ความยั่งยืน

การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความยั่งยืน

การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
   





ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ

ปตท. ตระหนักดีว่ากิจกรรมการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์และบริการในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักขององค์กร ย่อมมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อมิติต่าง ๆ ตั้งแต่ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีผลกระทบอื่น ๆ ที่ซับซ้อนและหลากหลายเกิดขึ้นต่อเนื่องตามมามากมาย เช่น ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบต่อสังคมในการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งในปัจจุบันที่ทุกภาคส่วนในโลกและประเทศไทยต่างให้ความสำคัญและยกระดับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระเร่งด่วน ย่อมส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของ ปตท. โดยตรง ในปี 2564 ปตท. ได้บูรณาการความเสี่ยงและโอกาสจากประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไปเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ ตลอดจนเป้าหมายระยะยาวปี 2573 ได้แก่ เป้าหมาย Business Growth New Growth และ Clean Growth ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2593 ในส่วนที่ ปตท. ดำเนินการเองและบริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 100 ส่งผลให้ในปี 2566 มีความก้าวหน้าของการออกจากการดำเนินธุรกิจและการขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจพลังงานในอนาคตและธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงานที่ชัดเจนและต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยส่งเสริมการจ้างงาน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนและสังคม การเพิ่มความรู้ทักษะความสามารถของพนักงานจากธุรกิจใหม่ และอาจจะได้รับการสนับสนุนด้านภาษีอีกด้วย

วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย

แนวทางการจัดการ

โครงสร้างกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปตท.



ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ ปตท. ได้ถูกบูรณาการเข้าไปในทิศทางกลยุทธ์ แผนวิสาหกิจและการบริหารความเสี่ยงขององค์กร โดยมีการกำกับดูแลในหลากหลายมิติ ทั้งในภาพรวมของความยั่งยืน และในระบบงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆขององค์กร ดังนี้

  • การกำกับดูแลประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ในระดับจัดการจะอยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมการจัดการการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร (PTT Governance Risk and Compliance Management Committee: GRCMC) ซึ่งรายงานต่อ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน  (Corporate Governance and Sustainability Committee: CGSC) เป็นรายไตรมาส โดยมี คณะกรรมการบริหารความยั่งยืน กลุ่ม ปตท. (PTT Group Sustainability Management Committee:  GSMC)  ดูแลกรอบการดำเนินงานและความสอดคล้องกันในกลุ่ม ปตท.
  • การกำกับดูแลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายระยะยาวและเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ รับผิดชอบโดยคณะทำงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลุ่ม ปตท. (PTT Group Net Zero Task Force: G-NET) โดยทำหน้าที่กำหนดกรอบเป้าหมายที่ชัดเจนในการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน รวมทั้งผลักดันการปรับรูปแบบธุรกิจ ตามทิศทางกลยุทธ์และแผนวิสาหกิจที่กำหนดขึ้น
  • การกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงองค์กร ซึ่งความท้าทายของการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในความเสี่ยงระดับองค์กร ที่ต้องมีการกำหนดมาตรการ/แผนควบคุมเพื่อลดโอกาสเกิด (Control) และมาตรการเพื่อลดผลกระทบ (Mitigation Plan) ตลอดจนตัวชี้วัดความเสี่ยง (Leading/ Lagging Key Risk Indicator) มีการรายงานความก้าวหน้าแก่ คณะกรรมการแผนวิสาหกิจและบริหารความเสี่ยง (Corporate Plan and Risk Management Committee: CPRC) ในระดับจัดการ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management Committee: ERMC) ทุกไตรมาส

โดยมีสายงานผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน  เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบและประสานงานในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ ตัวชี้วัดการดำเนินงาน แนวทางบริหารจัดการ ตลอดจนแผนการดำเนินงาน ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับ Corporate กลุ่มธุรกิจ หน่วยธุรกิจ และสายงานที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร เช่น สถาบันนวัตกรรม ปตท. กลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน และหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

กระบวนการในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศGRI201-2

การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ ปตท. มีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามแนวทางและมาตรฐานสากล โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้

  1. การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามรายละเอียดในหัวข้อ มาตรฐานและเครื่องมือการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่ม ปตท.
    • การติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกและระดับท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร เช่น กฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับ กลไกควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แนวทางและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระดับสากล  เป็นต้น รวมถึงการเข้าร่วมการประชุม การร่วมรับฟังความคิดเห็นและการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ องค์การมหาชน และอื่น ๆ

    • การระบุความเสี่ยงและโอกาสระดับองค์กร ในประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครอบคลุมความเสี่ยงและโอกาส ต่อไปนี้
      • ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Transition Risk)
      • ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของภูมิอากาศ (Physical Risk)
      • โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ผนวกความเสี่ยงและโอกาสไปในการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านธุรกิจ ในกระบวนการจัดทำทิศทางกลยุทธ์ ตลอดจนการประเมินผลกระทบทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประมาณการทางการเงิน และการวางแผนทางการเงิน โดยอาศัยข้อมูลจากขั้นตอนการติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระดับโลกและในระดับท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร และการชี้บ่งความเสี่ยงและโอกาส โดยครอบคลุมการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ
      • Mitigation Action: การดำเนินการควบคุม ลด หรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดผลกระทบในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • Adaptation Action: การดำเนินการปรับตัวรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
    • ถ่ายทอดเป็นแผนวิสาหกิจขององค์กร รวมทั้งในการจัดทำรายการความเสี่ยงองค์กร (Corporate Risk Profile) ใน กระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร ซึ่งได้จากการรวบรวมปัจจัยเสี่ยง ทั้งหมดขององค์กร จากกลุ่มธุรกิจหน่วยธุรกิจ สายงานสนับสนุนสำนักงานใหญ่ และความเสี่ยงทั้งหมดจากปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อองค์กร และกำหนดเป็นตัวชี้วัดการดำเนินงานระดับองค์กรผลการดำเนินงานตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (SE-AM KPI) และตัวชี้วัดองค์กร (Corporate KPI) ตลอดจนถ่ายทอดลงมาเป็นตัวชี้วัดในสายงาน (Functional KPI) ที่เกี่ยวข้อง
    • การติดตามและทบทวนความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนวิสาหกิจ กลยุทธ์ และ KPIs รายงานต่อคณะกรรมการตามโครงสร้างกำกับดูแลทั้งในระดับจัดการ และคณะกรรมการ ปตท. ตามโครงสร้างกำกับดูแลที่กำหนดรายไตรมาส
    • สรุปผลการดำเนินงานและเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกรับทราบอย่างโปร่งใส ผ่านแบบ 56-1 One Report และเว็บไซต์ ปตท.


    การบริหารจัดการความเสี่ยง


    ปตท. ได้พัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร  โดยวางกรอบการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับแนวทางการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากลได้แก่ COSO ERM 2017 และ ISO 31000:2018 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรชั้นนำทั่วโลกให้การยอมรับ กระบวนการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรนั้นเป็นส่วนสำคัญในการทำให้องค์กรสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งเชื่อมโยงกับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์และการจัดทำแผนวิสาหกิจ เพื่อช่วยให้ลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้

    ในช่วงจัดทำแผนกลยุทธ์ การระบุปัจจัยเสี่ยงทั้งในระดับองค์กร ระดับกลุ่มธุรกิจ/สายงานสนับสนุน และระดับหน่วยปฏิบัติงาน ควรพิจารณาครอบคลุมทั้งจากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก เป้าหมายและกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กร ความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด  ทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างครบถ้วนและรอบด้าน

    ในช่วงจัดทำแผนวิสาหกิจ ปตท. จะจัดทำรายการความเสี่ยงองค์กร (Corporate Risk Profile) ซึ่งได้จากการรวบรวมปัจจัยเสี่ยง ทั้งหมดขององค์กร จากกลุ่มธุรกิจหน่วยธุรกิจ สายงานสนับสนุนสำนักงานใหญ่ และความเสี่ยงทั้งหมดจากปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อองค์กร เพื่อลดผลกระทบหรือโอกาสเกิดจากปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากปัจจัยที่เป็นโอกาส พร้อมกับการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง กำหนดตัวชี้วัดด้านความเสี่ยง (Key Risk Indicator) และกำหนดผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยง (Risk Owner) ตามการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากรายการความเสี่ยงองค์กรที่กำหนด

    รายการความเสี่ยงองค์กรและแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กรจะถูกบูรณาการกับแผนวิสาหกิจ เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการ ปตท. ทำให้แผนบริหารความเสี่ยงมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ มีการถ่ายทอดจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กรไปยังฝ่ายจัดการและผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร เพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงทีและสร้างความพร้อมในการรองรับความเสี่ยงของธุรกิจในทุกด้าน


    การประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศGRI201-2

    ในการผนวกกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้ากับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ และการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร ปตท. ได้นำกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสภาพอากาศ (Climate Scenario Analysis) ตามแนวทาง Recommendation of the Task Force on Climate-related Financial Disclosure  (TCFD) เข้ามาใช้ในการประเมินและเพื่อระบุผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่เกิดจากความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งทางกายภาพ (Physical) และความเสี่ยงระหว่างช่วงเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Transition) ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้การประเมินความเสี่ยงทั้ง 2 รูปแบบจะครอบคลุมกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน และกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ สามารถดาวน์โหลดเพื่ออ่านรายละเอียดการประเมินได้ด้านล่าง

    PTT Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) Report 2022

    Transition Risk: ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

    • นโยบายและกฎหมาย (Policy and Legal): เป้าหมายและนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (ร่าง) พระราชบัญญัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับการจัดเก็บภาษีคาร์บอน และระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงจากนโยบาย เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ และกฎหมายของหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยที่ทำหน้าที่กำกับดูแล
    • การตลาด (Market): ความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์และการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ในแต่ละสถานการณ์ทางธุรกิจ ตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดลง เป็นต้น
    • เทคโนโลยี (Technology): เทคโนโลยีที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น รถไฟฟ้า แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง เป็นต้น รวมถึงการหยุดชะงักที่เกิดจากการทดแทนด้วยเทคโนโลยีใหม่
    • ชื่อเสียง (Reputation): ความต้องการและความคาดหวังของนักลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนผ่านสู่การดำเนินธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ
    ปตท. ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพิจารณาจากสถานการณ์ด้านสภาพอากาศ (Climate Scenario) 2 สถานการณ์ ได้แก่ Clean Scenario และ Clear Scenario โดย Clean Scenario นั้นจะสอดคล้องกับมุมมองของ International Energy Agency (IEA) ในสถานการณ์ Stated Policies Scenario (STEPS) ที่คาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกจะขึ้นสูงถึง 2.5 องศาเซลเซียสในปี 2643  ส่วน Clear Scenario นั้นจะสอดคล้องกับมุมมองของ IEA ในสถานการณ์ Announced Pledges Scenario (APS) ที่คาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกจะคงอยู่ที่ 1.7 องศาเซลเซียสในปี 2643 เป็นไปตามความตกลงปารีส ทั้งนี้การประเมินความเสี่ยงครอบคลุมระยะกลางในช่วงปี 2573 และระยะยาวถึงปี 2593 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงสูงในเรื่องการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนของภาครัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร ซึ่งจำเป็นต้องนำความเสี่ยงดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณากำหนดสถานการณ์ด้านการวางแผนดำเนินธุรกิจ (Business Plan Scenario) เพื่อใช้ในการจัดทำกลยุทธ์และแผนธุรกิจในปีถัดไป

    Physical Risks: ความเสี่ยงทางกายภาพ
    • ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติแบบเฉียบพลัน (Acute) เช่น  ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
    • การเปลี่ยนสภาพอากาศที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน (Chronic) เช่น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เป็นต้น
    เพื่อเสริมสร้างการกำหนดกลยุทธ์ให้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ปตท. ได้มีการรวบรวมที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของสถานประกอบการของ ปตท. และพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงทั้งในธุรกิจขั้นต้นและขั้นปลายที่มีความเสี่ยงทางกายภาพและทำการวิเคราะห์ Scenario Analysis ของพื้นที่ปฏิบัติการแต่ละแห่ง โดยอ้างอิงรูปแบบสถานการณ์จำลองจากภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า Shared Socioeconomic Pathways (SSPs) ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) จากรายงาน IPCC Assessment Report 6 ทั้งนี้การประเมินความเสี่ยงครอบคลุมระยะกลางในช่วงปี 2573 และระยะยาวถึงปี 2593 โดยมีภัยพิบัติที่มีความเสี่ยงสูงต่อพื้นที่ปฏิบัติการในเรื่องของความร้อนขึ้นสูง และความเครียดน้ำ/น้ำแล้ง ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มธุรกิจจะเป็นผู้รับผิดชอบในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อรับมือและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และติดตามการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นประจำทุกไตรมาส การกำหนดเป้าหมายสำหรับมาตรการปรับตัวต่อความเสี่ยงทางกายภาพกับการดำเนินงานที่มีอยู่และการดำเนินงานใหม่จะดำเนินการภายในกรอบเวลา 5-10 ปี

    Opportunities: โอกาส
    • เทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    • โอกาสในการลงทุนในธุรกิจพลังงานทางเลือกหรือพลังงานหมุนเวียน
    • การเข้าถึงตลาดด้านพลังงานและผลิตภัณฑ์ที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
    • การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    • เพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำซึ่งหมายถึง ผลิตภัณฑ์ (สินค้าหรือบริการ) ของกลุ่ม ปตท. ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง เช่น พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำ และ RDF
    • หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำซึ่งหมายถึง ผลิตภัณฑ์ (สินค่าหรือบริการ) ของ กลุ่ม ปตท. ที่ให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10  E20  และ E85 ตลอดจนไบโอดีเซล และก๊าซธรรมชาติ 

    กลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


    ปตท. มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนทุกชีวิตไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งบริหารจัดการผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ โดยบูรณาการไปในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์กรตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปตท. พร้อมปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ธุรกิจพลังงานในอนาคตและธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากธุรกิจพลังงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวตามที่กำหนด โดยมีรายละเอียดของการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ดังนี้

    • การกำหนด เป้าหมายระยะยาวปี 2573 ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจอย่างจริงจัง ได้แก่ เป้าหมาย Business Growth, New Growth และ Clean Growth ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นในการจัดทำแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการ สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายระยะยาวดังกล่าว สามารถอ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อ การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ (Business Diversification)
    • ปตท. กำหนดเป้าหมาย Clean Growth เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายในปี 2573 ลงร้อยละ 15 เทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2563 และแสดงเจตนารมณ์ในการประกาศ เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2583 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 ด้วยการสนับสนุนมาตรการจากภาครัฐ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2608
    • กำหนด “แนวทางการดำเนินงาน 3P ” ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายระยะยาวปี 2573 ขององค์กร  เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการร่วมกันในกลุ่ม ปตท. โดยมีโครงการ ที่สำคัญ ดังนี้
    3P Decarbonization Pathways
    การดำเนินงานที่สำคัญ
    สัดส่วนการลดการปล่อย
    ก๊าซเรือนกระจก

    เร่งปรับ
    เชื่อมโยงกับเป้าหมาย Clean Growth เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการให้ได้มากที่สุด

    • การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    • การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์
    • การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานไฮโดรเจน
    • การดำเนินโครงการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน
    • การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต
    30

    เร่งเปลี่ยน
    เปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ โดยสร้างการเติบโตจากธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต โดยเพิ่มสัดส่วน Green portfolio และบริหารจัดการ Hydrocarbon portfolio

    • สร้างการเติบโตจากธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต
    • เพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานทดแทน
    • ลดสัดส่วนการลงทุนในพลังงานฟอสซิล
    • สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
    50

    เร่งปลูก
    การเพิ่มปริมาณการดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีทางธรรมชาติ ผ่านการปลูกและดูแลรักษาป่าไม้และเพิ่มพื้นที่สีเขียว

    • บำรุงรักษาป่า 1 ล้านไร่ จากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2537
    • ปลูกป่าใหม่อย่างต่อเนื่อง 1 ล้านไร่ และร่วมกับกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่
    20

    • จัดตั้ง คณะทำงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลุ่ม ปตท. (PTT Group Net Zero Task Force: G-NET) ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ทำหน้าที่กำหนดกรอบเป้าหมาย มุ่งเน้นบริหารจัดการโครงการหลักที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ และเหมาะสมกับบริบทของธุรกิจในกลุ่ม ปตท. เช่น Carbon Capture & Storage (CCS) Carbon Capture & Utilization (CCU) Renewable Energy (RE) และ Hydrogen Energy และ Reforestation (RF) เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ รวมทั้งผลักดันการปรับรูปแบบธุรกิจ ตามทิศทางกลยุทธ์และแผนธุรกิจที่กำหนดขึ้น โดยรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนรายไตรมาส ในส่วนของการกำกับดูแลประเด็นความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในประเด็นความเสี่ยงองค์กร ซึ่งระดับจัดการรับผิดชอบโดยคณะกรรมการแผนวิสาหกิจและบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อคณะกรรมการการบริหารความเสี่ยงองค์กรเป็นรายไตรมาส ซึ่ง ปตท. ได้กำหนดมาตรการ/ แผนควบคุมเพื่อลดโอกาสเกิด (Control) และมาตรการเพื่อลดผลกระทบ (Mitigation Plan) ตลอดจนตัวชี้วัดความเสี่ยง (Leading / Lagging Key Risk Indicator) อย่างชัดเจนและจริงจัง ทำให้สามารถลดความเสี่ยงลงได้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้ง คณะทำงาน PTT Group Clean & Green ประกอบด้วยผู้แทนในระดับปฏิบัติจากบริษัทในกลุ่ม ปตท. รับผิดชอบการติดตามและควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่กำหนด  ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกัน และวัดผลในรูปแบบ Eco-efficiency
    • การกำหนดเป้าหมายเรื่องปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ และตัวชี้วัดองค์กร ซึ่งวัดและประเมินผลการดำเนินงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูง และถ่ายทอดลงมาในสายงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น

    การนำแนวทางการใช้กลไกราคาคาร์บอน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุนของ ปตท.GRI305-5

    การใช้กลไกราคาคาร์บอน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุน ของ ปตท. เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันจะช่วยลดผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และช่วยให้การดำเนินธุรกิจของ ปตท. มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารการลงทุน (SIMC) และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจัดการของ ปตท. ซึ่งก๊าซเรือนกระจกที่สามารถนำมาประเมินเพื่อใช้กลไกราคาคาร์บอนมาพิจารณาประกอบการลงทุน สามารถพิจารณาจากโครงการที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ CO2 , CH4 , N2O, HFCs, PFCs, SF6, NF3 แต่ทั้งนี้ ในกิจกรรมหลักๆ ที่พิจารณาจะมาจากกิจกรรมที่สามารถลด  CO2 , CH4 และ N2O เป็นหลัก โดยการพิจารณาโครงการซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจกจะครอบคลุมการลดก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ขอบเขต ได้แก่ทางตรง (ขอบเขตที่ 1) พลังงานทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) และ/หรือทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3) โดยการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจะประเมินจาก PTT Group GHG Tool ซึ่งอ้างอิงหลักการประเมินจาก API Compendium และ IPCC 2006 ทั้งนี้ สำหรับกิจกรรมที่ไม่สามารถประเมินผ่าน PTT Group GHG Tool สามารถอ้างอิงหลักการคำนวณจากองค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศหรือระดับสากล เช่น TGO, IPCC เป็นต้น

    ในปี 2565 ปตท. ได้กลไกราคาคาร์บอนมาประยุกต์ใช้กับการพิจารณาความคุ้มค่าโครงการเพื่อคัดเลือกการดำเนินโครงการประเภทพลังงานทดแทนในพื้นที่ปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อใช้ส่งเสริมแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเชิงพื้นที่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน

    แนวทางการใช้กลไกราคาคาร์บอน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุน ของ ปตท. มีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้ 

    • การใช้กลไกราคาคาร์บอน เพื่อประกอบการพิจารณาการลงทุน จะใช้กับโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ทางตรงและทางอ้อม
    • รูปแบบการใช้กลไกราคาคาร์บอน เป็นแบบราคาเงา (Shadow Price) ซึ่งคณะกรรมการบริหารการลงทุน ใช้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาการลงทุนที่ราคาคาร์บอน มูลค่า 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

    ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับ ปตท. จากการประยุกต์ใช้แนวทางการใช้กลไกราคาคาร์บอนฯ 

    • เป็นแนวทางเปลี่ยนพฤติกรรมภายในช่วยให้ ปตท. มีการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว
    • สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยเฉพาะนักลงทุน โดยแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ที่มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society)
    • เพิ่มโอกาสในการลงทุนในประเภทธุรกิจและโครงการที่สามารถสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ทางอ้อมโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แก่กลุ่ม ปตท. ผ่านการนำกลไกราคาคาร์บอน (Internal Carbon Price : ICP) ประยุกต์ใช้กับการพิจารณาความคุ้มค่าโครงการเพื่อคัดเลือกการดำเนินโครงการประเภทพลังงานทดแทนในพื้นที่ปฏิบัติการต่างๆ เพื่อใช้ส่งเสริมแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเชิงพื้นที่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน

    มาตรฐานและเครื่องมือการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่ม ปตท. 

    กลุ่ม ปตท. จัดทำบัญชีและรายงานข้อมูลการปล่อย การดูดซับ และการกักเก็บปริมาณก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) อีกทั้งมีการทวนสอบโดยหน่วยงานอิสระภายนอกเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2565 ได้มีการปรับปรุงขอบเขตในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกโดยมีการจัดทำข้อมูลในรูปแบบกลุ่มบริษัทรวมทั้งในและต่างประเทศ ตาม Greenhouse Gas Protocol และการปรับปรุงค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) ตาม AR6 IPCC ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงค่า GWP ของก๊าซ CH4, N2O และกลุ่ม HFCs, PFCs เพื่อใช้ในการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่ม ปตท. ซึ่งได้มีการนำไปปรับใช้สำหรับการรายงานในรายบริษัทและกลุ่มปตท. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อให้สอดคล้องกับการตั้งหมายของกลุ่ม ปตท. ซึ่งมีการกำหนดปีฐานไว้ในปี ค.ศ. 2020 รวมถึงการปรับปรุง PTT Group Environmental Master plan 2021-2030 เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ของประเทศ

    ในปี 2566  ปตท. ได้มีการพิจารณาเพื่อเพิ่มเติมการจัดทำข้อมูลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) โดยมีการประเมินนัยสำคัญของกิจกรรมที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) ของปตท. และกลุ่มปตท. ซึ่งกิจกรรมที่มีนัยสำคัญมากที่สุด ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ ปตท. จําหน่าย สำหรับการรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) ของกลุ่ม ปตท. ได้มีการประเมินนัยสำคัญ และขยายขอบเขตการรายงาน จากเดิมที่มีการรายงานการเผาไหม้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงของผู้บริโภคเฉพาะที่ ปตท. และ OR จำหน่าย ให้ครอบคลุมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคของบริษัทอื่น ๆ ในกลุ่มเพิ่มเติม ได้แก่ TOP GC และ IRPC นอกจากนี้ ได้รายงานข้อมูลของกิจกรรมที่มีนัยสำคัญอื่น ๆ ประกอบด้วย การขนส่งและกระจายวัตถุดิบขั้นต้น, การขนส่งและกระจายวัตถุดิบขั้นปลาย การกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิต และการเดินทางเพื่อธุรกิจ

    แผนงานและ Initiatives ที่สำคัญ

    ความก้าวหน้าการดำเนินงาน เร่งปรับกระบวนการผลิต Pursuit of Lower Emissions

    โครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยและพื้นที่ใกล้ฝั่งตะวันออกเป็นรายแรกของประเทศ
    ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือภายใน กลุ่ม ปตท. แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
    • Off-shore: เป็นโครงการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แหล่งผลิต ดาเนินการโดย PTTEP มี 2 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ แหล่งก๊าซธรรมชาติโครงการอาทิตย์ และโครงการลังละบาห์ โดยแหล่งก๊าซธรรมชาติโครงการอาทิตย์ นับเป็นการดาเนินการแห่งแรกของประเทศไทย คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ปัจจุบันการออกแบบทางวิศวกรรม (The Front-End Engineering Design: FEED) แล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะสามารถดาเนินการได้ภายในปี 2570
    • Near-shore: โครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลุ่ม ปตท. ในพื้นที่ใกล้ฝั่งทะเลภาคตะวันออก ประมาณการปริมาณดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 6 ล้านตันต่อปี โดยมีแผนเริ่มดำเนินการโครงการได้ภายในปี 2573 ในปี 2566 ได้จัดทำรายงานการศึกษาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย หรือ Eastern Thailand Carbon Capture and Storage Hub: CCS Hub (White Paper) นำเสนอต่อภาครัฐ ในนามของกลุ่ม ปตท. ผ่านคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการดักจับ การใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอนของประเทศ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ อีกทั้งได้ร่วมกันศึกษาประมาณการค่าใช้จ่ายในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในแต่ละกระบวนการผลิต (CO2 Capture Cost Estimation & Prioritize) การศึกษาความเป็นไปได้ในการรวบรวมและขนส่ง (Feasibility Study for Gathering and Transportation) และรูปแบบการทาธุรกิจ (CCS Business Model) เพื่อใช้ในการวางแผนการลงทุนในอนาคตต่อไป
    นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. ได้ร่วมจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรด้านการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอนแห่งประเทศไทย หรือ Thailand CCUS Alliance (TCCA) ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนา บริษัทเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างฐานความร่วมมือที่เข้มแข็งและมุ่งขับเคลื่อนเทคโนโลยี CCUS ในทุกมิติ เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันผลักดันการดาเนินโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    โครงการดักจับและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ (Carbon Capture and Utilization: CCU)
    โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง สถาบันนวัตกรรม ปตท. และ OR ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจและการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ก๊าซโซเดียมไบคาร์บอเนตที่แยกได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ มาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตและนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร ยา อาหารสัตว์ และสารเคมีที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจให้แก่กลุ่ม ปตท. และยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ/ ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยขณะนี้ Sodium Bicarbonate (โครงการ SODANA) ได้รับการอนุมัติการลงทุน อยู่ระหว่างการประมูลงานก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์ Animal Feed Protein มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ พันธมิตร และดาเนินการ Product & Market Proof แล้วเสร็จ

    นอกจากนี้ ปตท. ยังศึกษาความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เช่น เมทานอล ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตกาว เรซิน ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และใช้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเป็นหลัก แต่ปัจจุบันยังต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงกว่าที่ผลิตได้ภายในประเทศ หากสามารถผลิตเมทานอลได้เอง จะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทดแทนการนำเข้า ลดการขาดดุลทางการค้า โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาทางวิศวกรรมเบื้องต้น

    โครงการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่ปฏิบัติงาน
    ปตท. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่งในหลายพื้นที่ โดยในปี 2566 มีการขยายกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชนิดลอยน้ำและบนอาคารเพิ่มเติมพื้นที่สถาบันนวัตกรรม ปตท. กำลังการผลิต 1.6 เมกะวัตต์แล้วเสร็จ และคาดว่าจะมีการเริ่มดำเนินงานในปี 2567 ปัจจุบันพื้นที่สถาบันนวัตกรรม ปตท. มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์และกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 1.68 เมกะวัตต์ สำหรับพื้นที่ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขตมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ปฏิบัติการหลายพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ ได้แก่ พื้นที่ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 5 เขต 6  เขต 7 เขต 8 เขต 9 เขต 10 เขต 11 เขต 12 ส่วนปฏิบัติการและบำรุงรักษาสถานีชายฝั่ง และศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี โดยมีกำลังรวม 1.46 เมกะวัตต์ พื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ รวมกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 9 กิโลวัตต์ พื้นที่โครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือโครงการวังจันทร์วัลเลย์ รวมกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 50 กิโลวัตต์ โดยคาดว่าเมื่อมีการดำเนินงานของอุปกรณ์จากโครงการทั้งหมดของปตท. ครบถ้วนจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ในการดำเนินงานได้ประมาณ 4,670 เมกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นปริมาณการหลีกเลี่ยงการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 2) ของ ปตท. ได้ประมาณ 1,878 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

    นอกจากนี้ ปตท. ได้ปรับเปลี่ยนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์สันดาปภายใน โดยเป็นรถยนต์ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ขับเคลื่อน (BEV) และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ปี 2566 รวมจำนวน 60 คัน คาดว่าจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 127 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ซึ่งมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าต่อไปในอนาคต

    การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    มีการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 7 ทดแทนโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 1 และมีแผนเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2567 ซึ่งจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 112,000 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เมื่อเทียบกับโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 1 โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ภายใต้การดำเนินงาน Operational Excellence ภายในกลุ่ม ปตท. ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในปี 2023 ได้กว่า 1,420 ล้านบาท

    ปี 2566 ปตท. ดำเนินโครงการการบริหารและลดการใช้พลังงานในพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติในพื้นที่การดำเนินงานจังหวัดระยอง โดยลดการซื้อไฟฟ้าจากสายส่งและผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติภายในพื้นที่โรงงาน ซึ่งจากการปรับปรุงดังกล่าวทำให้ลดการใช้พลังงานลงได้เทียบเท่าประมาณ 5,700 MMBTU ต่อปี หรือคิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 690 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี


    นอกจากนี้ ปตท. ยังได้มีการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมโครงการเพิ่มผลผลิต ปตท.  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้เพิ่ม และลดเวลาที่สูญเปล่า และในปี 2565 ได้เพิ่มวัตถุประสงค์การปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับทิศทางกลยุทธ์ความยั่งยืนองค์กร 3 มุมมองที่สำคัญ ได้แก่ 1. การใช้ทรัพยากรน้ำในกระบวนการอย่างคุ้มค่า  2. การพัฒนาธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 3. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการของเสีย

    โครงการพลังงานจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจน

    การนำก๊าซไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์หรือใช้งานร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิงและใช้กระบวนการไฟฟ้าเคมีเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานสำหรับใช้งาน มีข้อดีคือเป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษ อีกทั้งมีศักยภาพการใช้งานเทียบเท่าน้ำมัน ที่ผ่านมา ปตท. ได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่ม Hydrogen Thailand เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีไฮโดรเจน และเซลล์เชื้อเพลิง เป็นพลังงานทางเลือกใหม่แห่งอนาคตเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

    สถาบันนวัตกรรม ปตท. ได้จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างพอร์ตธุรกิจไฮโดรเจนขึ้น ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ปตท. และมีการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาธุรกิจไฮโดรเจน เพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาโอกาสการลงทุนใน Green Hydrogen ร่วมกับคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังร่วมกับ OR บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จากัด (BIG) บริษัท โตโยต้า  ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จากัด (TDEM) และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย  จำกัด (TMT) ศึกษาและพัฒนาโครงการพลังงานในอนาคต โดยได้เปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศไทย ณ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยนำรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รุ่นมิไร (Mirai) ของโตโยต้า มาทดสอบการใช้งานในประเทศไทย ด้วยการให้บริการในรูปแบบรถรับ-ส่ง ระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี สาหรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเก็บข้อมูลเชิงเทคนิคที่ได้จากการใช้งานจริง เพื่อสร้างการรับรู้และรองรับการขยายผลในอนาคต

    ในปี 2566 คณะทำงานพัฒนาธุรกิจไฮโดรเจน ได้ศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจไฮโดรเจนในประเทศไทย โดยร่วมกันออกผลการศึกษา (White Paper) ซึ่งครอบคลุมกรณีอุปสงค์และอุปทานของไฮโดรเจนในประเทศไทยในอนาคต สิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุน และแผนการดำเนินงาน เพื่อเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบต่อไป


    ความก้าวหน้าการดำเนินงาน เร่งเปลี่ยน สู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Portfolio Transformation

    การปรับเปลี่ยนทิศทางการลงทุน
    ปตท. ยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหินทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยทำสัญญาขายหุ้น PTT Mining Limited (PTTML) ให้แก่บริษัทในเครือของ Astrindo ในประเทศอินโดนีเซียแล้วเสร็จ สำหรับการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน จะดำเนินการผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ

    แนวทางการใช้กลไกราคาคาร์บอน (Internal Carbon Price) เพื่อประกอบการพิจารณาลงทุนของ ปตท.
    การใช้กลไกราคาคาร์บอน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุน ของ ปตท. เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงช่วยให้การดำเนินธุรกิจของ ปตท. มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารการลงทุน และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจัดการของ ปตท. โดยรูปแบบการใช้กลไกราคาคาร์บอนของ ปตท. จะเป็นแบบราคาเงา ที่อัตรา 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

    โดยปี 2566 มีการประยุกต์ใช้กับการพิจารณาความคุ้มค่าการลงทุนของโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ปฏิบัติการ และการพิจารณาคัดเลือกโครงการการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ปตท. ยังได้มีการผลักดันและสนับสนุนให้บริษัทในกลุ่ม ปตท. นำหลักการการใช้กลไกราคาคาร์บอนไปประยุกต์ใช้ในการพิจารณากลั่นกรองหรือคัดเลือกโครงการเพื่อส่งเสริมให้บริษัทในกลุ่ม ปตท. สามารถคัดเลือกโครงการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลุ่ม ปตท.

    ความก้าวหน้าการดำเนินงาน เร่งปลูกป่าเพิ่ม Partnership with Nature and Society

    ความร่วมมือกับภาครัฐในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
    จากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ซึ่ง ปตท. ได้ดำเนินการปลูกและฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมมาตั้งแต่ปี 2537 รวมทั้งหมด 1 ล้านไร่ ในทุกภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งได้พัฒนาเครือข่ายอนุรักษ์และรักษาป่าให้ยั่งยืน เช่น ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่ารอบแปลงปลูกป่า รวมถึงเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    จนถึงปัจจุบัน ในปี 2566 ปตท. ยังคงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยกำหนดแผนปลูกป่าบกและป่าชายเลนเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573 พร้อมวางแผนดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ในการสำรวจพื้นที่และติดตามผลการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากป่าในแต่ละภูมิภาคของประเทศ

    โดยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการปลูกป่า กลุ่ม ปตท. กับกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางธรรมชาติทางทะเลและซึ่งนับเป็นการผนึกกำลังของภาคีภาครัฐและเอกชนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เช่น การสนับสนุนงานวิจัยและแบ่งปันข้อมูลเชิงวิชาการ การเพิ่มพื้นที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และแหล่งกักเก็บคาร์บอน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ

    อีกทั้งได้จัดงาน จุดพลังชีวิต พลิกผืนป่า 1 ต้นกล้า สู่ล้านที่ 2 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ แปลงปลูกป่า ปตท. ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าวังเพลิง ป่าม่วงค่อม และป่าลานารายณ์ ตาบลมหาโพธิ อาเภอ สระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี โดยมีผู้เข้าร่วม 450 คน ร่วมกันปลูกต้นไม้กว่า 4,500 ต้น เป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นการปลูกป่าเพิ่มอีก 1 ล้านไร่ จนถึงปัจจุบัน ปตท. ได้รับการสนับสนุนพื้นที่และดำเนินการปลูกป่าแล้วกว่า 86,173 ไร่ (พื้นที่ 25 จังหวัด) มากกว่าแผนที่กำหนด (75,000 ไร่) ควบคู่กับการนำแปลงปลูกขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER ที่จะยกระดับการปลูกฟื้นฟูป่าให้มีมาตรฐานเป็นไปตามหลักวิชาการ

    ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับชุมชน ปตท. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการปลูกและบำรุงรักษาป่า กับวิสาหกิจชุมชนคนก้นต้อรักษ์ป่าแม่สอง ตำบลเตาปูน และวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์ส่งเสริมการปลูกป่า ตำบลห้วยหม้าย ในพื้นที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ซึ่งถือเป็นวิสาหกิจชุมชนรายแรกของไทย ที่ให้บริการด้านการปลูกและบำรุงรักษาป่า ในส่วนของการฟื้นฟูป่าชุมชน ปตท. ยังได้ลงนามความร่วมมือกับคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ถือเป็นป่าชุมชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตอีกด้วย นอกจากนั้น ปตท. ยังได้ร่วมกับบริษัท ARV ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของ PTTEP นำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เข้ามาประยุกต์ใช้ในการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพ

    การจัดทำข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO)
    ปตท. ได้จัดทำข้อมูลปริมาณการปล่อย และการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กร ในปี 2565 โดยใช้วิธีการตามหลักเกณฑ์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) ซึ่งครอบคลุมขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม พบว่ามีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 10.87 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีปริมาณการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกและบำรุงรักษาป่าจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ (ดำเนินการปลูกป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537) เฉพาะในปี 2565 มีปริมาณดูดกลับรวมทั้งสิ้น 0.90 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งได้ผ่านการพิจารณารับรองและประกาศผลการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรโดย อบก. เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567


    ประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร


    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

    • ความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมของ กลุ่ม ปตท. ทั้งทางตรงและทางอ้อม (Scope 1 และ 2)1, GRI305-4
    • ทั้งทางตรง ทางอ้อม และการเผาไหม้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่ ปตท. จำหน่าย (Scope 1, 2 และ 3)1, GRI305-4
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมกลุ่ม ปตทGRI305-1, GRI305-2, GRI305-3
    • การใช้พลังงานกลุ่ม ปตท.GRI305-1, GRI305-2, GRI305-3
    • ปริมาณการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนในปี 2566
    ผลการดำเนินงานที่สำคัญด้านความยั่งยืนของ ปตท.