ความยั่งยืน

การเปิดเผยข้อมูลและการประเมินผลด้านความยั่งยืน

ความยั่งยืน

การเปิดเผยข้อมูลและการประเมินผลด้านความยั่งยืน

 
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
 







เกี่ยวกับ ปตท.

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. ดําเนินธุรกิจด้านพลังงานและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร โดยมีพันธกิจในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศ ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุลภายใต้ การบริหารจัดการอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล การประกอบธุรกิจของ ปตท. เป็นการลงทุน ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่ ธุรกิจต้นน้ำ (Upstream) จนถึงธุรกิจปลายน้ำ (Downstream) รวมถึงการพัฒนา และขยายธุรกิจตามวิสัยทัศน์ใหม่ ปตท. "แข็งแรงร่วมกับสังคมไทย" และ "เติบโตในระดับโลก" อย่างยั่งยืน  ปัจจุบัน ปตท. ยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2583 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593

ภาพรวมการประกอบธุรกิจ ของ ปตท. ประกอบด้วย ธุรกิจที่ ปตท. ดำเนินกิจการเอง ได้แก่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจที่ลงทุนผ่านบริษัทย่อยและ/หรือกิจการที่ควบคุมร่วมกันและบริษัทร่วม (กลุ่มบริษัท) ได้แก่ ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ธุรกิจนํ้ามันและค้าปลีก ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปการ และธุรกิจให้บริการ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): รู้จักกับ ปตท. (pttplc.com)

เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน

ขอบเขตการรายงาน

ปัจจุบัน ปตท. เปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน โดยนำเสนอในหัวข้อ 3 การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ในส่วนที่ 1 การประกอบธุรกิจและผลการดำเนินงาน ใน "แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี 2567 (แบบ 56-1 One Report)"  และเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ ครอบคลุมข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ของ ปตท. ในทุกกลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย กลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน และสายงานสนับสนุน ซึ่งอยู่ในขอบเขตเดียวกันกับรายงานทางการเงิน (Financial Report) โดยมีขอบเขตตามที่ระบุไว้ในเนื้อหาแต่ละ หัวข้อ ทั้งนี้ ขอบเขตการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงาน C3 ได้แก่ Climate Resilience Business, Carbon-Conscious Asset และ Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All  ประกอบด้วย ปตท. และบริษัท Flagship ได้แก่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) และขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม กลุ่ม ปตท. ครอบคลุมบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นทางตรงมากกว่าร้อยละ 20 และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 100 รวมถึงบริษัทร่วมทุนที่มีสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่เท่ากัน ตลอดจนบริษัทที่บริษัทเหล่านั้นถือหุ้นในขอบเขตเดียวกัน โดยประยุกต์ใช้แนวทางการรายงานด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและระดับสากลเพื่อนำเสนอสาระสำคัญและผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

  • คู่มือจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.
  • การรายงานด้านความยั่งยืนของ Global Reporting Initiative (GRI) Sustainability Reporting Standards โดยมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน (GRI Standards 2021: Universal Standards และ Topic Standards) และ Sector Standard Project for Oil and Gas (GRI 11: Oil and Gas Sector 2021) โดยมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ “Reporting in accordance with the GRI Standard
  • การรายงานด้านความยั่งยืนที่เชื่อมโยงตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน International Financial Reporting Standards (IFRS) Sustainability Disclosure Standards (S) ของ International Sustainability Standards Board (ISSB) ประกอบด้วย IFRS S1 General Requirements for Disclosure of Sustainability-related Financial Information ซึ่งมีความเชื่อมโยง GRI Standards, การรายงานการสร้างคุณค่าขององค์กรตามกรอบการรายงานแบบบูรณาการ Integrated Reporting (IR) ของ International Integrated Reporting Council (IIRC) และ Sustainability Accounting Standards Board (SASB) และ IFRS S2 Climate-related Disclosures ซึ่งมีความเชื่อมโยงการรายงานผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยประยุกต์ใช้ Recommendation of the Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD)
  • การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามหลักสากล 10 ประการ ของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) ในระดับ Advanced ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านทุจริต ตอบสนองความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อเครือข่ายด้านความยั่งยืน
  • การรายงานผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประยุกต์ใช้ Recommendation of the Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD)
  • การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)
  • การรายงานการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนตามตัวชี้วัดหลักของ Measuring Stakeholder Capitalism: Towards Common Metrics and Consistent Reporting of Sustainable Value Creation ของ World Economic Forum (WEF)
  • การจัดอันดับผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ Corporate Human Rights Benchmark (CHRB)

หมายเหตุ: ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มธุรกิจและสายโซ่อุปทานที่มีนัยสำคัญในปี 2567GRI 2-4



แบบ 56-1 One Report รายงานทางการเงิน


การแสดงข้อมูลตามตัวชี้วัด (Content Index)



สำหรับข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ และสามารถอ่านรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินของบริษัทในรายงานทางการเงิน (Financial Report) และข้อมูลผลการดำเนินงานของ ปตท. ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี 2567 (แบบ 56-1 One Report) โดยมีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวนี้เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ปตท. ยังจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านข้อมูลที่เปิดเผยในหัวข้อ 3 การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ในส่วนที่ 1 การประกอบธุรกิจและผลการดำเนินงานตามแบบ 56-1 One Report


นอกจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านรายงานข้างต้น ปตท. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น/ ข้อเสนอแนะ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ ปตท. และการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในแบบ 56-1 One Report เพื่อประเมินประสิทธิภาพ/ ประสิทธิผลของการเปิดเผยข้อมูล และปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลของ ปตท. ประจำปี 2567 ซึ่งพบว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล และสรุปความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละด้าน ดังนี้

ด้านสิ่งแวดล้อม



ด้านสังคม



ด้านการกำกับดูแล



การทวนสอบข้อมูลด้านความยั่งยืน

ข้อมูลด้านความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล ที่เปิดเผยในหัวข้อ 3 การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ในส่วนที่ 1 การประกอบธุรกิจและผลการดำเนินงาน ของ "แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี 2567 (แบบ 56-1 One Report)" และเว็บไซต์ www.pttplc.com ในหัวข้อความยั่งยืน ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ปตท. อีกทั้งยังได้รับการทวนสอบตัวชี้วัดที่สำคัญด้านความยั่งยืนโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอกต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมั่นใจได้ว่าการเปิดเผยข้อมูลฯ ดังกล่าวมีความแม่นยำ ครบถ้วน ถูกต้อง น่าเชื่อถือ สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ และสามารถทวนสอบกลับไปยังข้อมูลต้นทางได้ สามารถอ่านรายละเอียดของ Assurance Statement ได้ที่นี่  

การประเมินผลด้านความยั่งยืน

ปตท. ได้รับการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนจากนักลงทุน/ สถาบันต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยมีผลการประเมินที่สำคัญ ดังนี้

Benchmarking/ Rating

ผลประเมินปี 2567

ปตท. ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI กลุ่มดัชนีโลก (World Index) รวมถึงดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 และยังเป็นองค์กรชั้นนำของอุตสาหกรรมในกลุ่ม Oil & Gas Upstream & Integrated (OGX) สะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ปตท. ผ่านการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทของโลกที่แปรเปลี่ยนไป ควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
ปตท. ได้รับการประเมิน ESG Rating ระดับ AA ในกลุ่มอุตสาหกรรม Integrated Oil and Gas ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถในการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่าบริษัทมีการดำเนินการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ: “Morgan Stanley Capital International” (MSCI) เป็นบริษัทชั้นนำของโลกที่จัดทำดัชนีราคาหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเป็นตัวเทียบเคียง (Benchmark) ให้กับนักลงทุน โดยบริษัท Morgan Stanley จะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขคัดกรองในการเข้าดัชนี
ปตท. ผ่านเกณฑ์การประเมินของ FTSE Russell และได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิก FTSE4Good Emerging Index และ FTSE4Good ASEAN 5 Index ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 เริ่มตั้งแต่ปี 2558

FTSE4Good Index Series และ FTSE Russell ESG Scores เป็นหนึ่งในดัชนีชั้นนำด้านความยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ในการประเมินศักยภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG)
ปตท. ได้รับผลการประเมินระดับ “B” (Management Level) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Security) ภายใต้กรอบการประเมินของสถาบันประเมินความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือระดับโลก Carbon Disclosure Project (CDP) ประจำปี 2567
ปตท. ได้รับผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ในระดับ AAA ซึ่งเป็นระดับสูงสุด สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทอย่างต่อเนื่องและเป็นข้อมูลสนับสนุนให้นักลงทุนมาลงทุนใน ปตท.

ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2567 ที่จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร รวม 2 รางวัล ประกอบด้วย

  • รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor) นับเป็นปีที่ 4 ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ จากความมุ่งมั่น ในการบูรณาการความยั่งยืนไปกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2050 ด้วยการผสานการบริหารจัดการทั้งกลุ่ม ปตท. ผ่านแนวทางการดำเนินงาน C3 ได้แก่ Climate Resilience Business, Carbon-Conscious Asset และ Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All
  • รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านนวัตกรรม (SET Awards of Honor) จากการได้รับรางวัล Best Innovative Company Awards 4 ปีติดต่อกัน ซึ่งในปีนี้เป็นผลงานการพัฒนา “นวัตกรรมเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนไมโครสเกล หรือ PTT MicroHX” ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในนิคมอุตสาหกรรม ด้วยการนำเอาพลังงานเหลือทิ้งในรูปแบบความร้อนหรือความเย็น หมุนเวียนกลับมาใช้ในกระบวนการ (Energy Recovery) ให้เกิดประโยชน์ โดยได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วกว่า 40 สิทธิบัตร ใน 9 ประเทศ
ปตท. ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ที่จัดขึ้นโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นรางวัลระดับสูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนการดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งการปฏิบัติตามหลักสากลด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความเสมอภาค และบูรณาการในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนองค์กร พร้อมกับสร้างคุณค่าร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ในปี 2567 ปตท. เป็น 1 ใน 23 องค์กรของประเทศที่ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณเป็นองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (CALO) ประเภทยอดเยี่ยม ที่มีผลการประเมินในด้านการตรวจวัด และการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับทอง (จากองค์กร CALO ทั้งหมด 125 องค์กร) อีกทั้ง ปตท. ยังร่วมมือกับเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย ร่วมประชุมหารือ และนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐในการสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน กับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) เพื่อช่วยผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายฯนำไปสู่การกำหนดนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
หมายเหตุ: ข้อมูลการประเมินผลด้านความยั่งยืน ณ วันที่ 31 มกราคม 2567