การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
![]() ![]() ![]() ![]() |
โอกาสและความท้าทาย
การประกาศกฎหมาย การพัฒนากฎ ระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนมีการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคประชาสังคมที่ต้องการให้ภาคธุรกิจมีการดำเนินงานที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง ในปี 2562 รัฐบาลไทยประกาศแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) ฉบับแรก ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่มีความก้าวหน้าในเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยความท้าทายที่สำคัญของไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. ประกอบด้วยประเด็นด้านสิทธิแรงงาน การเสริมสร้างความตระหนักรู้ตามหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ในกลุ่มรัฐวิสาหกิจ ผลกระทบ และการหารือกับชุมชนในพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการเข้าถึงการร้องเรียนและเยียวยา นอกจากนี้ ยังมีความคาดหวังจากกลุ่มนักลงทุน รวมทั้งการประเมินการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน เช่น The Corporate Human Rights Benchmark (CHRB) ที่มีข้อเสนอแนะ/ ข้อสอบถาม รวมทั้งเกณฑ์การประเมินที่เข้มข้นมากขึ้นด้วย กลุ่ม ปตท. จึงให้ความสำคัญกับการได้นำความคาดหวังต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มาเป็นข้อมูลที่สำคัญในการยกระดับกระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการจัดการ
การบริหารจัดการสิทธิมนุษยชน
ความมุ่งมั่น
ปตท. เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนต่อความยั่งยืนขององค์กร จึงได้วางรากฐานให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐานของ ปตท. โดยยึดถือปฏิบัติตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ตามกฎหมายและเป็นมาตรฐานในระดับสากล เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights: UNUDHR) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และปฏิญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศเรื่องหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) เป็นต้น อีกทั้งได้เข้าร่วมเป็นภาคีของ United Nations Global Compact (UNGC) และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) นอกจากนี้ ปตท. ยังมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลป้อนกลับกับภาครัฐเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) และแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4
ทั้งนี้ ปตท. ยึดมั่นและเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนตลอดการดำเนินธุรกิจตามเจตนารมณ์ใน คำแถลงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และนโยบายการกำกับการดูแลปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกำหนดให้ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของมาตรฐานการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. (PTT Sustainability Management Standard) พร้อมทั้งผลักดันให้บริษัทในกลุ่ม ปตท. ประยุกต์ใช้และปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว โดยที่บริษัทในกลุ่มจำเป็นต้องเปิดเผยการประเมินความเสี่ยง รวมถึงแผนการบรรเทาความเสี่ยง เพื่อความโปร่งใส
นอกจากนี้ คำแถลงด้านสิทธิมนุษยชนฯ ได้ถูกขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยบูรณาการไปในทิศทางกลยุทธ์ด้านสังคม ในแผนแม่บทการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนฯ ปตท. ประจำปี 2564-2568 ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายควบคุมข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นศูนย์ ในปี 2573 อีกทั้งได้ถ่ายทอดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน เช่น ประเด็นเรื่องการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความปลอดภัย การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และการตรวจสอบและประเมินผู้ค้าให้ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ไปเป็นตัวชี้วัดการดำเนินงานในระดับต่าง ๆ ได้แก่ ตัวชี้วัดองค์กรซึ่งวัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารระดับสูง และตัวชี้วัดในระดับสายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีการรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่อคณะกรรมการตามโครงสร้างกำกับดูแล ทุกไตรมาส
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของผู้บริหาร
ตัวชี้วัด |
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ที่ถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด |
ขอบข่ายการวัดผล |
---|---|---|
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) |
|
เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ซึ่งทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ปตท. ด้วย |
ตัวชี้วัดระดับองค์กร |
|
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ลงมา |
ตัวชี้วัดระดับสายงาน |
|
รองกรรมการผู้จัดการใหญ / ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่/ ผู้จัดการฝ่าย ตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง |
บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการและผู้บริหาร
สำหรับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม ปตท. นั้น คณะกรรมการ ปตท. ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Committee : CGC) เป็นผู้กำกับดูแลนโยบาย และการบริหารจัดการความยั่งยืนของกลุ่ม ปตท. ซึ่งครอบคลุมการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนตลอดสายโซ่อุปทานของกลุ่ม ปตท. โดยในระดับจัดการ มีคณะกรรมการจัดการการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบองค์กร (Governance Risk and Compliance Management Committee : GRCMC) ตลอดจนสายงาน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน โดยมี ฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน ทำหน้าที่พัฒนากระบวนการและกำกับดูแลการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ของ ปตท.และกลุ่ม ปตท. ในภาพรวม ซึ่งมีการถ่ายทอดการนำไปปฏิบัติไปยังหน่วยงานผู้รับผิดชอบในระดับ Corporate แต่ละ Function ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร ได้แก่ หน่วยงานทรัพยากรบุคคล หน่วยงานความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานกิจการเพื่อสังคม หน่วยงานจัดหา และหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายฯ เป็นต้น ทั้งนี้ มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นประจำทุกไตรมาส
![]() |
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้ติดตามความคืบหน้าและให้ความเห็นต่อแผนการดำเนินงาน เป้าหมายประจำปี ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและแผนบริหารจัดการความเสี่ยง โดยเห็นชอบให้ทบทวนระบบบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่ม ปตท. (PTT Group Human Rights Management System) เพิ่มเติมแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลองค์กร การปฏิบัติตามกฎหมาย และการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน
การสื่อสารและอบรบGRI410-1
ปตท. สร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานทุกคนภายในองค์กรในเรื่องของธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการสื่อความทางบทความ วารสาร และอีเมลสื่อสารภายในองค์กร ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับคำแถลง/ นโยบาย หลักการ แนวทาง ระบบการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน และกรณีศึกษาจากธุรกิจต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ปตท. ยังจัดหลักสูตรการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม ปตท. และหลักสูตรความรู้พื้นฐานสำหรับระบบบริหารจัดการของ ปตท. (PTT Integrated Management System: PIMS) ให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ รวมทั้งตัวอย่างแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน โดยดำเนินการอบรมมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน รวม 52 รุ่น โดยในปี 2563 ได้พัฒนาหลักสูตรดังกล่าวในรูปแบบออนไลน์อีกด้วย นอกจากนี้ ปตท. ได้เพิ่มเติมหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านจริยธรรมในการปฏิบัติงาน การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และการเคารพสิทธิมนุษยชนระหว่างการปฏิบัติงานในทุกสถานการณ์ หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรบังคับสำหรับพนักงานทุกระดับ โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารระดับผู้จัดการส่วนและผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป นอกจากนี้ในปี 2564 ปตท. ได้ริเริ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนผ่านสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Podcast เพื่อเพิ่มรูปแบบการสื่อสารกับพนักงานทุกระดับ
ในปี 2563 ผู้บริหารและพนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ หน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร หน่วยงานกิจการเพื่อสังคม หน่วยงานจัดหาเชิงกลยุทธ์ หน่วยงานกรรมสิทธิ์ที่ดิน หน่วยงานความมั่นคงปลอดภัย หน่วยงานบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า และหน่วยงานสื่อสารองค์กร ได้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” โดยมีเนื้อหาการเสวนาที่ครอบคลุมภาพรวมการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล ทิศทางการดำเนินงานของภาครัฐ และการส่งต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจสู่ภาครัฐวิสาหกิจ
นอกจากนี้ ในปี 2564 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกฎหมายของ ปตท. ได้แสดงบทบาทความเป็นผู้นำการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนภาคธุรกิจผ่านภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ ปตท. มีส่วนร่วมโดยเข้าร่วมบรรยายและแบ่งปันแนวปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการสิทธิมนุษยชนของ ปตท. ในงานสัมมนากลุ่มย่อยโครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 1) โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมถึงเข้าร่วมบรรยายในหลักสูตร “ธรรมาภิบาลกับการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศสำหรับผู้บริหาร” จัดโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ รวมทั้งผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดการนำหลักการดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
สำหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ปตท. ระบุให้บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องดำเนินการฝึกอบรมความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทุกคนตามข้อกำหนดงานจ้างก่อนเข้าปฏิบัติงาน โดยเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน ไม่ใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น แม้ผู้กระทำผิด เจ้าหน้าที่ รปภ. ไม่มีสิทธิ์จับกุมผู้ใด ยกเว้นผู้กระทำผิดซึ่งหน้าในสถานที่ของ ปตท. และผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยในปี 2564 ไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ ปตท.
คู่ค้าและคู่ความร่วมมือตลอดสายโซ่อุปทาน
ปตท. ส่งเสริมและผลักดันให้พันธมิตรทางธุรกิจในสายโซ่อุปทานของ ปตท. ดำเนินงานโดยให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนของ ปตท. โดยเริ่มจากการคัดเลือกผู้ค้าทั้งในกลุ่มสัญญาที่มีอยู่เดิมและสัญญาใหม่ ที่มีการดำเนินงานผ่านตามหลักเกณฑ์การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG) นอกเหนือไปจากเกณฑ์พื้นฐานด้านคุณภาพและการเงิน โดยผู้ค้าที่ได้คะแนนประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จะไม่ได้รับการอนุมัติให้อยู่ในทะเบียนผู้ค้าระบบงานทะเบียนผู้ค้า ปตท. (PTT Approved Vendor List : PTT AVL)
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า (Sustainable Supplier Code of Conduct) ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ซึ่งครอบคลุมหลักการด้านสิทธิมนุษยชนได้แก่ จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ให้มีผลบังคับใช้กับผู้ค้าที่ทำสัญญากับ ปตท. ในวงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป และ/หรือ งานที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีการติดตามผลการดำเนินงานผ่านการตรวจสอบและประเมินผู้ค้าอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2559 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่สำคัญและมีความเสี่ยงสูง หากพบการดำเนินงานที่ละเมิดแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของผู้ค้า จะต้องมีการจัดทำแผนการแก้ไข ทั้งนี้ ปตท. สามารถยกเลิกสัญญาหากยังพบการละเมิดแนวทางการปฏิบัติฯ ดังกล่าว
การตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม ปตท.GRI407-1
ปตท. ได้จัดทำและดำเนินการระบบบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่ม ปตท. (PTT Group Human Rights Management System) ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. โดยครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของกลุ่ม ปตท. ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดวงจรชีวิตของการดำเนินงาน เช่น การควบรวม การซื้อกิจการ การก่อสร้าง จนถึงการยกเลิกกิจการ โดย ปตท. ได้ประกาศใช้ระบบดังกล่าว และสื่อความไปยังบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม
![]() |
ภาพรวมของการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม ปตท
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนGRI407-1, GRI408-1, GRI409-1, GRI412-1, GRI413-2, GRI414-2
ปตท. ได้ผนวกการบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เข้าไปในกระบวนการประเมินความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบที่แต่ละหน่วยงานต้องดำเนินการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ อาทิเช่น
- การทำ Due Diligence ในการควบรวมหรือซื้อกิจการ
- การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ในการพัฒนาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ตามกฎหมาย
- การบ่งชี้และประเมินประเด็นสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการประเมินอันตรายและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ตามมาตรฐาน ISO ในพื้นที่ปฏิบัติการทุกพื้นที่
- การประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายในขององค์กร
ซึ่งความเสี่ยงทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการโดยกำหนดเป็นมาตรการ ตลอดจนแผนบริหารจัดการ และมีการรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บริหารในแต่ละสายงานที่ดูแลอย่างเป็นระบบ
อย่างไรก็ดี จากความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการบริหารจัดการสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชนที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ปตท. จึงได้ประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ของ UNGP มาประเมินความเสี่ยงที่อาจยังหลงเหลือจากการประเมินตาม Function งาน ในภาพรวมของกลุ่ม ปตท. ให้มีครบถ้วนและรอบด้านในทุกมิติตลอดห่วงโซ่คุณค่ามากที่สุด โดยครอบคลุมถึงการระบุประเด็นสำคัญ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชน กลุ่มเปราะบาง และความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลกระทบในระดับประเทศที่การดำเนินธุรกิจและพื้นที่ปฏิบัติการ ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงที่มีความเปราะบางครอบคลุม ผู้หญิง ชนพื้นเมือง แรงงานอพยพ เพศทางเลือก ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และเด็ก โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินความเสี่ยงเพื่อให้มีการรวบรวม รายงานความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรควบคู่ไปกับรายงานความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของแต่ละโครงการ
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1. การกำหนดขอบเขตธุรกิจของกลุ่มบริษัท
2. การกำหนดบริบทด้านสิทธิมนุษยชน
3. การระบุ/ประเมินประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ และสิทธิที่เกี่ยวข้องในระดับบุคคล
4. การประเมินความเสี่ยง
5. การระบุการควบคุมและบรรเทาความเสี่ยง
6. การประเมินค่าความเสี่ยงคงเหลือ
7. การติดตามและทบทวน
การประเมินคะแนนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนดำเนินการโดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ผลกระทบ และความเป็นไปได้
ระดับการวัดความเสี่ยง: ผลกระทบ
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของ ปตท.
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมีปัจจัยหลายอย่างรวมถึง ขนาด ขอบข่าย และข้อจำกัดของความสามารถในการแก้ไขผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นให้กลับไปมีสภาพดังเดิม
ระดับของผลกระทบ | ลักษณะของผลกระทบ |
---|---|
Critical |
|
Major |
|
Moderate |
|
Minor |
|
ระดับการวัดความเสี่ยง: ความเป็นไปได้
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมีปัจจัยหลายอย่างรวมถึง ขนาด ขอบข่าย และข้อจำกัดของความสามารถในการแก้ไขผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นให้กลับไปมีสภาพดังเดิม
ระดับของผลกระทบ | ลักษณะของผลกระทบ |
---|---|
Likely (>25%) |
|
Possible (10-25%) |
|
Unlikely (1-10%) |
|
Rare (<1%) |
|
ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญสำหรับธุรกิจในกลุ่ม ปตท. ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัย และอาชีวอนามัยของพนักงานและผู้รับเหมา สิทธิแรงงาน สภาพการทำงานของผู้ค้า มาตรฐานการเป็นอยู่ของชุมชน และสิทธิของชนพื้นเมือง จากผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในกลุ่ม ปตท. พบว่ามีพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในระดับปานกลาง-สูง จำนวน 11 พื้นที่ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และแอลจีเรีย โดยพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในระดับปานกลาง-สูง ได้จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการประเด็นความเสี่ยงเพื่อบรรเทาความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครบถ้วนทั้ง 11 พื้นที่ และมีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวแก่ผู้บริหารและโครงสร้างกำกับดูแลทุกไตรมาส
ประเด็นความเสี่ยงด้าน
|
ร้อยละของจำนวนพื้นที่ทั้งหมดที่ผ่านการประเมินใน 3 ปีที่ผ่านมา
|
ร้อยละของพื้นที่ที่อาจมีประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสูง |
ร้อยละของความเสี่ยงที่มีแผนเเละกระบวนการจัดการ |
แผนการบรรเทาความเสี่ยง
| |
---|---|---|---|---|---|
พื้นที่ปฏิบัติการที่ ปตท. บริหารจัดการเอง |
|
100 | 0 | 100 |
|
ผู้รับเหมาและผู้ค้าในระดับที่ 1 |
|
100 | 100 |
|
|
ธุรกิจที่ ปตท. ลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. |
|
100 | 0 | 0 |
การบริหารจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยา
การบริหารจัดการข้อร้องเรียนGRI411-1
ปตท. พัฒนาจัดทำระบบรับเรื่องร้องเรียนทั้งภายในและภายนอก หลากหลายช่องทางให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ตามวิธีที่สะดวกตลอดเวลา รองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อรับประเด็นข้อร้องเรียนทุกประเภท รวมถึงข้อกังวลและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจได้รับผลกระทบ สำหรับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในต่างประเทศ สามารถติดต่อบริษัทผ่านทางเว็บไซด์และสื่อโซเชียลในภูมิภาคซึ่งรองรับภาษาท้องถิ่นในประเทศนั้น ๆ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน |
---|---|
พนักงาน |
|
คู่ค้า ลูกค้า และบุคคลภายนอก |
|
ชุมชนรอบสถานประกอบการของ ปตท. |
|
ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องผู้ร้องเรียนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดกระบวนการในการปกป้องผู้ร้องเรียนรวมถึงมีมาตรการในการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเบาะแสที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดระยะเวลาในการจัดการข้อร้องเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อร้องเรียนของพนักงาน มีกำหนดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนอยู่ที่ไม่เกิน 30 วัน ในขณะที่ข้อร้องเรียนจากภายนอกจะมีการตรวจสอบ แก้ไขปัญหา และแจ้งผลของการดำเนินงานกลับสู่ผู้ร้องเรียนภายใน 7 วันทำการ ทั้งนี้ ตลอดปี 2564 ไม่พบข้อร้องเรียนที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน
ช่องทางการรับข้อร้องเรียนของกลุ่ม ปตท.
การเยียวยา
ปตท. ให้ความสำคัญกับกระบวนการในการปกป้องและเยียวยาผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน สิทธิชุมชน โดยจัดให้มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนเฉพาะในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินและภาวะวิกฤติในแต่ละพื้นที่ และกำหนดรูปแบบให้มีการเยียวยาอย่างทันที (Access to remedy) ทั้งทางรูปแบบตัวเงิน อาทิ การจ่ายเงินชดเชย การสนับสนุนเงินช่วยเหลือ และไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การจัดตั้งจุดรับเรื่องร้องเรียนฉุกเฉิน
เพื่อสนับสนุนและให้การเยียวยาในเบื้องต้น การให้คำแนะนำ หรือสนับสนุนโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำ โดยจัดเตรียมช่องทางการสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบสามารถแจ้งข้อร้องเรียนไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของแต่ละโครงการหรือแจ้งที่ช่องทาง Call Center ของ ปตท. ซึ่ง ปตท. จะดำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุ ดำเนินการแก้ไขและป้องกันตามขั้นตอนต่อไป ในกรณีที่กระบวนการปกป้องและเยียวยาไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในเบื้องต้น ปตท. จะกำหนดกลไกในการปกป้องและเยียวยาโดยการรับเรื่องร้องเรียนแบบใช้คณะทำงานไตรภาคี ประกอบด้วย ตัวแทนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันบริหารจัดการด้วยวิธีที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เพื่อความ
พึงพอใจของทุกฝ่ายต่อไป
จำนวนข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
![]() |