การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
![]() ![]() ![]() ![]() |
ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ
ผลกระทบของประเด็นในช่วงเวลาต่าง ๆ
ระยะสั้น |
ระยะกลาง |
ระยะยาว |
กลาง |
กลาง |
สูง |
ความหลากหลายทางชีวภาพ |
มุมมองด้านการเงินขององค์กร (Financial Materiality) |
มุมมองผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Impact Materiality) |
|
|
ความเสี่ยงต่อบริษัท | โอกาสต่อบริษัท | + ฟื้นฟูบริการจากระบบนิเวศเพื่อรักษาความยืดหยุ่นของระบบนิเวศการพึ่งพาธรรมชาติ ที่มีผลทางเศรษฐกิจ โอกาส และประโยชน์ทางวัฒนธรรม และเชิงสันทนาการ + เครือข่ายอนุรักษ์และรักษาป่า ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมกับสังคมชุมชน - ระบบนิเวศและการดำรงชีวิตของสังคมชุมชนเสียสมดุล |
- มูลค่าความเสียหายทางการเงินและภาพลักษณ์ระยะยาว | + การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง + ภาพลักษณ์และความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย
ปตท. มุ่งมั่นบริหารจัดการผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งกลุ่ม ปตท. โดยมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ดังนี้
- จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP) ในพื้นที่ที่มีผลการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง ให้ครบทุกพื้นที่
- ประเมินความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (No-Net-Loss Assessment) ของโครงการใหม่ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงให้ได้ครบร้อยละ 100 ภายในปี 2567 สำหรับบริษัทในกลุ่ม Oil & Gas และภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่เป็น Flagships เพื่อสนับสนุนเป้าหมายควบคุมกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No-Net-Loss)
เป้าหมาย |
2564 |
2565 |
2566 |
2567 |
2568 |
---|---|---|---|---|---|
การดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เสี่ยงสูง | จัดทำแผนการดำเนินงาน ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP) ในพื้นที่ที่มีผลการประเมินความเสี่ยง ด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง 100% บริษัทในกลุ่ม Oil & Gas |
จัดทำแผนการดำเนินงาน ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP) ในพื้นที่ที่มีผลการประเมินความเสี่ยง ด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพสูง 100% บริษัทในกลุ่ม Oil & Gas |
|||
การประเมินความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพของโครงการใหม่ในพื้นที่เสี่ยงสูง | N/A | N/A | ประเมินความสูญเสียด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ (No-Net-Loss Assessment) ของโครงการใหม่ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง 100% บริษัทในกลุ่ม Oil & Gas |
- มุ่งมั่นที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิ (NPI) ให้กับโครงการใหม่ที่ครอบคลุมกิจกรรมต้นน้ำและปลายน้ำภายในปี 2593
- สำหรับธุรกิจต้นน้ำ: ปตท.สผ. ซึ่งเป็นบริษัท flagship ในกลุ่ม ปตท. ตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุผลกระทบเชิงบวกสุทธิจากความหลากหลายทางชีวภาพในมหาสมุทรและบริการระบบนิเวศในการดำเนินงานนอกชายฝั่งภายในประเทศ ภายในปี 2568 และการดำเนินงานนอกชายฝั่งทั้งหมดภายในปี 2573
- สำหรับธุรกิจขั้นปลาย: PTTGC มุ่งมั่นที่จะรักษาสถานที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันและอนาคตอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิภายในปี 2593
แนวทางการจัดการ
นโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ของ ปตท.
ปตท. ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพตลอดทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ ซึ่งมีการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้การบริหารจัดการคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยได้แสดงความมุ่งมั่นไว้อย่างชัดเจนใน นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Safety, Health and Environment: QSHE) กลุ่ม ปตท. ว่าจะปกป้อง ป้องกัน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ นอกจากนี้ ยังแสดงเจตนารมณ์ผ่านประกาศ “คำแสดงเจตจำนงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (PTT Biodiversity Statement)” ในการลดผลกระทบและฟื้นฟูความสูญเสียของความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท ตลอดจนจากผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ได้แก่ คู่ค้า Tier-1 suppliers และคู่ค้า Non-tier 1 suppliers โดยหลีกเลี่ยงการสำรวจ บุกเบิกและดำเนินธุรกิจในพื้นที่ที่ได้ถูกกำหนดให้เป็นมรดกโลก และพื้นที่อนุรักษ์ตามที่ IUCN และมุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ (No Net Deforestation) และดำเนินการฟื้นฟูหรือปลูกต้นไม้ชดเชย ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจในอนาคต ปตท. มุ่งมั่งที่จะหยุดยั้งและฟื้นฟูความสูญเสียที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ให้สอดคล้องตามมาตรฐาน GRI 101 Biodiversity และ Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดการผลักดันใน 3 เป้าประสงค์ที่สำคัญ ประกอบด้วย (1) ลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (2) ใช้ประโยชน์และแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างอย่างยั่งยืน (3) จัดเตรียมเครื่องมือและแนวทางในการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน นำไปสู่ “การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล” และ “การฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาอย่างยั่งยืน”คำแสดงเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ปตท.
ปตท. ได้จัดทำแนวทางการประเมินความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และบริการของระบบนิเวศ กลุ่ม ปตท. โดยอาศัยหลักการบรรเทาผลกระทบในทุกขั้นตอนการดำเนินโครงการ ซึ่งประกอบด้วย
- การหลีกเลี่ยง: ปตท. ได้ดำเนินการตรวจสอบและกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบของโครงการต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งระบุไว้ในนโยบาย QSHE ของกลุ่ม ปตท.
- การลดผลกระทบ: ปตท. ได้จัดทำมาตรการลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศบริการ ทั้งการลดระยะเวลา ความรุนแรง และกำหนดขอบเขตของผลกระทบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
- การสร้างพื้นที่ใหม่: ปตท. ดำเนินโครงการปลูกป่าในบ่อกุ้งร้างในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่งผลให้เกิดระบบนิเวศป่าชายเลนขึ้นใหม่ ในปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ที่มีไม้ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์
- การฟื้นฟู: ปตท. ดำเนินโครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น ศูนย์การเรียนรู้ป่าวังจันทร์ และศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
- การเปลี่ยนแปลงพื้นที่: ปตท. ตระหนักและปกป้องการสูญเสียธรรมชาติ โดยสร้างความร่วมมือภายในกลุ่ม ปตท. พันธมิตรทางธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น ผ่านการเข้าร่วมโครงการปลูกป่า เช่น โครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ ของ ปตท. และพื้นที่โครงการ Our Khung Bangkachao
การบริหารจัดการผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ปตท. มีแนวทางในการบริหารจัดการ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการปกป้อง ป้องกัน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ตั้งแต่การพิจารณาผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ ดังนี้- บูรณาการการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพผ่านกระบวนการบริหารนโยบาย QSHE กลุ่ม ปตท.
- จัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อ่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพหรือพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากลที่ยึดถือปฏิบัติ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศของกลุ่ม ปตท.
- แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No-Net-Loss) ภายใต้ขอบเขตที่สามารถจัดการได้
- เสริมสร้างมูลค่าความหลากหลายทางชีวภาพ นอกเหนือจากภายในพื้นที่ปฏิบัติการหรือพื้นที่ใกล้เคียง ผ่านกิจกรรมการลงทุนเพื่อสังคมหรือการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง ละศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์
การแนวทางการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศ
ภายใต้ คำแสดงเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ปตท. ได้จัดทำแนวทางการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศขึ้น โดยอ้างอิงมาจากข้อกำหนดด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสากล เช่น International Finance Corporation Performance Standard 6 (IFC6), – Biodiversity Conservation and Sustainable Management of Living Natural Resources (2012) และ Business and Biodiversity Offset Program (BBOP) โดยครอบคลุมขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้- การประเมินความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศ
- การประเมินความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับโครงการใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
- การจัดทำแผนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงและอาจมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูง
- การติดตามตรวจสอบและการวัดผล
- การทบทวนและตรวจสอบการดำเนินงานเป็นประจำทุกปีเทียบกับแนวทางการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศและเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
การประเมินความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโครงการพัฒนา/ โครงการก่อสร้าง
การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ปฏิบัติการGRI304-1,GRI304-2,GRI304-3,GRI304-4
ผลจากการประเมินความเสี่ยง พบพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการประเมินความเสี่ยง ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีแดงของ IUCN และสถานภาพการอนุรักษ์ ตามเกณฑ์กำหนดของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และค่างแว่นถิ่นใต้ (Trachypithecus obscurus) รวมถึงมีปัจจัยขับเคลื่อนโดยตรงที่ส่งผลกระทบต่อความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Direct Drivers Biodiversity Loss) ในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการดำเนินกิจกรรมที่มีปล่อยก๊าซเรือนกระจก และได้จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP) เพื่อลดผลกระทบจากการดำเนินงาน และ BAP ได้รับการติดตามรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนให้ผู้บริหารเป็นระยะ นอกจากนี้ BAP ของโรงแยกก๊าซขนอม ถูกผนวกอยู่ในระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO14001 ซึ่งจะมีการตรวจประเมินระบบเป็นประจำทุกปี อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 ทั้งนี้ ในปี 2568 มีแผนทบทวนและปรับปรุงเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงให้ครอบคลุมด้านอื่น ๆ เช่น พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ที่มีความสำคัญสูงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ที่มีความสำคัญของระบบนิเวศ พื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการเชื่อมต่อของระบบนิเวศ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านน้ำ
รายละเอียดของพื้นที่ที่มีผลกระทบและความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด : โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม |
---|
- คุณค่าด้านสังคม (Social values): ให้การสนับสนุนวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น จากโครงการส่งเสริมด้านความรู้และการศึกษาให้กับคนในชุมชน และมีการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน - คุณค่าจากการใช้เพื่อการผลิต (Value of productive use): การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำเนินกิจกรรม เช่น ทรัพยากรน้ำ - คุณค่าด้านศีลธรรมและจริยธรรม (Moral and ethical values) มีความรับผิดชอบในการปกป้องสิ่งมีชีวิตอื่น จากกิจกรรมที่เก็บขยะ การส่งเสริม และมีมาตรการในการควบคุมผลกระทบจากการดำเนินงาน |
โดยแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย รายละเอียดแผนการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ ระยะเวลา และหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน เพื่อป้องกันผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ การให้ความรู้แก่พนักงาน ผู้ปฏิบัติงาน และชุมชนท้องถิ่นโดยรอบ นอกจากนี้ ได้มีการประเมินความเสี่ยง และจัดทำแผนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan) ของพื้นที่ปฏิบัติการของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมด้วย โดยอยู่ในระหว่างการทบทวนผลการประเมิน
ปตท. ยังสนับสนุนให้ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะข้อคิดเห็น ความคาดหวัง ข้อกังวลต่อรายงาน EIA มาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจน BAP โดยผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผ่านการตอบแบบสอบถามในช่วงการจัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย
จำนวนพื้นที่ | ขนาด (เฮกตาร์) | |
---|---|---|
พื้นที่ทั้งหมด
|
5 (100%) | 208.16 |
พื้นที่ที่มีความเสี่ยง | 5 (100%) | 7.52 |
พื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ | 1 (20%) | 7.52 |
พื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ | N/A | N/A |
พื้นที่ที่ระบบนิเวศกำลังเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว | N/A | N/A |
พื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำในระดับสูง | 5 (100%) | 208.16 |
พื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการให้บริการระบบนิเวศแก่ชนพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ | N/A | N/A |
พื้นที่ที่มีแผนบริหารจัดการความเสี่ยง | 1 | 7.52 |
รายงานสิ่งมีชีวิตตามบัญชีแดงของ IUCN (IUCN Red List species) และรายงานสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการอนุรักษ์แห่งชาติ(national conservation list) ที่มีถิ่นอาศัยและได้รับผลกระทบจากสถานประกอบกิจการ | 1 | 7.52 |
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
การบริหารจัดการในพื้นที่ผลกระทบและความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูงGRI 101-5 b
ในการจัดทำ/ ทบทวนแผนบริหารจัดการผลกระทบและความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ปตท. ได้ดำเนินการมาตรการลดผลกระทบตามลำดับขั้น (Mitigation Hierarchy Principle) โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินงาน ดังนี้
การหลีกเลี่ยง (Avoid)
มาตรการหลีกเลี่ยงการเกิดผลกระทบ/ ความเสี่ยงต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต กิจกรรมการดำเนินงานของโรงแยกก๊าซขนอม ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การเลือกตำแหน่งที่ตั้ง การออกแบบผังและการใช้พื้นที่ของกระบวนการผลิตและท่าเรือให้มีความเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ โดยมีการปรับพื้นที่ทางธรรมชาติให้น้อยที่สุด การเลือกเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตให้มีการใช้น้ำน้อยที่สุด และเกิดมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด
การลด (Minimize)
มีการกำหนดแผนการผลิตและมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ลดการผลิตในช่วงเวลากลางคืน เพื่อไม่ให้มีเสียงรบกวนสิ่งมีชีวิต การบำรุงรักษาอุปกรณ์เชิงป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังจากอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเกินค่าเฝ้าระวังและตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีการตรวจวัดระดับเสียงรบกวนเพื่อเฝ้าระวังเสียงที่อาจไปมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
การซ่อมแซมและฟื้นฟู (Restore and Rehabilitate)
มีการซ่อมแซมและฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ เช่น การปลูกป่าเสริมบริเวณเขาและรอบ ๆ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ การปล่อยพันธุ์ปลา สัตว์น้ำ การสนับสนุนราชการส่วนท้องถิ่นฟื้นฟูชายหาดและสภาพแวดล้อมบริเวณโรงแยกก๊าซ รวมถึงมีการส่งเสริมด้านความรู้และการศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
การชดเชย (Offset)
เพื่อชดเชยผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้นจากพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ปตท. ได้ดำเนินโครงการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ ทั้งจากโครงการปลูกป่าวัดกระดังงา ที่ได้รับการรับรอง โครงการ LESS จาก อบก. โครงการป่าชุมชนควนทอง จำนวนพื้นที่ 5 ไร่ และโครงการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของบริษัท 3 โครงการ ซึ่งมีรายละเอียดและความก้าวหน้า สรุปได้ ดังนี้
ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง กรุงเทพฯ
- ช่วงเวลาดำเนินการ : ปี 2558 - ปัจจุบัน
- พื้นที่ทั้งหมด : 12 ไร่
- พื้นที่ปลูก/ จำนวนต้นไม้ : พื้นที่ปลูกต้นไม้จำนวน 9 ไร่/ จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 60,197 ต้น
- วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ : เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการปลูกป่า การบำรุงรักษาป่า และระบบนิเวศป่าไม้ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้คนในเมือง
- ช่วงเวลาดำเนินการ : ปี 2558 - ปัจจุบัน
- พื้นที่ทั้งหมด : 351 ไร่ 35 ตารางเมตร
- พื้นที่ปลูก/ จำนวนต้นไม้ : พื้นที่ฟื้นฟูป่าธรรมชาติและมหัศจรรย์พรรณไม้ 42.96 ไร่/จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 215,297 ต้น (อ้างอิงจากข้อมูลการจ้างปลูกของบริษัท สยามภูมิทัศน์ จำกัด ปี 2558)
- พื้นที่ป่าเลียนแบบธรรมชาติ (ป่าคาร์บอนต้นแบบ) 132.9 ไร่/ จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 53,160 ต้น (ค่าประมาณการปลูก 400 ต้น/ 1 ไร่ ของการปลูกจริงในพื้นที่)
- พื้นที่โมเดลการปลูกป่า (ป่า 4 รูปแบบ) 43.30 ไร่/จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 6,260 ต้น (ค่าประมาณการปลูกแต่ละรูปแบบมีจำนวนต้นไม้ในการปลูกไม่เท่ากัน คำนวณจำนวนต้นจากความหนาแน่นของต้นไม้นที่จริงในปัจจุบัน)
- วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ : ส่งเสริมและผลักดันให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าด้านป่าและระบบนิเวศ เป็นพื้นที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านการปลูกป่าฟื้นฟูอย่างครบวงจร
- ได้รับประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการลด-คัดแยก และจัดการขยะอย่างเหมาะสม สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.848 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
- ช่วงเวลาดำเนินการ : ปี 2552 - ปัจจุบัน
- พื้นที่ทั้งหมด : 717.33 ไร่
- พื้นที่ปลูก/ จำนวนต้นไม้ : ปลูกต้นไม้ความหนาแน่น 600 ต้น/ไร่ จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 471,600 ต้น
- วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์: สร้างความตระหนักรู้และขยายผลความรู้ด้านการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบ
- ได้รับประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 6.878 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
- ช่วงเวลาดำเนินการ : ปี 2567
- พื้นที่ทั้งหมด : 38 ไร่
- พื้นที่ปลูก : เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีรูปแบบการปลูกเป็นตัวแทนของการฟื้นฟูป่าในเมืองและการฟื้นฟูป่าริมน้ำ (แม่น้ำเจ้าพระยา) แบ่งออกเป็น 9 รูปแบบ ได้แก่ 1. การปลูกป่าทฤษฎีมิยาวากิ 2. การปลูกเสริมเติมเต็มฟื้นฟูระบบนิเวศ 3. การอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าดิบแล้ง 4. ดงจาก ดงลำพู วิถีพืชดินเลน 5. กำแพงธรรมชาติ กรองฝุ่น กันลม 6.พื้นที่วิจัยแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น 7. สวนผลไม้คุ้งบางกะเจ้า 8. ไม้วงศ์ยาง และ 9. ป่าสร้างรายได้
- วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ : เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างแบบมีส่วนร่วม เชื่อมโยงกับจุดเรียนรู้ และอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนบางกะเจ้า รวมถึงเป็นพื้นที่พัฒนาองค์ความรู้ และเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับคุ้งบางกะเจ้า ปลูกฝังจิตสำนึกประชาชนทั่วไปในการดูแลระบบนิเวศ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการฯ
ปัจจุบัน ปตท. อยู่ระหว่างการศึกษาและจัดเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศตามตัวชี้วัดที่กำหนด ของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง และพื้นที่ที่มีการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ชดเชย เพื่อนำไปสู่ No-Net-Loss (NNL) และ Net-Positive-Impact (NPI)
โครงการ/ Initiatives ที่สำคัญ
การเสริมสร้างจิตสำนึกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transformative Action)
นอกเหนือจากการปลูกต้นไม้ใน 4 โครงการข้างต้น ปตท. ได้ดำเนินการปลูกและฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในทุกภูมิภาคของประเทศรวมทั้งหมด 1 ล้านไร่มาตั้งแต่ปี 2537 ภายใต้โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ จนถึงปัจจุบัน ปตท. ได้กำหนดเป้าหมายปลูกป่าบกและป่าชายเลนเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านไร่ รวมกับของกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573 ภายใต้แนวทางลดก๊าซเรือนกระจกที่ C3 Decarbonization Approaches เพื่อเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีทางธรรมชาติให้เพิ่มขึ้น และยังช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ รักษาและเพิ่มพูนความหลากหลายทางชีวภาพได้เป็นอย่างดี โดยในการปลูกและบำรุงรักษาป่าให้เกิดความยั่งยืน ปตท. ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของสังคม และชุมชนบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ปลูก เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลรักษา ตลอดจน สร้างจิตสำนึกและความรู้สึกหวงแหน การเป็นเจ้าของผืนป่า จึงริเริ่มให้มีการจ้างชาวบ้านที่มีภูมิลำเนาบริเวณพื้นที่ปลูกป่า มาเป็นคู่สัญญาในการรับจ้างปลูก และบำรุงรักษาป่าในโครงการปลูกป่าของ ปตท. ทั้งในรูปแบบสัญญาจ้างบุคคลทั่วไป และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นการสร้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ชี้แจงสร้างความเข้าใจเรื่องการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การให้คำปรึกษาในการบริหารจัดการกลุ่มฯ ตลอดจน ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายของกลุ่มฯ เช่น การจัดทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การสร้างป่าอย่างยั่งยืน การทำธนาคารเห็ดเผาะและแนวป้องกันไฟแบบป่าเปียกรวมถึงการพัฒนาความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจ ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ทั้งนี้ ในปี 2567ปตท.สามารถจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อมาเป็นคู่สัญญาในการปลูกและบำรุงรักษาป่าจำนวน 37 กลุ่ม ซึ่งในอนาคตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินการจัดตั้งนี้ จะเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งในพื้นที่ ในการดูแลรักษาป่าให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
นอกจากนี้ ปตท. ยังให้ความสำคัญของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ของ ปตท. อาทิ รางวัลลูกโลกสีเขียว เครือข่ายการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ตลอดจนโครงการต่างๆ ในด้านกิจการเพื่อสังคม ซึ่งจะมีพิจารณาให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่
การสำรวจเพื่อจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ
ปตท. ดำเนินโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสำรวจความหลากชนิดและความชุกชุมของสัตว์และพืชรอบพื้นที่สถานประกอบการของ ปตท. เพื่อวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของแต่ละพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อจัดทำชุดข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Data) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดทำแผนงาน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อฟื้นฟู พัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ และรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยมีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่สำรวจ ได้แก่ นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำ แมลง ปลา พืช และสัตว์ตระกูลครัสเตเชียน สำหรับการสำรวจที่ผ่านมา ได้คัดเลือกพื้นที่โดยใช้ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงฯ และประเด็นของชุมชน ได้แก่ โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม และพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท OR ได้แก่ สถานีเติมน้ำมันอากาศยานภูเก็ต คลังปิโตรเลียมสงขลา คลังปิโตรเลียมนครสวรรค์ คลังน้ำมันสระบุรี และคลังน้ำมันพิษณุโลก โดยมีที่ปรึกษาของโครงการ รวบรวมโดยสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (Bird Conservation Society of Thailand: BCST) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยและ NGOs จากการสำรวจพื้นที่โดยรอบโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ทำให้ค้นพบพืชล้มลุกที่เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย ที่มีชื่อว่า ม่วงขนอม (Microchirita involucrate (Craib) Yin Z.Wang var.gigantiflora C.Puglisi) พบเฉพาะในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้น นอกจากนี้ยังค้นพบผีเสื้อกลางคืนชนิดใหม่ของโลกในบริเวณคลังน้ำมันสระบุรี โดยได้รับการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gatesclarkeana thailandica พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
นอกจากนี้ ปตท. ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ดำเนินโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ บริเวณพื้นที่ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จ.กาญจนบุรี ตามแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ RC4000 KP0 – KP177.8 ในรัศมี 500 เมตร จากแนวท่อฯ ที่มีการฟื้นฟูพื้นที่โครงการตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่ามีพืชทั้งสิ้น 54 วงศ์ 140 สกุล 188 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุดคือ FABACEAE, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบทั้งสิ้น 10 อันดับ 25 วงศ์ 43 สกุล 53 ชนิด โดยอันดับที่พบมากที่สุด อันดับค้างคาว และพบ 2 ชนิดที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์สงวน ได้แก่เลียงผา และเก้งหม้อ และสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 39 ชนิด, สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบนทั้งสิ้น 15 ชนิด 11 สกุล 6 วงศ์ พบมากที่สุดคือ วงศ์กบทูด และสัตว์เลื้อยคลาน พบ 22 ชนิด 16 สกุล 8 วงศ์ จาก 2 อันดับ พบมากที่สุดคือ วงศ์จิ้งเหลน, แมลงกลางวันและกลางคืนพบไม่น้อยกว่า 350 ชนิด 292 สกุล 80 วงศ์ โดยอันดับที่พบมากที่สุดคือผีเสื้อ, แมลงน้ำพบไม่น้อยกว่า 46 ชนิด 43 สกุล 27 วงศ์ พบมากที่สุดคือ อันดับแมลงปีกแข็ง, แมลงหน้าดิน พบไม่น้อยกว่า 137 ชนิด 99 สกุล 11 อันดับ, ปลาน้ำจืด พบ 11 อันดับ 20 วงศ์ 36 สกุล 43 ชนิด พบมากที่สุดคือ อันดับปลาตะเพียน เมื่อดำเนินการสำรวจแล้วเสร็จ ปตท. ได้รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่สำรวจพบ นำเสนอข้อมูลต่อผู้นำชุมชนบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ปท.8, เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหลีกเลี่ยงลดผลกระทบ ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ อีกทั้ง สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพรวมไปถึงการบริหารจัดการของพื้นที่ร่วมกับชุมชนต่อไปในอนาคต
การประยุกต์ใช้ แนวทาง Recommendation of the Taskforce on Nature-related Financial Disclosures (TNFD)
บริษัท ปตท. ได้นำแนวทางจากTaskforce on Nature-related Financial Disclosures (TNFD) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสด้านธรรมชาติผ่านกรอบ LEAP Approach (Locate, Evaluate, Assess, Prepare) ซึ่งจากการดำเนินงานตามแนวทางนี้ พบว่า โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งและพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยการประยุกต์ใช้ LEAP Approach ช่วยให้ ปตท. สามารถ
- Locate: ระบุตำแหน่งและขอบเขตของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงด้านธรรมชาติ
- Evaluate: ประเมินการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติของโรงแยกก๊าซและผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่
- Assess: วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ
- Prepare: วางแผนกลยุทธ์เพื่อจัดการความเสี่ยง เช่น การปรับปรุงมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่
การบริหารจัดการผลกระทบกรณีเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล
สำหรับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล ปตท. และกลุ่ม ปตท. มีแนวทางการบริหารจัดการผลกระทบร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดยดำเนินการบรรเทาผลกระทบ เฝ้าระวัง และติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนการฟื้นฟูทั้งระยะสั้นและระยะยาวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนของเหตุการณ์ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันรั่วไหลจากแหล่งมอนทารา ปตท.สผ. ได้ร่วมจัดทำแนวทางบรรเทาผลกระทบ และมีการสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานวิจัยอิสระภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลออสเตรเลีย และในปี 2565 ได้มีแนวทางในการบรรเทาผลกระทบ และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลดังกล่าว
การสร้างเครือข่ายกำหนดนโยบายภาครัฐและสร้างองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพSDGs 12.2, 14.2, 15.2, 15.5
ปตท. ร่วมมือกับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในการกำหนดกลยุทธ์การอนุรักษ์และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่บุคคลภายนอก เช่น ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ สถาบันศึกษา และองค์กรเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2567 พื้นที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้ง 3 แห่งของ ปตท. ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ และศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ได้ถูกคัดเลือกเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเบื้องต้น และประเมินเป็นพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMS) โดย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกหลายภาคส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย Siamensis และ Save Wildlife Thailand เป็นต้น รวมถึงชุมชนท้องถิ่น โดยที่ผ่านมาได้จัดทำโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อศึกษาและรวบรวมความหลากหลายชนิดของสัตว์และพืชรอบพื้นที่สถานประกอบการของ ปตท. ในแต่ละฤดูกาล รวมทั้งการศึกษาการบริการของระบบนิเวศป่าชายเลนศูนย์สิรินาถราชินี บริเวณพื้นที่แปลงปลูกป่าฯ FPT 29 และ FPT 29/3 ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า-คลองคอย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้รับการฟื้นฟูและปลูกป่าจากพื้นที่นากุ้งร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ให้เป็นพื้นที่ป่าที่มีความสมบูรณ์
ทั้งนี้ในการประเมินความสมบูรณ์ของป่าชายเลนจะเน้นศึกษาให้เห็นถึงการฟื้นตัวของป่าปลูกและป่าธรรมชาติ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ เพื่อศึกษาการบริการของระบบนิเวศ จากการเป็นแหล่งวัตถุดิบ เช่น เป็นแหล่งทรัพยากรทางยา ด้านการควบคุม ได้แก่ การควบคุมคุณภาพอากาศ การควบคุมภูมิอากาศ การบำบัดของเสีย และการหมุนเวียนธาตุอาหาร ด้านการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย คือการเป็นแหล่งอนุบาล และด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การเป็นแหล่งนันทนาการ ทั้งในรูปของการให้บริการโดยตรงและมูลค่าในรูปของตัวเงิน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ในการประเมินความสมบูรณ์ของป่าชายเลนจะเน้นศึกษาให้เห็นถึงการฟื้นตัวของป่าปลูกและป่าธรรมชาติ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ เพื่อศึกษาการบริการของระบบนิเวศ จากการเป็นแหล่งวัตถุดิบ เช่น เป็นแหล่งทรัพยากรทางยา ด้านการควบคุม ได้แก่ การควบคุมคุณภาพอากาศ การควบคุมภูมิอากาศ การบำบัดของเสีย และการหมุนเวียนธาตุอาหาร ด้านการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย คือการเป็นแหล่งอนุบาล และด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การเป็นแหล่งนันทนาการ ทั้งในรูปของการให้บริการโดยตรงและมูลค่าในรูปของตัวเงิน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืนชื่อพันธมิตรภายนอก / องค์กร | คำอธิบาย | ความร่วมมือด้านการประเมิน / การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ |
---|---|---|
กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
|
|
คณะทำงานด้านการจัดการสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ |
|
|
|
ดำเนินโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ รอบพื้นที่สถานประกอบการของ ปตท. |
|
|
ดำเนินโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ บริเวณพื้นที่ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จ.กาญจนบุรี |
|
กรมควบคุมมลพิษ | จัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติด้านการควบคุมมลพิษ และแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการมลพิษ และมาตรการในการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ รวมถึงติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและจัดทำรายงานสถานการณ์มลพิษ |
|
องค์กรผู้ใช้น้ำเครือข่ายรัก(ษ์)แม่น้ำปราณ | การทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล อนุรักษ์ และฟื้นฟูแม่น้ำปราณบุรีและความหลากหลายทางชีวภาพริมฝั่งแม่น้ำ |
|
ความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
“ปตท. สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นระบบ โดยมีบทบาทเป็นผู้นำในการสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและอนุรักษ์ทรัพยากร ถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในระยะยาว”
ดร. ชญานันท์ ภักดีจิตต์
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
“ศูนย์ฯสิรินาถราชินีที่บริหารงานโดย ปตท. เป็นองค์กรที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่นในกรณีของ เครือข่ายรัก(ษ์)แม่น้ำปราณ ซึ่งมีภารกิจหลักคือ การร่วมกันดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำปราณบุรี ซึ่งมีความยาวของแม่น้ำประมาณ 60 กิโลเมตร โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตความรับผิดชอบของทางศูนย์ฯสิรินาถราชินีตามภารกิจหลัก แต่เนื่องด้วยแม่น้ำปราณบุรีเป็นระบบนิเวศที่มีความเชื่อมโยงกับชุมชน อีกทั้งระบบนิเวศริมฝั่งแม่น้ำไปจนถึงพื้นที่ทะเลและชายฝั่งบริเวณปากแม่น้ำปราณบุรีเป็นภูมินิเวศที่มีความสำคัญเชื่อมโยงต่อการคงอยู่ของป่าชายเลนและชุมชนชายฝั่งอย่างมีนัยสำคัญ ศูนย์ฯสิรินาถราชินีได้ใช้เวลาหลายปีช่วยสร้างลายแทงขุมทรัพย์และสร้างให้ชุมชนได้เห็นความสำคัญของพื้นที่ภาพรวมในรูปแบบของฐานข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของระบบนิเวศในพื้นที่นี้ โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชุมชนทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเป็นอย่างมาก โดยชุมชนสามารถนำฐานข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อต่อยอดในงานอนุรักษ์และส่งเสริมชุมชนให้มีรายได้จากความหลากหลายทางชีวภาพนี้ได้ด้วยความยั่งยืนอย่างแท้จริง ต้องขอขอบคุณ ศูนย์ฯสิรินาถราชินี ปตท. เป็นอย่างสูงครับ”
คุณพิษณุพงษ์ เหล่าลาภผล
ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ”
การดำเนินงานในอนาคต
- ทบทวนและปรับปรุงคำแสดงเจตจำนงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
- จัดทำเครื่องมือและทบทวนแนวทางการประเมินความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และบริการของระบบนิเวศ กลุ่ม ปตท. หรือ No-Net-Loss
- ค้นหาแนวทางการประเมินการสร้างมูลค่าเชิงบวก (Net Positive Impact) ต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการทางระบบนิเวศ
- ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BAP) ของพื้นที่ปฏิบัติการใหม่ที่มีระดับความเสี่ยงสูง
ข้อมูลที่เปิดเผยในหน้านี้ได้รับการทวนสอบโดยหน่วยงานอิสระภายนอก
-
การกำกับดูแลความยั่งยืน
- กลยุทธ์ นโยบาย และการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน
- การกำกับดูแลและธรรมาภิบาล
- การปฏิบัติที่เป็นธรรม
- ระบบการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
- การบริหารความเสี่ยงเเละภาวะวิกฤต
- การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- เครือข่ายด้านความยั่งยืน
- การเปิดเผยข้อมูลและการประเมินผลด้านความยั่งยืน
- ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
- มิติด้านเศรษฐกิจ
- มิติด้านสิ่งแวดล้อม
- มิติด้านสังคม