้ำสะสม 17.88 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้หยุดการสูบน้ำ
การติดตามผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำระยาว โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและเป็นไปตามแผน
- อ่างฯ คลองพะวาใหญ่ จ.จันทบุรี (ปี 2560-2566)
- อ่างฯ คลองหางแมว จ.จันทบุรี (ปี 2560-2566)
- ปรับปรุงเครือข่ายน้ำอ่างฯคลองใหญ่- อ่างฯ หนองปลาไหล (ปี 2562-2565)
- ปรับปรุงคลองพานทอง- อ่างฯบางพระ (ปี 2561-2566)
- โครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (ปี 2564) กำหนดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการในเดือน ก.พ. 2565
การบริหารจัดการน้ำตามหลัก 3RsSDGs 6.3, 6.6, 6.a, 12.2, 12.4, 12.5
- การเปลี่ยนระบบน้ำหล่อเย็นที่โรงไฟฟ้าจากระบบเปิดเป็นระบบปิด ทำให้สามารถลดการใช้น้ำ
- โครงการนำพลังงานความร้อนที่เหลือจากหม้อไอน้ำทิ้ง (Blow-down Tank) มาใช้ เช่น การลดปริมาณการใช้น้ำหล่อเย็นที่ใช้ในการลดอุณหภูมิก่อนปล่อยสู่บ่อบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งนำน้ำระบายทิ้ง (Blow-down Water) มารดน้ำต้นไม้
- โครงการ Reverse Osmosis Intermediated เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ในการหล่อเย็น เพื่อใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- โครงการนำน้ำ Condensate กลับมาใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำ
- โรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 5 มีการนำน้ำทิ้งที่เกิดจากกระบวนการ Dehydration มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนำมาใช้ทดแทนเป็นน้ำ Make up ในกระบวนการ Acid Gas Removal Unit (AGRU) ช่วยลดปริมาณน้ำ Make up ได้ 17,500 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
- โครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Desalination) ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สามารถลดการใช้น้ำได้ถึงร้อยละ 10-20
- การศึกษาความเป็นไปได้ของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยระบบ Eco Industrial ซึ่งจะดึงน้ำทิ้งซึ่งผ่านการบำบัดแล้ว กลับมาเป็นน้ำที่สามารถใช้ได้ใหม่อีกครั้ง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำให้แก่กลุ่ม ปตท.
- การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมระบบ Greywater Recycle Prototype เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดการใช้น้ำด้วยการนำน้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยระบบดังกล่าว สามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 30 ลิตรต่อชั่วโมง และมีคุณภาพน้ำผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน US EPA Guideline
การกำหนดเป้าหมายควบคุมและติดตามการดึงน้ำจืด (Freshwater Withdrawal) ของกลุ่ม ปตท.SDGs 6.4, 6.a, 12.2
- ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้ร่วมกันศึกษาและกำหนดเป้าหมายควบคุมและติดตามการดึงน้ำจืด (Freshwater Withdrawal) ของกลุ่ม ปตท. โดยกำหนดให้มีปริมาตรไม่เกิน 74 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2565
การคาดการณ์ความเสี่ยงการใช้น้ำของบริษัทในกลุ่ม ปตท. โดยใช้เครื่องมือ AQUEDUCT, WBCSD Global Water Tool และ Water deprivationSDGs 6.4
- จากการคาดการณ์ความเสี่ยงการใช้น้ำของกลุ่มบริษัท ปตท. เลือกพิจารณาบริเวณภาคตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งหลักของกลุ่มบริษัทฯ โดยใช้เครื่องมือ AQUEDUCT พบว่าในปี 2564 ความเสี่ยงอยู่ในระดับกลางถึงสูง ถ้ากรณียังดำเนินการแบบ BAU ในปี 2573 และปี 2583 ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นขนาด 1.4 เท่าของค่าเดิม ซึ่งส่งผลให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง-สูง