การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
![]() ![]() ![]() |
ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ
ในการประกอบกิจกรรมการดำเนินงานของ ปตท. ในทุกพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งอาคารสำนักงาน ตลอดจนพื้นที่ปฏิบัติการที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อให้เกิดขยะหรือของเสียประเภทต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน หรือสังคมได้ ไม่มากก็น้อย ปตท. จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเพื่อควบคุม ป้องกันและลดของเสียที่แหล่งกำเนิด ทั้งที่เป็นของเสียอันตรายและไม่อันตราย
ที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยยึดหลัก 5RS ซึ่งประกอบไปด้วย REDUCE (ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) REUSE (การใช้ซ้ำ) RECYCLE (การแปรรูปมาใช้ใหม่) RENEWABLE (การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน) และ REFUSE (การปฏิเสธการใช้สารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) อีกทั้งประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (CIRCULAR ECONOMY) ซึ่งเป็นหนึ่งใน “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) มาต่อยอดการจัดการของเสียอย่างครบวงจร สอดคล้องตามนโยบายของประเทศ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดและกำจัดของเสียของบริษัท ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในระยะยาว
ปตท. ตระหนักดีว่า การบริหารจัดการของเสียอย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ทุกภาคส่วนในประเทศต้องดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นระบบและจริงจัง ปตท. จึงพร้อมเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและยกระดับอย่างต่อเนื่องต่อไป
วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย
ปตท. กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ควบคุมปริมาณของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรมที่กำจัดโดยวิธีการฝังกลบให้เป็นศูนย์* ซึ่งกลุ่ม ปตท. ได้ร่วมกันดำเนินการตั้งแต่ปี 2558 จนบรรลุเป้าหมายแล้วในปี 2563 จากนั้นได้ขยายผลการตั้งเป้าหมายไปยังปริมาณของเสียไม่อันตรายจากอุตสาหกรรมที่กำจัดโดยวิธีการฝังกลบต้องเป็นศูนย์ภายในปี 2566
นอกจากนี้ ยังกำหนดเป้าหมายระยะยาว ประจำปี 2573 ยกระดับการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ตามมาตรฐาน BS 8001:2017 มาประยุกต์ใช้ในกลุ่ม ปตท. เพื่อบริหารจัดการของเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า ดังนี้
- ระดับการประยุกต์ใช้หรือ Maturity Level เท่ากับ 3 ภายในปี 2573
- ปริมาณของเสีย** ที่ถูกจัดการแบบหมุนเวียนของกลุ่ม ปตท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี พ.ย. 2573
หมายเหตุ:
*ไม่รวมของเสียอุตสาหกรรมจากการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
1. กรณีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ หน่วยงานราชการไม่อนุญาตให้ส่งของเสียอุตสาหกรรมกำจัดด้วยวิธีอื่น
2. กรณีไม่สามารถนำของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ประโยชน์ได้เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีในประเทศรองรับ
ทั้งนี้สอดคล้องกับเกณฑ์รางวัลการใช้ประโยชน์ของเสียได้ทั้งหมด (Zero Waste to Landfill Achievement Award) โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
** ไม่รวมของเสียที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามปกติ (Non-routine waste)
แนวทางการบริหารจัดการGRI 306-2 (2020)
ปตท. บริหารจัดการของเสีย ภายใต้ การบริหารจัดการด้าน SSHE โดยกำหนดนโยบาย เป้าหมายระยะยาวและประจำปี ตลอดจนติดตามตรวจวัดและกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ นโยบาย เป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งมีการทบทวนประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามโครงสร้างกำกับดูแลด้าน SSHE ที่กำหนดเป็นรายไตรมาส รวมทั้งจัดทำรายงานต่อหน่วยงานราชการ และเปิดเผยข้อมูลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบอย่างโปร่งใสและต่อเนื่องปตท. มุ่งเน้นบริหารจัดการของเสียทั้งที่เป็นของเสียอันตรายและไม่อันตราย โดยยึดหลัก 5RS ซึ่งประกอบไปด้วย REDUCE (ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) REUSE (การใช้ซ้ำ) RECYCLE (การแปรรูปมาใช้ใหม่) RENEWABLE (การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน) และ REFUSE (การปฏิเสธการใช้สารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) เพื่อควบคุม ป้องกันและลดของเสียที่แหล่งกำเนิดให้มากที่สุด อีกทั้งประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (CIRCULAR ECONOMY) ตามมาตรฐาน BS8001:2017 มาบูรณาการเข้าไปในขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่ การพัฒนาธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ การออกแบบกระบวนการผลิต การก่อสร้าง การปฏิบัติการ การขนส่ง การนำไปใช้และเลิกใช้งาน การกำจัดซาก อย่างครบวงจร โดยเน้นให้มีการนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดของเสียน้อยที่สุด
โครงการ/ Initiatives ที่สำคัญ
การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามมาตรฐาน BS8001:2017
ในการยกระดับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กรให้มี Maturity Level อ้างอิงตาม British Standards Institution: Framework for implementing the principles of the circular economy in organizations – Guide (BS 8001 : 2017) ในระดับที่ 3 ภายในปี 2573
นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. ยังได้ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางและโอกาสในการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยในแต่ละปี จะคัดเลือกแนวทางมาศึกษาและทดลองปฏิบัติร่วมกัน ภายใต้ “โครงการนำร่องด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ปตท. (Turning potential project to Business Model)” สำหรับในปี 2565 ปตท. ได้ร่วมกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ศึกษา พัฒนานวัตกรรม และดำเนินโครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
- การนำกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว จำนวนประมาณ 1,527 กระป๋อง คิดเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล 509.2 กิโลกรัม มาผลิตกรวยจราจร จำนวน 760 ชิ้น เพื่อนำมาใช้งานทดแทนกรวยจราจรในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
- การนำกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว จำนวนประมาณ 16,740 กระป๋อง คิดเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล 5,580 กิโลกรัม เพื่อนำมาใช้ผลิตวัสดุทดแทนไม้ (Wood Plastic Composite) ซึ่งนำมาใช้ติดตั้งเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับร้าน Fit Auto จำนวน 9 สาขา
- ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายนอกกลุ่ม ปตท. ในการนำน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วกลับมาผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกเพื่อทดแทนน้ำมันเตาจำนวน 700,000 ลิตร
การศึกษาฐานข้อมูลของเสียของกลุ่ม ปตท. เพื่อให้สนับสนุนเป้าหมายของเสียเป็นศูนย์
ปตท. ได้นำข้อมูลการจัดการของเสียอันตรายและไม่อันตรายจากอุตสาหกรรมของบริษัทในกลุ่ม ปตท. มาวิเคราะห์แนวโน้มและจัดทำฐานข้อมูลวิธีการจัดการของเสีย เพื่อประเมินแนวทางการปรับปรุงวิธีส่งกำจัด รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจจากการรีไซเคิลและการจัดการของเสีย โดยจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในกลุ่ม ปตท. เช่น การสกัดโลหะมีค่าด้วยสารเร่งปฏิกริยา เพื่อผลิตเป็นผงสีเซรามิก ก่อให้เกิดมูลค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น ซึ่งการแบ่งปันความรู้ดังกล่าว สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางให้แก่กลุ่ม ปตท. เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ภายในบริษัทของตนเองต่อไป ทั้งนี้ สำหรับของเสียที่จำเป็นต้องส่งกำจัดนั้น ปตท. ได้ดำเนินการส่งกำจัดของเสียตามมาตรฐานและกฎหมายที่กำหนดการจัดการของเสียไม่อันตราย
ปตท. ให้ความสำคัญกับกระบวนการคัดแยกของเสียในทุกพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยมีการเตรียมถังขยะรองรับการแยกของเสียแต่ละประเภท ได้แก่ ถังขยะอินทรีย์ ถังขยะทั่วไป ถังรีไซเคิล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการสื่อความและแบ่งปันความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้แก่พนักงานในการลดของเสีย รวมไปถึงการคัดแยกผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งเว็บไซต์และสิ่งพิมพ์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมรณรงค์ ในทุกพื้นที่ปฏิบัติการทั่วประเทศ โดยในปี 2565 ได้ให้ความสำคัญกับการคัดแยกหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นขยะติดเชื้อ เพื่อใช้สำหรับป้องกันโรคโควิด 19 จากพนักงานในสถานประกอบการ นอกจากนี้ ปตท. ยังเข้าร่วมโครงการวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thailand Responsible Business Network: TRBN) โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้องค์กรภาคเอกชนที่มีสำนักงานตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต ร่วมมือกันในการบริหารจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพิ่มอัตราการนำกลับมาใช้ใหม่ และลดปริมาณของเสียที่จะนำไปสู่หลุมฝังกลบการจัดการของเสียที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ปตท.
กลุ่ม ปตท. มีความมุ่งมั่นที่จะรวบรวมขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด โดย ปตท. และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันลงนามใน “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาการนำขยะพลาสติกจากร้านคาเฟ่ อเมซอน ไปใช้ประโยชน์ในโครงการนำร่อง” ผ่านการคิดค้น วิจัย พัฒนา และจัดทำเครื่องต้นแบบรับแก้วพลาสติกคาเฟ่ อเมซอน (แก้วแลกยิ้ม) ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี QR CODE สำหรับคัดแยกแก้วพลาสติกของร้านคาเฟ่ อเมซอน เพื่อรวบรวมและนำกลับไปใช้ประโยชน์ ผลิตเป็นแก้ว Tumbler Upcycling โดยได้ติดตั้งเครื่องต้นแบบแก้วแลกยิ้มที่อาคารสำนักงานในศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ โดยในปี 2565 สามารถรวบรวมแก้ว PET พลาสติกได้กว่า 923 ใบ หากนำไปผลิตเป็นแก้ว Tumbler Upcycling จะสามารถผลิตได้กว่า 153 ใบ สามารถลดปริมาณขยะพลาสติก โดยนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้กว่า 18 กิโลกรัม คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 19 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าพันธมิตรและความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ
กลุ่ม ปตท. ร่วมกับเครือโรงพยาบาลสินแพทย์ในการร่วมเปิดโครงการ “เรารักโลก โลกรักคุณ” ในการตั้งจุดเก็บซองยาพลาสติกใช้แล้วจากโรงพยาบาลในเครือสินแพทย์จำนวน 4 จุด เพื่อนำซองยาพลาสติกกลับมา Upcycling เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ทดแทนการส่งกำจัดตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานและรางวัลที่สำคัญGRI 306-3 (2020), GRI 306-4 (2020), GRI306-5 (2020)
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของ ปตท.
ปริมาณของเสียไม่อันตรายจากการดำเนินงานประจำวันของกลุ่ม ปตท. ที่นำไปกำจัด (ตัน)
![]() |
ปริมาณของเสียจากการดำเนินงานประจำวันของ ปตท.
ปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดที่ส่งกำจัด (ตัน) |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายทั้งหมดที่ส่งกำจัด (ตัน) |
|
|
ปริมาณของเสียที่ไม่ได้มาจากการดำเนินงานประจำวันของ ปตท.
ของเสียอันตรายทั้งหมดที่ส่งกำจัด (ตัน) |
ของเสียไม่อันตรายทั้งหมดที่ส่งกำจัด (ตัน) |
|
|
หมายเหตุ:ปี 2565 ปริมาณของเสียไม่อันตรายเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานก่อสร้างโครงการ PTT GSPLM Phase II และโครงการ RTO
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกลุ่ม ปตท.
ปริมาณของเสียอันตรายที่นำไปฝังกลบ และร้อยละของปริมาณของเสียอันตรายจากการดำเนินงานประจำวันที่นำไปฝังกลบต่อของเสียอันตรายทั้งหมดจากการดำเนินงานประจำวันที่ส่งกำจัด ของ กลุ่ม ปตท.
หัวข้อ | หน่วย | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 |
---|---|---|---|---|---|
ปริมาณของเสียอันตรายที่นำไปฝังกลบอย่างปลอดภัยของกลุ่ม ปตท. | ตัน | 211.75 | 0 | 0 | 0 |
ปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดของกลุ่ม ปตท. | ตัน | 80,933.10 | 94,775.12 | 36,310.67 | 68,376.23 |
เป้าหมายของปริมาณของเสียอันตรายที่นำไปฝังกลบอย่างปลอดภัยของกลุ่ม ปตท. ต่อปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดของกลุ่ม ปตท. |
ร้อยละ | 1.15 | 0 | 0 | 0 |
ปริมาณของเสียอันตรายที่นำไปฝังกลบอย่างปลอดภัยของกลุ่ม ปตท. ต่อปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดของกลุ่ม ปตท. |
ร้อยละ | 0.26 | 0 | 0 | 0 |
หมายเหตุ:
ปริมาณของเสียอันตรายที่นำไปฝังกลบ ครอบคลุมบริษัทในกลุ่ม ปตท. 7 บริษัท ประกอบด้วย PTT, PTTEP, IRPC, GC, TOP, GPSC และ OR
ปริมาณของเสียของกลุ่ม ปตท. จากการดำเนินงานประจำวัน
ปริมาณของเสียอันตรายที่ส่งกำจัด (ตัน) |
ปริมาณของเสียอันตรายที่ส่งกำจัด
|
|
|
ปริมาณของเสียอันตรายที่นำไปฝังกลบอย่างปลอดภัย (ตัน) |
ปริมาณของเสียอันตรายที่กำจัดด้วยวิธีการเผา (ตัน) |
|
|
ปริมาณของเสียอันตรายที่ส่งกำจัดโดยวิธีการอื่น ๆ
|
ปริมาณของเสียอันตรายที่ส่งกำจัด
|
![]() |
![]() |
ปริมาณของเสียอันตรายที่ส่งกำจัด
|
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งกำจัด
|
|
|
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งไปกำจัด (ตัน) |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งกำจัด
|
|
|
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่นำไปฝังกลบ (ตัน) |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่กำจัดด้วยวิธีการเผา (ตัน) |
|
|
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งกำจัดโดยวิธีการอื่น ๆ
|
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งกำจัด
|
![]() |
![]() |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งกำจัด
|
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งกำจัด
|
![]() |
![]() |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งกำจัดโดยวิธีการอื่น ๆ
|
|
![]() |
หมายเหตุ:
ขอบเขตข้อมูลครอบคลุมบริษัทในกลุ่ม ปตท. 7 บริษัท ประกอบด้วย PTT, PTTEP, IRPC, GC, TOP, GPSC และ OR
ข้อมูลที่เปิดเผยในหน้านี้ได้รับการทวนสอบโดยหน่วยงานอิสระภายนอก สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่
การทบทวนปรับปรุงที่สำคัญในรอบปีที่ผ่านมา
ปตท. ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงวิธีการจัดการของเสีย โดยควบคู่ไปกับการดูแลสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อควบคุมปริมาณของเสียอันตรายและไม่อันตรายจากอุตสาหกรรมที่กำจัดโดยวิธีการฝังกลบให้เป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นค้นคว้าวิจัย แสวงหาและต่อยอดโครงการนำร่องการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์หรือโมเดลธุรกิจใหม่ในเชิงพาณิชย์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่ม ปตท. เพื่อช่วยลดปริมาณของเสียส่งกำจัดและมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาว เป็นการสร้างคุณค่าร่วมให้กับสังคม ชุมชน และประเทศชาติอย่างยั่งยืน
ในปี 2565 กลุ่ม ปตท. ได้ร่วมกันศึกษาหาโอกาสจากการนำของเสียจากโรงกลั่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักการของ Circular Economy ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อคัดเลือกของเสียจากกระบวนการภายในโรงกลั่นน้ำมันที่มีศักยภาพในการนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ทดแทนการส่งกำจัดในรูปของเสียอันตราย ซึ่งโครงการดังกล่าวจะได้ต่อยอดในการดำเนินการร่วมกับพันธมิตรอื่นๆภายนอกกลุ่ม ปตท. และดำเนินการโครงการต้นแบบก่อนดำเนินการจริงในปีต่อ ๆ ไป
-
การกำกับดูแลความยั่งยืน
- กลยุทธ์ นโยบาย และการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน
- การกำกับดูแลและธรรมาภิบาล
- การปฏิบัติที่เป็นธรรม
- ระบบการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
- การบริหารความเสี่ยงเเละภาวะวิกฤต
- การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- เครือข่ายด้านความยั่งยืน
- การเปิดเผยข้อมูลและการประเมินผลด้านความยั่งยืน
- มิติด้านเศรษฐกิจ
- มิติด้านสิ่งแวดล้อม
- มิติด้านสังคม