การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
![]() |
การกำกับดูแลกิจการที่ดีGRI2-15
ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปตท. ตระหนักถึงพันธกิจที่สำคัญในการบริหารและการกำกับดูแลจัดการที่ดี โปร่งใส รวมถึงความเสมอภาคต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างสมดุล โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นต้นแบบด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมทั้งหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจและแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ด้วยเชื่อมั่นว่า หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นระบบบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรม สร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมถึงทำให้ ปตท. มีการจัดการที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของ ปตท. ให้เติบโตอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond” และสิ่งสำคัญอีกประการคือ การเป็นองค์กรที่มีการดำเนินงานอย่างซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันและพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันที่ดี ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน สถาบันการเงิน และพันธมิตรทางธุรกิจ ในการดำเนินธุรกิจร่วมกันอันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น และประโยชน์ที่สมดุลร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
การควบคุมภายในและการจัดการความเสี่ยง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินงานของ ปตท. ว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเชื่อถือได้ รวมถึงมีการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง มีการควบคุมภายในที่เพียงพอเหมาะสมกับระดับความเสี่ยง ให้ความสำคัญกับการประเมินการควบคุมภายในทั้งระดับองค์กร และระดับกระบวนการ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากลเรื่องการควบคุมภายใน และการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมถึงแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทั้งนี้ ปตท. ได้จัดทำสรุปการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในส่งหน่วยงานกำกับดูแลเป็นประจำทุกปี
คณะกรรมการ ปตท. ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ ปตท. เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารจัดการที่ดีเลิศ โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างเสมอภาค จึงกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้ ปตท. ยึดมั่นการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานจริยธรรม
จรรยาบรรณธุรกิจ และมาตรฐานการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. มุ่งพัฒนาและยกระดับระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้มีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการ ปตท. ตระหนักดีว่า การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและมีจริยธรรมเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร
แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า ปตท.
คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ ปตท. (Corporate Governance, Ethical Standards and Code of Business Ethics Handbook) หรือคู่มือ CG เป็นแนวทางปฏิบัติงานตามหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจที่ดี ซึ่งบุคลากรของ ปตท. ต้องยึดถือเป็นกรอบในการปฏิบัติงาน และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยครอบคลุมถึงแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการที่ดี การตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน การเสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล การสรรหาและพัฒนาผู้บริหารและการบริหารบุคลากร การส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ การดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม การรักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วนและรอบด้าน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น รวมถึงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ โดยอธิบายถึงการเคารพกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนสากล การป้องกันการฟอกเงิน การเป็นกลางทางการเมือง การป้องกันการมีส่วนได้ส่วนเสีย ความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน การรักษาความลับ การเก็บรักษาข้อมูลและการใช้ข้อมูลภายใน การปฏิบัติต่อลูกค้าและผู้บริโภค การปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า การจัดซื้อจัดหาและการปฏิบัติต่อคู่ค้า ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยรวม การปฏิบัติต่อพนักงาน การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
การรับและการให้ของขวัญ การเลี้ยงรับรอง หรือประโยชน์อื่นใด ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินทางปัญญาและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารอย่างมีความรับผิดชอบ การร้องเรียนการละเมิดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และการปฏิบัติตามนโยบายงดรับของขวัญ โดยขอความร่วมมือผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนงดการมอบของขวัญแก่บุคลากรของ ปตท. ในทุกเทศกาล ทั้งนี้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับต้องลงนามรับทราบและถือปฏิบัติคู่มือ CG เพื่อแสดงถึงพันธสัญญาในการรับหลักปฏิบัติที่ดีเป็นแนวทางดำเนินงาน คู่มือ CG จึงเปรียบเหมือนธรรมนูญที่ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ทุกคนต้องยึดถือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน ทำหน้าที่มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการและการควบคุมภายใน การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน การบริหารจัดการความยั่งยืน และการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ ปตท. มีการรณรงค์ส่งเสริมและให้ความสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างจริงจัง โดย ปตท. จัดให้มีคณะกรรมการจัดการการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎระเบียบองค์กร (Governance Risk and Compliance Management Committee: GRCMC) โดยมีผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน ฝ่ายกำกับดูแลและส่งเสริมธรรมาภิบาลทำหน้าที่กำหนดแผนปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริตของ ปตท. ประจำปี และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน และคณะกรรมการ ปตท.
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการต่างๆ ตามนโยบาย ผ่านการจัดกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้อง เช่น กิจกรรม GRC Camp, กิจกรรม PTT Group CG Day, การสื่อความ CG Tips, CG Do & Don’t, GRC PODCAST, GRC Short VDO, GRC Lesson Learned ผ่านอีเมลภายใน และระบบ “CG Intranet” รวมถึงการจัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ได้แก่ หลักสูตร COSO-Fraud Risk Management หลักสูตร Operation Risk and Internal Control Workshop หลักสูตรหลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. และการสื่อความกับทุกสายงานทั่วทั้ง ปตท. เกี่ยวกับคู่มือ CG ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 นอกจากนี้ ยังกำหนดให้การปฏิบัติตามคู่มือ CG และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงานประจำปีในด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (Behavior KPIs) โดยเชื่อมโยงผ่านค่านิยมองค์กร
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
การสื่อสารและเน้นย้ำอย่างสม่ำเสมอ เรื่องหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ ปตท. เป็นองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ลดความเสี่ยงในการละเมิดจริยธรรม ผ่านกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
- การอบรมเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ เช่น การอบรมและสื่อความหัวข้อการกำกับดูแลกิจการที่ดีและต่อต้านการทุจริต รวมถึงหลักสูตรอื่น ๆ ให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน ได้แก่ หลักสูตร COSO-Fraud Risk Management,หลักสูตร Operation Risk and Internal Control Workshop, หลักสูตรหลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. และหลักสูตรการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (TBU Pre-Career) เพื่อให้ความรู้และนำไปสู่การปฏิบัติที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และแนวปฏิบัติที่ดีในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- การสื่อความกับผู้บริหาร และพนักงานทั้ง 13 สายงานทั่ว ปตท. เกี่ยวกับคู่มือ CG ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและรายละเอียดของคู่มือ CG ฉบับใหม่ และเน้นย้ำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ ปตท. มาตรการตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. และสื่อความเกี่ยวกับ
การควบคุมภายในตามแนวทาง COSO เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติที่ดีได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม - การสื่อความผ่านช่องทางต่าง ๆ และกิจกรรมสัมมนา เช่น การจัดทำคลิปวิดีโอสัมภาษณ์ กรรมการ ปตท. และผู้บริหาร เป็นต้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร รวมไปถึงการเน้นย้ำแนวปฏิบัติตามหลัก CG และมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
- กิจกรรม GRC Camp ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 เพื่อสื่อความเน้นย้ำ พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจในการนำหลักการด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ให้แก่ผู้บริหาร และพนักงาน โดยในปี 2565 ได้จัดกิจกรรมในรูปแบบ Hybrid โดยมีผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมการเสวนาแบ่งปันความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดำเนินงานด้าน GRC ของหน่วยธุรกิจ ในหัวข้อ “Trust” & “Inspired” by Digital Integrity เพื่อให้พนักงาน สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานและร่วมกันสร้างคุณค่าในฐานะบริษัทที่มีธรรมาภิบาล ส่งเสริม Integrity Culture ของ ปตท. ให้เข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจของ ปตท. ทั้งในและต่างประเทศ ไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
- กิจกรรม PTT Group CG Day ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 โดย ปตท. ได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการของบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. โดยแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี กลุ่ม ปตท. ซึ่งมีเป้าหมายในการยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินงาน และแนวทางการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผ่านกิจกรรม “PTT Group CG Day” อย่างต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์ ส่งเสริม และเผยแพร่การดำเนินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้แก่ PTT, PTTEP, GC, TOP, IRPC, GPSC และ OR ไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ก.ล.ต. ตลท. สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย มูลนิธิต่อต้านการทุจริต สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รวมถึง คู่ค้า คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานกลุ่ม ปตท. เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
ความเข้าใจเรื่อง CG ของพนักงาน (ร้อยละ) |
![]() |
ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน (ร้อยละ) |
![]() |
การจัดการข้อร้องเรียนGRI2-26
กระบวนการและช่องทางรับข้อร้องเรียน
ปตท. มีนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนและการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนภายใต้กรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ชัดเจน เสมอภาค โปร่งใส รักษาความลับ และคุ้มครองปกป้องผู้ร้องเรียนหรือพยาน ผู้ร้องเรียนสามารถติดตามสถานะของการจัดการกับเรื่องร้องเรียนผ่านระบบข้อร้องเรียน และแรงงานสัมพันธ์ ปตท. ยังมีการจัดช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนสำหรับกรณีการละเมิดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจสำหรับบุคคลภายนอก ได้แก่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 1365 Contact Center ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายกำกับดูแลและส่งเสริมธรรมาภิบาล และฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์นอกจากนี้ ปตท. ได้มีช่องทาง “แจ้งเบาะแสการทุจริต” ที่หน้าเว็บไซต์ www.pttplc.com และ “PTT Voice” (pttvoice@pttplc.com) เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากพบเห็นการฝ่าฝืนหรือการกระทำทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร ข้อมูลนี้จะถูกส่งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด โดย ปตท. ได้ทบทวนและปรับปรุง ข้อกำหนดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าด้วย การร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต การทุจริตต่อหน้าที่ การประพฤติมิชอบ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร พ.ศ. 2565 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต การทุจริตต่อหน้าที่ การประพฤติมิชอบ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร (Whistleblowing) เพื่อให้มีแนวทางในการกำกับดูแลและ
การสืบสวน สอบสวนที่ชัดเจน โปร่งใสและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กรอีกทั้งมีมาตรการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเบาะแสที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อกำหนดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าด้วย การร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต
การทุจริตต่อหน้าที่การประพฤติมิชอบและการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร พ.ศ. 2565
ในปี 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนตามช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริต การทุจริตต่อหน้าที่ การประพฤติมิชอบ และการไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย กฏระเบียบองค์กรโดยเป็นของ ปตท. รวม 27 เรื่อง โดยได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนแล้วเสร็จ ซึ่งพบว่า ไม่มีมูลตามข้อร้องเรียน 25 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการสืบสวน/ สอบสวน 2 เรื่อง
จำนวนข้อร้องเรียนการปฏิบัติที่เป็นธรรมGRI 205-1, GRI 205-2, GRI 205-3, GRI 406-1 (กรณี)
ปี 2565 | |
---|---|
จำนวนข้อร้องเรียนที่ได้รับ | 27 |
ตรวจสอบข้อเท็จจริง | 0 |
ระหว่างดำเนินการระหว่างดำเนินการสืบสวน/ สอบสวน | 2 |
ไม่มีมูลตามข้อร้องเรียน | 25 |
จำนวนข้อร้องเรียนกรณีการละเมิดจรรยาบรรณที่มีการสืบสวน/ สอบสวนแล้วเสร็จ | 0 |
ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับ | 0 |
การทุจริต | 0 |
ละเมิดความเป็นส่วนตัว | 0 |
ติดสินบน | 0 |
การเลือกปฏิบัติ | 0 |
ล่วงละเมิดทางเพศ | 0 |
ล่วงละเมิด | 0 |
อื่น ๆ | 0 |
การลงโทษจากข้อร้องเรียนการปฏิบัติที่เป็นธรรม | 0 |
แจ้งเตือนด้วยวาจา | 0 |
จดหมายแจ้งเตือน | 0 |
พักงาน | 0 |
ไล่ออก | 0 |
อื่น ๆ | 0 |
นอกจากนี้ ยังพบการกระทำที่เป็นความผิดทางวินัยของพนักงานจากกระบวนการสืบสวนหาข้อเท็จจริง/ กระบวนการสอบสวนทางวินัย อันเป็นการละเมิดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจรวม 1 กรณี ซึ่งเกิดจากการฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ขัดขืน หรือละเลยเพิกเฉยต่อนโยบาย กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง รวมถึงคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็นเหตุให้ ปตท. ได้รับความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ซึ่ง ปตท. ได้สืบสวน สอบสวน และลงโทษตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคลเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ในปี 2565 ไม่พบการกระทำผิดเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการทุจริตและคอร์รัปชัน
จำนวนการกระทำผิดทางวินัยของพนักงาน (กรณี)
ปี 2565 | |
---|---|
จำนวนการกระทำผิดจากการละเมิดจรรยาบรรณที่มีการสืบสวน/ สอบสวนแล้วเสร็จ | 1 |
ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับ | 1 |
การทุจริต | 0 |
ละเมิดความเป็นส่วนตัว | 0 |
ติดสินบน | 0 |
การเลือกปฏิบัติ | 0 |
ล่วงละเมิดทางเพศ | 0 |
ล่วงละเมิด | 0 |
อื่น ๆ | 0 |
การลงโทษ | 0 |
แจ้งเตือนด้วยวาจา | 0 |
จดหมายแจ้งเตือน | 0 |
พักงาน | 0 |
ไล่ออก | 0 |
อื่น ๆ | 1 |
การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันGRI205-3
วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย
ปตท. ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ และไม่ยอมรับการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ปตท. จึงกำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง ตลอดจนบุคคลใด ๆ ที่กระทำการเพื่อประโยชน์ของปตท. หรือในนามของ ปตท. ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. อย่างจริงจัง
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน ทำหน้าที่มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการและการควบคุมภายใน การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน และการรับเรื่องร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสการทุจริต การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบองค์กร รวมถึงกำกับดูแล และติดตามการดำเนินงาน เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน และปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด โดย ปตท. จัดให้มีคณะกรรมการจัดการการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร (Governance Risk and Compliance Management Committee: GRCMC) โดยมีผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน และปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ (ศปท.) ของ ปตท. ซึ่งตอบสนองต่อนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของภาครัฐทำให้เกิดความเชื่อมโยง บูรณาการในการปลูกฝัง ป้องกันและปราบปรามทุจริตของ ปตท. โดยมีฝ่ายกำกับดูแลและส่งเสริมธรรมาภิบาลทำหน้าที่กำหนดแผนปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริตของ ปตท. ประจำปี และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคณะกรรมการ ปตท. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการต่าง ๆ
แนวทางการบริหารจัดการ
ปตท. ประกาศใช้นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. รวมถึงนโยบายงดรับของขวัญในทุกเทศกาล (No Gift Policy) โดยมีการพัฒนาระบบ กลไก และมาตรการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร รวมถึงสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ให้ความสำคัญกับการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดย ปตท. เน้นการสร้างความตระหนักรู้อย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. ครอบคลุม ในด้านต่างๆ ดังนี้
- ทุจริต (Fraud) หมายถึง การกระทำใด ๆ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น โดยหมายรวมถึงการกระทำต่าง ๆ เช่น
-
การยักยอก (Asset Misappropriation) หมายถึง การครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต
-
การฉ้อโกง (Embezzlement) หมายถึง การหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยทุจริต โดยการหลอกลวงนั้นทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิใด ๆ
-
การตกแต่งบัญชี (Financial Statement Fraud) หมายถึง การปรับแต่งตัวเลขทางการบัญชี โดยอาศัยความได้เปรียบของช่องโหว่ของหลักการบัญชี และทางเลือกต่าง ๆ ในการวัดมูลค่าและการเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชี เพื่อที่จะเปลี่ยนข้อมูลในงบการเงินให้เป็นไปตามที่ต้องการเพื่อวัตถุประสงค์โดยมิชอบ
- การคอร์รัปชัน (Corruption) หมายถึง การเรียก รับ หรือยอมจะรับ ให้ ขอให้ หรือการเสนอ/ ให้คำมั่น/ สัญญาว่าจะให้ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชน หน่วยงานของเอกชน เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานเหล่านั้นใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ กระทำการ ไม่กระทำการ เร่งรัด หรือประวิงการกระทำใดอันมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ อันเป็นการให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์โดยไม่ชอบไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น หรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมในทางธุรกิจ ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย จารีต และขนบธรรมเนียมกำหนดให้กระทำได้
-
- บุคลากรของ ปตท. หมายถึง กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของ ปตท.
- บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับ ปตท. หมายถึง ลูกจ้าง ตัวแทน ที่ปรึกษา บริษัทในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทำการเพื่อหรือในนามของ ปตท. ไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ในการนั้นหรือไม่ก็ตาม
นอกจากนี้ ปตท. เป็นองค์กรที่เป็นกลางทางการเมือง ไม่มีนโยบายสนับสนุนทั้งทางการเงินและมิใช่การเงินให้แก่พรรคการเมืองใด ๆ มีความโปร่งใสในการให้เงินบริจาค (Charitable Donation) และเงินสนับสนุน (Sponsorship) ตามที่กำหนดในมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน ได้แก่ การกำหนดและทบทวนนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน การประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง การบริหารความเสี่ยงและทบทวนกระบวนการควบคุมภายใน เพื่อป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชันให้เพียงพอเหมาะสม สื่อความไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มพนักงาน กลุ่มคู่ค้าผ่านงานสัมมนาผู้ค้าประจำปี เพื่อป้องกันเหตุทุจริตที่อาจเกิดขึ้นภายในองค์กร และสร้างความไว้วางใจให้กับบุคคลภายนอกให้เชื่อมั่นในการดำเนินงานที่โปร่งใสของ ปตท.
ปตท. มุ่งยกระดับให้เป็นบริษัทที่ได้รับความไว้วางใจ (Trusted Company) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการขยายธุรกิจของ ปตท. ที่ต้องมีการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับยึดมั่นการดำเนินการที่มีความโปร่งใส ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน การควบคุมภายในที่เพียงพอเหมาะสม และการปฏิบัติติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ (Governance Risk and Compliance: GRC) จึงจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบและกำกับดูแลความโปร่งใสในการทำธุรกรรมกับบุคคลที่สาม (Third Party Screening Program) เพื่อสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. ให้เป็นไปอย่างรัดกุม เหมาะสม มีการบริหารจัดการความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ โดยในปี 2565 ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันกระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำธุรกรรมกับบุคคลที่สามให้ครอบคลุมในทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องของ ปตท. และประกาศใช้หลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. รวมถึงเริ่มต้นพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับตรวจสอบความโปร่งใสฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสืบค้นข้อมูลที่จำเป็นในการประเมินความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
ปตท. ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action against Corruption: CAC) ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 3 โดย ปตท. ได้รับการรับรองเป็นสมาชิก CAC ครั้งแรกในปี 2557 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ปตท. ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกถึงศักยภาพในกระบวนการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมุ่งมั่นต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ และในปัจจุบัน ปตท. ได้มุ่งเชิญชวนและส่งเสริมให้พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น คู่ค้า และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น เข้าร่วมโครงการรับรองเช่นเดียวกัน เพื่อตัดวงจรความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตตลอดสายโซ่อุปทานให้หมดไป
การประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตและคอร์รัปชัน
ปตท. ได้จัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชันตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดการ ปตท. (PTTMC) และจัดให้มีการทบทวนให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี เพื่อใช้สำหรับประกอบการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตและคอร์รัปชันในกระบวนการปฏิบัติงาน (Process Level) เพื่อลดโอกาสและระดับผลกระทบที่บริษัทอาจจะได้รับจากความเสี่ยงที่เกิดจากการทุจริตและคอร์รัปชัน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมสำหรับนิติบุคคลในการป้องกันการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐของสำนักงาน ป.ป.ช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2564 มาตรา 176 และแนวปฏิบัติที่ดีตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. ในเรื่องการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตและคอร์รัปชันในกระบวนการทำงาน เพื่อให้สามารถออกแบบมาตรการควบคุมภายในได้อย่างเหมาะสม
โดย ปตท. ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตและคอร์รัปชันตั้งแต่ปี 2560 โดยได้มีการขยายขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชันให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรในปี 2562 ผ่านการประเมินการควบคุมภายในตามแนวทาง GRC (GRC Assessment)
ในปี 2565 จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชัน สำหรับหน่วยงานระดับฝ่ายและส่วนขึ้นตรง รวม 145 หน่วยงาน โดยเริ่มจากการกำหนดกระบวนการระดับฝ่ายหรือส่วนขึ้นตรง แบ่งเป็น กระบวนการหลัก (Core Process) ตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน และกระบวนการสนับสนุน (Support) ที่ทุกหน่วยงานต้องประเมิน
ทั้งนี้ พบว่าผลคะแนนการควบคุมตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน (Fraud Risk) เท่ากับ 3.99 (จากคะแนนเต็ม 4) มีกระบวนที่มีระดับความเสี่ยงสูงมาก 4 กระบวนการ ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและการนำองค์กร การดำเนินงานตามกฎหมายการประกอบกิจการ การบริหารงานกฎหมาย และการบริหารงานบัญชี ซึ่งในภาพรวมคะแนนการควบคุมอยู่ในระดับที่มีการควบคุมเพียงพอเหมาะสม และมีการปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ
การอบรม สื่อความเรื่องการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
ปตท. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เรื่องการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน ผ่านการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เช่น การอบรมและสื่อความหัวข้อการกำกับดูแลกิจการที่ดีและต่อต้านการทุจริต รวมถึงหลักสูตรอื่น ๆ ให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน เช่น หลักสูตร COSO-Fraud Risk Management หลักสูตรหลักเกณฑ์และการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าทำธุรกรรมกับ ปตท. และหลักสูตรการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (TBU Pre-Career) เป็นต้น เพื่อให้ความรู้และนำสู่การปฏิบัติที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และแนวปฏิบัติที่ดีในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ปตท. จัดให้มีหลักสูตร E-learning เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พนักงานศึกษา ทำความเข้าใจหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ และแนวปฏิบัติที่ดีด้านการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เพื่อให้พนักงานสามารถนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ทั้งสิ้น 3 หลักสูตร ได้แก่ 1) CG and Anti-Fraud and Corruption E-learning ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับคู่มือ CG ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 ครอบคลุมแนวปฏิบัติที่ดีที่กำหนด เช่น การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เป็นต้น 2) หลักสูตรเรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interest) และ 3) หลักสูตรความรู้เบื้องต้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 โดยในปี 2565 กำหนดให้พนักงานจะต้องศึกษาและกำหนดเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดองค์กร (Corporate KPIs) เรื่อง Non-Compliance ซึ่งมีจำนวนพนักงาน ปตท. เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นร้อยละ 95.16, 93.93 และ 93.90 ตามลำดับ
นอกจากนี้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน จะต้องศึกษา ทำความเข้าใจ และลงนามรับทราบคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (คู่มือ CG) โดยนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน ถือเป็นส่วนหนึ่งของคู่มือ CG ด้วย โดยในปี 2565 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ลงนามรับทราบคู่มือ CG ครบถ้วน 100%
การลงนามรับทราบคู่มือ CG (ร้อยละ) |
![]() |
ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานและรางวัลที่สำคัญ
ปี | เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
---|---|---|
การดำเนินงานด้านการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. | ||
2563 | ปรับปรุงข้อกำหนดและแนวปฏิบัติ เรื่องการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน | ปรับปรุงข้อกำหนด และแนวปฏิบัติ เรื่องการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตแล้วเสร็จ |
2564 | ทบทวนและประกาศใช้
|
ทบทวนและประกาศใช้
|
2565 |
ปรับปรุงข้อกำหนด และแนวปฏิบัติ เรื่องการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
|
ข้อกำหนด และแนวปฏิบัติ เรื่องการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต ได้รับอนุมัติในการประชุมคณะกรรมการจัดการ ปตท. ครั้งที่ 34/2565 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 |
2566 |
|
|
การขอรับรองเป็นสมาชิกโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC) |
||
2563 |
ยื่นต่ออายุการรับรอง การเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของเอกชนไทยเป็นสมัยที่ 3 |
|
2564 | ผ่านการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action against Corruption: CAC) ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 3 | ผ่านการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action against Corruption: CAC) ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 3 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 |
2565 |
|
|
2566 | ยื่นต่ออายุการรับรอง การเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของเอกชนไทยเป็นสมัยที่ 4 |
ผลการประเมินและรางวัลที่เกี่ยวข้อง
ปี | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 |
---|---|---|---|---|---|
การดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. |
รางวัลองค์กรโปร่งใส |
รางวัลองค์กรโปร่งใส
|
-
|
รางวัลองค์กรโปร่งใส | รางวัลองค์กร โปร่งใส |
ระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (Integrity & Transparency Assessment: ITA) |
ระดับสูงมาก
|
ระดับ A
|
ระดับ A
|
ระดับ A | ระดับ A |
การประเมิน / รางวัลอื่น ๆ |
รางวัลจรรยาบรรณ
ดีเด่น จากโครงการประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย |
-
|
การประเมิน ASEAN Corporate Governance Scorecard: ASEAN TOP 20 PLC และ TOP 3 PLC (Thailand)
|
- | การประเมิน ASEAN Corporate Governance Scorecard: ASEAN TOP 20 PLC และ TOP 3 PLC (Thailand) |
การทบทวนปรับปรุงที่สำคัญในรอบปีที่ผ่านมา
ปตท. กำหนดให้มีการทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (คู่มือ CG) และคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชันเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2565 ปตท. ได้ดำเนินการสอบทานนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. โดยพบว่า นโยบายทั้ง 3 ฉบับยังคงเป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและระดับสากล และได้มีการทบทวนและปรับปรุงคู่มือ CG เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติที่ดีที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึง ทบทวนและปรับปรุงคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงขององค์กร
ความโปร่งใสGRI2-15
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับจัดทำแบบเปิดเผยรายการขัดแย้งทางผลประโยชน์ของ ปตท. ประจำทุกปี และทุกครั้งที่พบรายการที่อาจเกี่ยวข้องกับการขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการที่มีความเสี่ยง พร้อมทั้ง แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เพื่อกำหนดมาตรการและดำเนินการแก้ไขตามความเหมาะสม เช่น กำหนดมาตรการชั่วคราวโดยให้พนักงานที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์งด
การปฏิบัติงานนั้นเสีย หรือการโยกย้าย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ปตท. ยังได้ทำการวิเคราะห์รายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ร่วมกับกระบวนการจัดซื้อ-จ่ายเงิน (Procure-to-Pay) โดยใช้ Continuous Control Monitoring and Auditing System (CCMS) เพื่อตรวจสอบรายการที่อาจมีความขัดแย้งที่มีนัยสำคัญ จากการวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจจับรายการที่อาจมีความขัดแย้งโดยระบบ CCMS ประจำปี 2565 ไม่พบรายการขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีนัยสำคัญ
การรายงานความขัดแย้งของผลประโยชน์ของพนักงาน (ร้อยละ) |
![]() |
การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆGRI 2-26, 2-27
นโยบายการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบฯ
ปตท. ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งที่มีสภาพเป็นกฎหมาย และระเบียบ ข้อกำหนดภายในของ ปตท. โดยได้กำหนดให้ “ฝ่ายกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร” มีบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบในการเป็นศูนย์กลางการกำกับดูแลบุคลากรและหน่วยงานภายใน ปตท. ให้มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ระเบียบคำสั่ง ประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ ปตท. โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบเฉพาะทาง (2nd Line Alliances) ในการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานเฉพาะทางนั้น ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษา การสนับสนุน การกำกับและสอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยงานผู้ปฏิบัติงาน (1st Line) เพื่อให้การดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ของ ปตท. เป็นไปอย่างถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบ
ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ นั้น ปตท. ได้กำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (Compliance Policy) และแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (Compliance Framework) เพื่อให้บุคลากรภายใน ปตท. มีหลักที่ใช้ยึดเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้ถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตน โดยหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตีความหรือการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ตลอดจนนโยบายต่าง ๆ สามารถหารือไปยังหน่วยงานสนับสนุน เช่น สำนักกฎหมาย หรือฝ่ายกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร หรือหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบเฉพาะทางภายใน ปตท. ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ โดยตรงได้
นอกจากนี้ ปตท. กำหนดเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ทำธุรกิจโดยปราศจากการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ (Zero Non-Compliance) โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดในการวัดผล
การปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงานต่าง ๆ ให้ต้องมีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบ โดยกำหนดเป็น Corporate KPI : Non-Compliance ซึ่งวัดผลจากการไม่พบข้อผิดพลาดที่เป็นสาระสำคัญจากข้อร้องเรียน (จากทั้งภายในและภายนอก ปตท.) ที่เข้าข่ายเป็นการทุจริต การทุจริตต่อหน้าที่หรือการประพฤติมิชอบ การกระทำที่เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และการกระทำที่ผิดกฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมาย (Regulator) มีคำสั่งลงโทษถึงที่สุดหรือมีหนังสือแจ้งการกระทำผิดกฎหมายและยังวัดผลเพิ่มเติมในเรื่องของการเรียนรู้ของผู้บริหารและพนักงาน โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรด้าน CG และ Compliance and Ethics จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ (1) CG E-Learning (2) ความรู้เบื้องต้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ (3) การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์บุคคล (Conflict of Interest)
กระบวนการติดตาม ประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายฯ และกลไกสนับสนุน
ปตท. มีการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ผ่านทางกระบวนการสอบทานการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (GRC Assessment) ที่หน่วยงานผู้ปฏิบัติงานทุกหน่วยงานประเมินตนเอง (Self-assessment) เพื่อนำผลการตอบแบบประเมินดังกล่าวมาวิเคราะห์และวางแผนการทำงาน หรือให้คำแนะนำแก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบ
นอกจากนี้ ปตท. มีกระบวนการด้านการบริหารจัดการเหตุการณ์ปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบ (Non-Compliance) โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมเหตุการณ์ Non-Compliance ที่เกิดขึ้นหรืออยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน และรายงานเหตุดังกล่าวมายังฝ่ายกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ
การติดตามการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน และการวางแผนป้องกันการเกิดเหตุซ้ำร่วมกันต่อไป อีกทั้งยังมีช่องทางออนไลน์ที่บุคลากร ปตท. สามารถแจ้งเหตุ Non-Compliance ที่เกิดขึ้นได้ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักกฎหมาย หรือส่งอีเมลมาที่ compliance@pttplc.com โดยเมื่อได้รับแจ้งเหตุและมีการวิเคราะห์เหตุ Non-Compliance ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีการสรุปและรายงานเหตุดังกล่าวในภาพรวมไปยังคณะกรรมการจัดการการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร (Governance, Risk and Compliance Management Committee: GRCMC) และรายงานต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee: CGSC) ตามลำดับ เป็นรายไตรมาสต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ยังไม่พบเหตุ Non-Compliance ที่มีผลกระทบหรือเกิดความรับผิดตามกฎหมายต่อ ปตท. อย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด
การส่งเสริมสร้างความตระหนักและวัฒนธรรม
ปตท. มีการส่งเสริมวัฒนธรรมในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ (Compliance Culture) ให้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดอบรมให้ความรู้กฎหมาย และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งผ่านทางอีเมลสื่อสารภายในองค์กร และหลักสูตรอบรมรูปแบบ E-learning นอกจากนี้ยังได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบผ่านทาง Tone from the top โดยให้ผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในการส่งเสริมบรรยากาศด้าน Compliance Culture ด้วยการสื่อสารผ่านทาง Video Clip หรือข้อความสำคัญจากผู้บริหารมายังพนักงานอีกด้วย
กลไก/ ช่องทางในการให้คำปรึกษาการปฏิบัติให้สอดคล้องหรือไม่ผิดกฎหมาย
กรณีมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ภายใน ปตท. หน่วยงานผู้ปฏิบัติงานสามารถขอคำปรึกษา หรือส่งข้อหารือมายังสำนักกฎหมาย หรือฝ่ายกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร หรือหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบเฉพาะทางภายใน ปตท. ที่เกี่ยวข้องได้