การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
![]() ![]() ![]() |
โอกาสและความท้าทาย
ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินค่ามาตรฐานและกลายเป็นปัญหาสำคัญที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภาครัฐจึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” พ.ศ. 2562 - 2567 อีกทั้งยังได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมมลพิษจากสถานประกอบการ โดยได้ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด รวมถึงมีการทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศ เพื่อควบคุมและลดมลพิษจากอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ตระหนักดีถึงความรับผิดชอบและมีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านการควบคุมคุณภาพอากาศที่พร้อมตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จึงได้เร่งกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการตรวจติดตามและควบคุมคุณภาพอากาศ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของภาครัฐ อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยระดับสากลมาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศที่ระบายออกสู่ภายนอก ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมคุณภาพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชนให้น้อยที่สุด
หมายเหตุ:
หนึ่งในมาตรการระยะยาวของแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ได้แก่ มาตรการบังคับใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567
แนวทางการจัดการ
การควบคุมคุณภาพอากาศ
ปตท. บริหารจัดการประเด็นการปล่อยมลพิษทางอากาศ เป็นหนึ่งในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้การบริหารจัดการด้าน SSHE มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายระยะยาวและประจำปี ตลอดจนติดตามตรวจวัดและกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ นโยบาย เป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งมีการทบทวนประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามโครงสร้างกำกับดูแลด้าน SSHE ที่กำหนดเป็นรายไตรมาส อีกทั้งมีการรายงานหน่วยงานราชการและเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างโปร่งใสและต่อเนื่อง
ตัวชี้วัดมลพิษทางอากาศ ที่มีการกำหนดเป็นเป้าหมาย ได้แก่ ปริมาณสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds : VOC) ปริมาณก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (Nitrogen Oxide : NOx) และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide : SO2) ซึ่งมาจากการเผาไหม้และการระเหยจากกระบวนการผลิตและอุปกรณ์ในพื้นที่ปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยตั้งเป้าหมายระยะยาวควบคุมอัตราการเพิ่มการระบายมลพิษทางอากาศครอบคลุมทั้งก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds: VOCs) ให้เป็นศูนย์ สำหรับมลพิษอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) นั้น มีการตรวจวัดและรายงานหน่วยงานราชการตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งเพื่อเฝ้าระวังและค้นหาวิธีการ/ เครื่องมือในการลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน ผู้ปฏิบัติงาน ชุมชนและสังคม
ในการควบคุมมลพิษทางอากาศ ปตท. มุ่งเน้นควบคุมที่แหล่งกำเนิด โดยเลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยลด/ กำจัดมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Dry Low Emission (DLE) Selective Catalytic Reduction (SCR) เทคโนโลยีกล้องตรวจจับการรั่วไหลของ VOCs การบำรุงรักษาอุปกรณ์เชิงป้องกันเพื่อลดการรั่วไหล เป็นต้น ที่ผ่านมา ได้ขยายผลการติดตั้งอุปกรณ์ลด/บำบัดมลพิษ ตลอดจนติดตามตรวจวัดและกำกับดูแลการปล่อยมลพิษอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาการควบคุมคุณภาพอากาศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
บทบาทในการแก้ปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)
ในการควบคุมและแก้ปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของภาคประชาสังคมนั้น หากพิจารณาจากแหล่งกำเนิดตามข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบว่ากว่าร้อยละ 52 เกิดจากยานพาหนะที่ใช้น้ำมันดีเซล ปตท. จึงได้แสดงความรับผิดชอบโดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคเอกชนที่มีบทบาทในการลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) โดยมีมาตรการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
- มาตรการระยะสั้น: ในช่วงวิกฤตฝุ่น PM2.5 ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 -28 กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่ม ปตท. ได้นำน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำเฉลี่ย 10 ppm มาจำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้ร้อยละ 19 – 21
- มาตรการระยะยาว: กลุ่ม ปตท. ได้บูรณาการแผนการลงทุนของโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมในกลุ่ม ปตท. เพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำเฉลี่ย 10 ppm
นอกจากนี้ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ได้พัฒนานวัตกรรมเครื่องต้นแบบบำบัด PM2.5 และเชื้อโรคในอากาศ (PTT Innovative Hybrid Treatment Prototype for PM2.5 and Airborne Pathogens Removal) โดยได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพเทคโนโลยี Hybrid นี้ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าสามารถกำจัดฝุ่น PM2.5 ได้มากกว่าร้อยละ 90 และสามารถทำลายเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศได้ถึงร้อยละ 99 อีกทั้งพัฒนานวัตกรรมตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM2.5 ในชื่อว่า “Nong Pim Air Detector” โดยใช้หลักการกระเจิงแสง (Light scattering) ติดตั้งในพื้นที่อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ และคลังปิโตรเลียมภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาและประยุกต์ใช้แบบจำลองสำหรับคาดการณ์ค่าความเข้มข้น PM2.5 ในพื้นที่บริเวณ ปตท. สำนักงานใหญ่ เพื่อใช้ในการประเมิน ติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงาน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
สรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานของ ปตท.GRI 305-7
ความเข้มก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน(ตันต่อล้านบาร์เรลน้ำมันดิบเทียบเท่า) |
ความเข้มก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(ตันต่อล้านบาร์เรลน้ำมันดิบเทียบเท่า) |
ความเข้มสารอินทรีย์ระเหย(ตันต่อล้านบาร์เรลน้ำมันดิบเทียบเท่า) |
![]() |
![]() |
![]() |
หมายเหตุ: ข้อมูลตั้งแต่ปี 2562 ไม่รวมข้อมูลของบริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ซึ่งแยกออกจาก ปตท. ตั้งแต่ปี 2561 ทำให้ปริมาณการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยลดลง
สรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท.
ปริมาณก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน
(ตัน) |
ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(ตัน) |
ปริมาณสารอินทรีย์ระเหย
(ตัน) |
![]() |
![]() |
![]() |
ตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมที่สำคัญSDGs 3.9, 12.4
- พัฒนานวัตกรรมเครื่องบำบัด PM2.5 และเชื้อโรคในอากาศ (PTT Innovative Hybrid Treatment Prototype for PM2.5 and Airborne Pathogen Removal) ซึ่งได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2564 ประเภทรางวัลความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น ด้านความคิดสร้างสรรค์ และได้ขยายผลการใช้งาน โดยติดตั้งใช้งานในพื้นที่อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ พื้นที่โรงพยาบาลสนามครบวงจร (สีแดง) หน่วยตรวจคัดกรองโควิด-19 อาคาร EnCo Terminal (Enter) โครงการลมหายใจเดียวกัน ของกลุ่ม ปตท. และริมถนนพหลโยธิน บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามเป้า
![]() |
![]() |
- ปี 2564 มีการขยายผลการติดตั้งนวัตกรรมเครื่องวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่อุตสาหกรรมตามแนวท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติหลักเอ็นจีวี รวมถึงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ แล้วกว่า 100 จุด ครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี สระบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ราชบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา พร้อมมีแผนการขยายผลไปยังพื้นที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกกว่า 200 จุด ในปี 2565
- ปตท. ได้ศึกษาการคาดการณ์ค่าความเข้มข้น PM2.5 ล่วงหน้า ด้วยการประยุกต์ใช้แบบจำลอง ได้แก่ Mekong Air Quality Explorer โดยได้ติดตามเปรียบเทียบกับค่าความเข้มข้น PM2.5 ที่ตรวจวัดได้จริงของกรมควบคุมมลพิษ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน
การดำเนินงานในอนาคต
มุ่งมั่นควบคุม ป้องกันและลดมลพิษทางอากาศ ให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งค้นคว้า พัฒนานวัตกรรมของอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนวิธีการในการลด ตรวจวัด และคาดการณ์มลพิษ เพื่อให้บรรลุตามค่าเป้าหมายประจำปีและระยะยาวที่กำหนด โครงการที่สำคัญในปี 2565 เช่น- ศึกษา VOCs Control Techniques เพื่อพัฒนาวิธีการควบคุมสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds: VOCs) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM2.5 และนวัตกรรมเครื่องต้นแบบบำบัด PM2.5 และเชื้อโรคในอากาศ อย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันสู่เชิงพาณิชย์