การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
แนวทางการบริหารจัดการด้าน SSHE
ปตท. กำหนดกรอบการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Security, Safety, Occupational Health and Environment: SSHE) เพื่อถ่ายทอดเจตนารมณ์ที่แสดงไว้ในนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ปตท. จากส่วนกลาง (Corporate) ไปสู่ในการปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรในกลุ่มธุรกิจ (Business Group) สายงาน (Business Area) และบริษัทใน กลุ่ม ปตท. ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบหลักดังแสดงในรูป ได้แก่- กลยุทธ์และนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ปตท.
- เป้าหมายการดำเนินงานด้าน QSHE
- แผนงานการดำเนินงานด้าน QSHE
- ระบบบริหารจัดการด้าน SSHE ปตท.
- คู่มือ ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีปฏิบัติ และเอกสารสนับสนุน
นโยบายด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Safety, Health, and Environment Policy: QSHE Policy)
ปตท. กำหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSHE) กลุ่ม ปตท. เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการ วางแผน กำหนดเป้าหมาย กำกับ ควบคุมกระบวนการทำงาน การบำรุงรักษา การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) ผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้มีการจัดการความเสี่ยงและต่อยอดโอกาส เพื่อมุ่งสู่
ความเป็นเลิศและเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเสริมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุลและต่อเนื่อง และเป็นกรอบในการบริหารจัดการด้าน QSHE สำหรับ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ให้สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ซึ่งได้รับการพิจารณาและลงนามโดย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะกรรมการ ปตท. อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยมุ่งเน้น
การดำเนินการอย่างจริงจัง ดังต่อไปนี้
- นโยบายฯ ประยุกต์ใช้ครอบคลุมพนักงานและผู้รับเหมาทุกคนตลอดสายโซ่อุปทานของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อกำหนดขององค์กร มาตรฐานสากล และ
พันธสัญญาที่เกี่ยวข้อง - เป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้าน QSHE ระยะยาวและประจำปี เพื่อนำมากำหนดแผนงานและตัวชี้วัดระดับองค์กร โดยวัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารทุกระดับ
- บริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความสูญเสียจากอุบัติการณ์ต่อชีวิต ทรัพย์สิน กระบวนการผลิต และโลจิสติกส์ ส่งเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีของพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- บริหารจัดการความเสี่ยง ปกป้อง ป้องกัน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
- สื่อสารผลการดำเนินงานและประสิทธิผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างโปร่งใส เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความตระหนัก รวมถึงการรับฟังความต้องการและความคาดหวัง เปิดโอกาสให้พนักงานและผู้รับเหมามีส่วนร่วมและให้ข้อแนะนำ เพื่อนำมาทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ปตท.
เป้าหมายการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Security, Safety, Health and Environment: SSHE) ระยะยาวและประจำปี
ปตท. กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้าน QSHE ที่อนุมัติประกาศใช้โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. โดยวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท และกำหนดตัวชี้วัดในระดับองค์กรที่สะท้อนถึงสมรรถนะการบริหารจัดการ ความสอดคล้องตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล ซึ่งแต่ละหน่วยธุรกิจจะนำไปพิจารณากำหนดเป้าหมายและถ่ายทอดไปยังระดับสายงานให้สอดคล้องตามบริบทขององค์กร
โดยเป้าหมายการดำเนินงานด้าน QSHE ระยะยาวมีการทบทวนเป็นประจำทุก 5 ปี สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานประจำปีมีการทบทวนพร้อมกับนโยบายเป็นประจำทุกปี
เป้าหมายการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(Security, Safety, Health and Environment: SSHE) ประจำปี
เป้าหมายการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(Security, Safety, Health and Environment: SSHE) ระยะยาว
ระบบบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ปตท.
ปตท. บริหารจัดการตามระบบบริหารจัดการของ ปตท. (PTT Integrated Management System: PIMS) ซึ่งครอบคลุมการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน SSHE ให้เป็นไปตามนโยบายและบรรลุตามเป้าหมายการดำเนินงานที่กำหนด สำหรับบริษัทใน กลุ่ม ปตท. กำกับตามแนวทางบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. (PTT Group Way of Conduct)
ระบบบริหารจัดการด้าน SSHE ได้ถูกทบทวนและปรับปรุงให้มีความทันสมัยและสอดคล้องตามกฎหมายของประเทศไทย มาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติต่าง ๆ เช่น มาตรฐาน ISO คู่มือและแนวทางของ GRI, WBCSD, IPIECA เป็นต้น ตลอดจนบริบทและปัจจัยความเสี่ยงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการเข้ากับระบบการจัดการอื่น ๆ ขององค์กรเพื่อให้การถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
นอกจากนี้ ทุกพื้นที่ปฏิบัติงานหลักของ ปตท. ไม่ว่าจะเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สถานีหลัก/สถานีแม่ของระบบเครือข่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ อาคาร ปตท.สำนักงานใหญ่ เป็นต้น ยังได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO ได้แก่ ISO45001, ISO14001 โดยมีสถาบันการรับรองมาตรฐานสากล (สรอ.) หรือ Management System Certification Institute (Thailand) (MASCI) เป็นผู้ให้การรับรอง (Certification Body) ตลอดจนมาตรฐานอื่น ๆ เช่น ISO50001 มาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (Corporate Social Responsibility: CSR-DIW) ISO22301 มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) เป็นต้น โดยพิจารณาประยุกต์และขอการรับรองตามบริบทและ
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
ปตท. มุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม สำหรับการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยกำหนดแผนงานและเป้าหมายระยะยาวในการป้องกันและควบคุมความสูญเสียจากอุบัติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายอุบัติเหตุที่เกิดการบาดเจ็บต่อพนักงานและผู้รับเหมาถึงขั้นหยุดงาน อุบัติเหตุด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตและอุบัติเหตุจากการขนส่งต้องเป็นศูนย์ กำหนดกระบวนการบริหารควบคุมความเสี่ยงตั้งแต่การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงและลดผลกระทบ ประกอบด้วยการกำหนดมาตรฐานการทำงานเทียบเท่ามาตรฐานสากล สร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยให้พนักงานและผู้รับเหมา โดยให้ความรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริมสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย การนำหลักการและเครื่องมือทางวิศวกรรมตามมาตรฐานสากลมาใช้ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิต การขนส่งและการตรวจประเมินความปลอดภัยเพื่อค้นหาจุดเสี่ยง จุดอันตรายและดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ โดยมีระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านต่าง ๆ เช่น ความปลอดภัยส่วนบุคคล
ความปลอดภัยกระบวนการผลิต ความปลอดภัยในการขนส่ง เป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรและมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปตท. มุ่งมั่นทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาระบบการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤต (Emergency and Crisis Management) และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ ปตท. (Business Continuity Management System: BCMS) พร้อมทั้งจัดให้มีการฝึกซ้อมแผนการจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤต และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจประจำปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถจัดการกับเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การบริหารนโยบายไปสู่การปฏิบัติในหน่วยธุรกิจและกลุ่ม ปตท.
ในการถ่ายทอดนโยบาย เป้าหมาย มาตรการการจัดการด้าน SSHE ไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร แต่ละหน่วยธุรกิจจะควบคุมดูแลการนำไปปฏิบัติในสายงาน พื้นที่ปฏิบัติการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามระบบบริหารจัดการด้าน SSHE รวมทั้งคู่มือ ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีปฏิบัติและเอกสารสนับสนุนที่กำหนดไว้ โดยมีหน่วยงาน QSHE ระดับสายงาน ได้แก่ สายงานแยกก๊าซธรรมชาติ
สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สายงานสถาบันนวัตกรรม ปตท. สายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ และหน่วยงาน QSHE ที่ดูแลพื้นที่อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท. ทำหน้าที่ผลักดัน ส่งเสริม ให้
คำปรึกษา และติดตามการดำเนินงานตามเป้าหมาย แผนงาน และตัวชี้วัดที่กำหนด โดยมีการรายงานให้ผู้บริหารทั้งในระดับพื้นที่ สายงาน และหน่วยธุรกิจ พิจารณาทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามวาระที่กำหนด
สำหรับการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติในกลุ่ม ปตท. จะดำเนินการตามแนวทางบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. (PTT Group Way of Conduct) ตามสัดส่วนของการถือหุ้น โดยบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 100 และมีสัดส่วนการถือหุ้นมากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่น จะนำนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ และมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE ไปปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ปตท. มุ่งเน้นให้ทุกบริษัทเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับการบริหารจัดการร่วมกัน จึงได้จัดตั้ง คณะทำงานเฉพาะด้าน (PTT Group QSHE Taskforce) ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ผลักดันการดำเนินโครงการด้าน SSHE ร่วมกันในกลุ่ม ปตท. เช่น โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย โครงการพัฒนาคู่มือ/ แนวทางการดำเนินงาน โครงการนำร่องการดำเนินงานด้าน SSHE เป็นต้น ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน รวมทั้งร่วมทบทวนนโยบาย เป้าหมาย มาตรฐานการจัดการ คู่มือ ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีปฏิบัติและเอกสารสนับสนุน ในรายละเอียดเชิงเทคนิค ก่อนนำเสนอคณะกรรมการตามโครงสร้างกำกับดูแลพิจารณาทบทวนประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเห็นชอบต่อไป
การจัดเก็บและรายงานผลการดำเนินงาน
ปตท. จัดทำคู่มือและกระบวนการจัดเก็บและรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลต่าง ๆ โดยนำระบบสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เพื่อให้การบันทึกข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบ ลดข้อผิดพลาด และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ ระบบการจัดเก็บและรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกลุ่ม ปตท. ได้ถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต สามารถปรับปรุงระบบได้ง่าย มีระบบความปลอดภัย ตลอดจนรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานจากพื้นที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท. ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ
การตรวจประเมิน
ปตท. กำหนดกรอบและแนวทางในการกำกับ ควบคุม ดูแลระบบบริหารจัดการด้าน SSHE ของหน่วยงานภายใน ปตท. และกลุ่ม ปตท. ให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามนโยบาย QSHE ของกลุ่ม ปตท. โดยมีแนวทางการตรวจประเมิน ดังนี้
- การตรวจประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานต่าง ๆ โดยผู้ตรวจประเมินภายนอก เช่น ISO45001 ISO14001 และ ISO22301 โดยสถาบันการรับรองมาตรฐานสากล (สรอ.) หรือ Management System Certification Institute (Thailand) (MASCI)
- การตรวจประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท.
- การตรวจประเมินการปฏิบัติตามกฎหมาย
- การตรวจประเมินการปฏิบัติตามระบบการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย
- การทวนสอบข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
การทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพการดำเนินงาน
การทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน และการดำเนินการตามแผนงานด้าน SSHE ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความยั่งยืน ทั้งภายใน ปตท. และ
กลุ่ม ปตท. จะดำเนินการโดยคณะกรรมการฯ ทั้งในระดับจัดการ และคณะกรรมการ ปตท. ตามโครงสร้างกำกับดูแลด้านความยั่งยืนที่กำหนด เป็นรายไตรมาส
โครงสร้างกำกับดูแลด้านความยั่งยืน ปตท.
ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
แผนการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม | ผลการดำเนินงานปี 2564 | ผลการดำเนินงานปี 2565 | ผลการดำเนินงานปี 2566 |
---|---|---|---|
การกำหนดและทบทวนนโยบาย QSHE กลุ่ม ปตท. อย่างน้อยปีละครั้ง |
มีการทบทวนเนื้อหานโยบายฯ ให้สอดคล้องตามบริบทและปัจจัยต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และได้รับการลงนามประกาศใช้เรียบร้อยแล้ว | มีการทบทวนเนื้อหานโยบายฯ ให้สอดคล้องตามปัจจัยต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และได้รับการลงนามประกาศใช้เรียบร้อยแล้ว |
|
การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน QSHE ระยะยาวและประจำปี |
|
|
|
การกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงาน ระดับองค์กร ด้าน QSHE |
|
|
|
การพัฒนาและทบทวนมาตรฐานการจัดการ |
มีการปรับปรุงมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE ในระบบบริหารจัดการของ ปตท. และจัดทำคู่มือการดำเนินงาน (Manual) | มีการปรับปรุงมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE ในระบบบริหารจัดการของ ปตท. จัดทำคู่มือการดำเนินงาน (Manual) และขั้นตอนการดำเนินงาน (Procedure) | มีการปรับปรุงมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE ในระบบบริหารจัดการของ ปตท. จัดทำคู่มือการดำเนินงาน (Manual) และขั้นตอนการดำเนินงาน (Procedure) |
การถ่ายทอดการบริหารจัดการ SSHE ไปสู่ การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรใน ปตท. |
มีการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ โดยผ่านเป้าหมายประจำปี และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ครบถ้วนทุกหน่วยงานตามที่กำหนด | มีการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ โดยผ่านเป้าหมายประจำปี และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ครบถ้วนทุกหน่วยงานตามที่กำหนด | มีการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ โดยผ่านเป้าหมายประจำปี และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ครบถ้วนทุกหน่วยงานตามที่กำหนด |
การถ่ายทอดมาตรฐานการจัดการ SSHE ไปสู่การปฏิบัติในกลุ่ม ปตท. | มีการถ่ายทอดมาตรฐานฯ ไปสู่การปฏิบัติในกลุ่ม ปตท. โดยผ่าน PTT Group Way of Conduct โดยทุกบริษัทมีการดำเนินการได้สอดคล้องครบถ้วน | ||
การทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพ | มีการทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการฯ ตามโครงสร้างกำกับดูแล ครบถ้วนทุกไตรมาส |
-
การกำกับดูแลความยั่งยืน
- กลยุทธ์ นโยบาย และการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน
- การกำกับดูแลและธรรมาภิบาล
- การปฏิบัติที่เป็นธรรม
- ระบบการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
- การบริหารความเสี่ยงเเละภาวะวิกฤต
- การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- เครือข่ายด้านความยั่งยืน
- การเปิดเผยข้อมูลและการประเมินผลด้านความยั่งยืน
- มิติด้านเศรษฐกิจ
- มิติด้านสิ่งแวดล้อม
- มิติด้านสังคม