การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
![]() ![]() ![]() |
ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ
ปตท. ต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านความมั่งคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (SSHE) จากหลากหลายสถานการณ์และความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 กิจกรรมหรือการดำเนินการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจมากระทบกับอุปกรณ์หรือพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท. จนเกิดอุบัติเหตุ อุปกรณ์ในกระบวนการผลิตที่มีอายุการใช้งานยาวนาน เหล่านี้ล้วนมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การเสียชีวิต หรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน การหยุดชะงักของกระบวนการทำงานที่สำคัญ จนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน รวมถึงอาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประเทศ สังคม ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ นับเป็นความท้าทายที่ช่วยสร้างโอกาสให้ ปตท. เร่งรัดยกระดับการบริหารจัดการด้านความมั่งคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อพร้อมรับสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกรูปแบบในอนาคตไม่ให้ส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ปตท. มุ่งเน้นการบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยงด้าน SSHE อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยนำหลักการและเครื่องมือทางวิศวกรรมตามมาตรฐานสากล กฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ มาใช้ในการชี้บ่งอันตราย ประเมินความเสี่ยง และควบคุมอันตรายจากกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การออกแบบ การใช้งาน การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การทดสอบ และการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์รวมถึงสารเคมีอันตราย ทั้งในกิจกรรมการดำเนินงานที่ ปตท. ดำเนินการเอง รวมถึงที่ดำเนินการโดยผู้รับเหมา เช่น ผู้รับเหมาซ่อมบำรุง ผู้รับเหมาขนส่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยกำหนดให้มีการบริหารจัดการด้วยวิธีการและรูปแบบต่าง ๆ เพื่อจัดการความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในระบบการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย
ปตท. ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ โดยกำหนดนโยบายคุณภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (QSHE) เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงาน พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้าน QSHE ประจำปีและระยะยาวที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ (Zero Accident) ในปี 2573 โดยได้วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท ตลอดจนกำหนดแผนงานและตัวชี้วัดในระดับองค์กรที่วัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารทุกระดับเพื่อสะท้อนถึงสมรรถนะการบริหารจัดการและมีความสอดคล้องตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล ซึ่งจะถ่ายทอดไปยังระดับสายงานในแต่ละหน่วยธุรกิจเพื่อนำไปพิจารณากำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องตามบริบทขององค์กร
ปตท. จะทำการทบทวนเป้าหมายการดำเนินงานด้าน QSHE ประจำปีพร้อมกันกับนโยบาย ด้าน QSHE เป็นประจำทุกปี และทบทวนเป้าหมายการดำเนินงานระยะยาวเป็นประจำทุก 5 ปี
เป้าหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท.
เป้าหมายระยะยาวด้านความปลอดภัยของกลุ่ม ปตท.
|
เป้าหมายปี |
|
อัตราการบาดเจ็บจากการทำงาน (TRIR) (ครั้ง/200,000 ชั่วโมงการทำงาน)
|
พนักงาน | 0.040 |
ผู้รับเหมา | 0.048 | |
อัตราการเจ็บป่วยจากการทำงาน (TROIR) (ครั้ง/200,000 ชั่วโมงการทำงาน) |
พนักงาน | 0.072 |
แนวทางการบริหารจัดการ
นโยบาย QSHE ของ ปตท.
ปตท. กำหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSHE) กลุ่ม ปตท. ซึ่งอนุมัติโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการ วางแผน กำหนดเป้าหมาย กำกับ ควบคุมกระบวนการทำงาน การบำรุงรักษา การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) ผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้มีการจัดการความเสี่ยงและต่อยอดโอกาส เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศและเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเสริมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุลและต่อเนื่อง โดยกำหนดให้นโยบาย QSHE เป็นกรอบในการบริหารจัดการด้าน QSHE สำหรับ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ให้สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งเน้นการดำเนินการอย่างจริงจัง ดังต่อไปนี้
- ประยุกต์ใช้นโยบาย QSHE ครอบคลุมพนักงานและผู้รับเหมาทุกคนตลอดสายโซ่อุปทานของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. เพื่อให้ปฏิบัติสอดคล้องตามกฎหมาย ระเบียบและข้อกำหนดขององค์กร มาตรฐานสากล เช่น ISO45001, ISO14001 เป็นต้น และพันธสัญญาที่เกี่ยวข้อง
- ประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้าน QSHE ประจำปีและระยะยาว เพื่อนำมากำหนดแผนงานและตัวชี้วัดระดับองค์กร โดยกำหนดให้มีการวัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารทุกระดับ
- บริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความสูญเสียจากอุบัติการณ์ต่อชีวิต ทรัพย์สิน กระบวนการผลิต และโลจิสติกส์ ส่งเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีของพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- บริหารจัดการความเสี่ยง ปกป้อง ป้องกัน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
- สื่อสารผลการดำเนินงานและประสิทธิผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างโปร่งใส เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความตระหนัก รวมถึงการรับฟังความต้องการและความคาดหวัง เปิดโอกาสให้พนักงานและผู้รับเหมามีส่วนร่วมและให้ข้อแนะนำ เพื่อนำมาทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้บริหารทุกระดับต้องมีการกำกับดูแลและเป็นแบบอย่างที่ดี
- กำหนดให้พนักงานและผู้รับเหมาทุกคนต้องรับทราบ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติ
- มุ่งทบทวนและพัฒนาการบริหารจัดการด้าน QSHE อย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้มีการทบทวนนโยบาย เป้าหมาย และแผนงานด้าน QSHE เป็นประจำทุกปี โดยหน่วยงาน QSHE Corporate ดำเนินการทบทวนปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและให้ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ หน่วยงานคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมระดับสายงาน (QSHE Business Area: QSHE BA) เข้ามามีส่วนร่วมในการทบทวนนโยบายฯ กลั่นกรองผ่านคณะกรรมการจัดการของ ปตท. และลงนามโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะกรรมการอีกตำแหน่งหนึ่ง
นโยบาย มาตรฐานการจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท.
โครงสร้างกำกับดูแล/ กลไก/ กระบวนการบริหารจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
โครงสร้างการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ปตท. มีกลไกในการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ตั้งแต่การถ่ายทอดนโยบาย เป้าหมาย มาตรการการจัดการด้าน SSHE ไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร แต่ละหน่วยธุรกิจจะควบคุมดูแลการนำไปปฏิบัติในสายงาน พื้นที่ปฏิบัติการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามคู่มือระบบการจัดการ SSHE รวมทั้งขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ โดยมีหน่วยงาน QSHE ระดับสายงาน ซึ่งขึ้นตรงกับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ในแต่ละสายงาน เช่น สายงานแยกก๊าซธรรมชาติ สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และสายงานสถาบันนวัตกรรม ปตท. เป็นต้น และหน่วยงาน QSHE ที่ดูแลหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท. ทำหน้าที่ผลักดัน ส่งเสริม ให้คำปรึกษา และติดตามการดำเนินงานตามเป้าหมาย แผนงาน และตัวชี้วัดที่กำหนด โดยมีการรายงานให้ผู้บริหารทั้งในระดับพื้นที่ สายงาน และหน่วยธุรกิจ พิจารณาทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพเป็นประจำทุกไตรมาส
กระบวนการบริหารจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยGRI403-1
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และอาชีวอนามัย ของ ปตท. จะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการด้าน SSHE มีการกำหนดนโยบาย มาตรฐานการจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท. ซึ่งอ้างอิงมาตรฐานและแนวปฏิบัติของประเทศไทยและระดับสากลที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายระยะยาวและประจำปี ตลอดจนติดตามตรวจวัดและกำกับดูแลผลการดำเนินงานตามกฎหมาย มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล เพื่อทบทวนประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามโครงสร้างกำกับดูแลที่กำหนด รวมทั้งจัดทำรายงานต่อหน่วยงานราชการ และเปิดเผยข้อมูลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบอย่างโปร่งใสและต่อเนื่อง
ปตท. กำหนดให้ทุกพื้นที่ปฏิบัติงานหลักไม่ว่าจะเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สถานีหลัก/สถานีแม่ของระบบเครือข่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ประยุกต์ใช้และขอการรับรองมาตรฐาน ISO45001:2018 จากสถาบันการรับรองมาตรฐานสากล (สรอ.) หรือ Management System Certification Institute (Thailand) (MASCI)
การบริหารจัดการความปลอดภัยของ ปตท. ครอบคลุมทั้งความปลอดภัยส่วนบุคคล ความปลอดภัยในกระบวนการผลิต และความปลอดภัยในการขนส่ง โดยมีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
ปตท. ให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานและผู้รับเหมาด้านความปลอดภัยด้วยการกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กร ภายใต้ระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และเป้าหมายประจำปีสำหรับควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของทั้งกลุ่ม ปตท. ยิ่งไปกว่านั้น ปตท. ยังมุ่งเน้นยกระดับการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงของภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่หลากหลาย ความเสี่ยงเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจและความปลอดภัยของพนักงาน
ปตท. ได้พัฒนาและประยุกต์ใช้เครื่องมือร่วมกับมาตรฐานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เน้นการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยผ่านระบบรายงาน อุบัติการณ์ ซึ่งรวมถึงอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near Miss) และการกระทำหรือสภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (Sub-Standard Act/ Conditions) บนระบบ Intranet ซึ่งสามารถบันทึกเหตุการณ์ วิเคราะห์และสอบสวนหาสาเหตุหลัก ปตท. ยังจัดทำมาตรการแก้ไขและป้องกัน แบบออนไลน์ รวมไปถึงการแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กรเพื่อเป็นแนวทางป้องกันเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคต นอกจากนี้ ปตท. ได้อนุญาตให้พนักงานและผู้รับเหมาสามารถหยุดปฏิบัติงานได้เมื่อพบว่างานที่กำลังปฏิบัติไม่ปลอดภัย (Refuse to Work) โดยไม่ได้ถือเป็นความผิด และให้สิทธิ์ในการแจ้งหยุดงานเมื่อพบว่ามีพนักงานหรือผู้รับเหมากำลังปฏิบัติงานที่อาจเป็นอันตราย (Stop work Authority)
ความปลอดภัยของพนักงานGRI403-1
ปตท. มีการเสริมสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรตามกฎหมายให้แก่พนักงานและผู้รับเหมาทุกคน และปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยที่กำหนด รวมทั้งดำเนินโครงการ Incident Injury Free (IIF) ที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการบูรณาการแก้ไขปัญหาตามหลัก IIF ทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนงาน (Planning ) การประเมิน (Assessment) การสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) การสร้างทักษะ (Skills) และการดำเนินโครงการอย่างยั่งยืน (Sustaining) รวมทั้งโครงการสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในสายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
รวมถึงการนำกฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ปตท. (PTT Life Saving Rules) ไปใช้ในการปฏิบัติงานทุกช่วงเวลาการทำงาน โดยการสื่อความ เน้นย้ำ และนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับงาน นอกจากนี้ ปตท. ได้ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ซึ่งได้ระบุกระบวนการและขั้นตอนในการพัฒนาวัฒนธรรมด้าน SSHE ภายในองค์กรอย่างชัดเจน และให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมดังกล่าวผ่านการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เช่น การสังเกตการปฏิบัติงาน การสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เป็นต้น ตลอดจน ปตท. ยังคงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการจัดการอาชีวอนามัย กลุ่ม ปตท. (PTT Group Occupational Health Management System) อย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากล ใช้เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย และพัฒนาระบบการวัดผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยในเชิงรุกที่เรียกว่า Health Performance Indicators หรือ HPI เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย โดยมีการพัฒนายกระดับงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมความเข้าใจของพนักงานและผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งยังได้พัฒนาคู่มือ/แนวทางการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย อาทิ แนวทางการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยของกลุ่ม ปตท. (PTT Group Occupational Health Management System Guideline) เพื่อใช้เผยแพร่ให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย และปรับปรุงให้แนวทางในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health Risk Assessment) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้นำมาใช้ในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานและผู้ปฏิบัติงานของ ปตท. อันเนื่องมาจากการสัมผัสหรือได้รับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จากการทำงาน รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและลดระดับของความเสี่ยงด้านสุขภาพ รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสุขภาพอาชีวอนามัยให้แก่พนักงานเป็นประจำทุกปี ร่วมกับมาตรการการให้ความรู้ โดยอบรมให้ความรู้พนักงานก่อนเข้าปฏิบัติงาน ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ที่มีโอกาสสัมผัสกับอันตราย ปตท. กำหนดให้มีการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้พนักงานและผู้รับเหมามีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์
การระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการสืบสวนอุบัติเหตุGRI403-2
ปตท. มุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยกำหนดแผนงานและเป้าหมายระยะยาวในการป้องกันและควบคุมความสูญเสียจากอุบัติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายอุบัติเหตุที่เกิดการบาดเจ็บต่อพนักงานและผู้รับเหมาถึงขั้นหยุดงาน อุบัติเหตุด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตและอุบัติเหตุจากการขนส่งต้องเป็นศูนย์ กำหนดกระบวนการบริหารควบคุมความเสี่ยงตั้งแต่การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงและลดผลกระทบ ประกอบด้วยการกำหนดมาตรฐานการทำงานเทียบเท่ามาตรฐานสากล
การบริการจัดการข้อมูลสุขภาพGRI403-3
ปตท. ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยแบบดิจิทัล เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการจัดเก็บรายงานและบันทึกผลการตรวจสุขภาพอาชีวอนามัย (PTT Health Reporting System) โดยกำหนดรายการตรวจสุขภาพอาชีวอนามัยตามปัจจัยเสี่ยงร่วมกับแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health Risk Assessment: HRA) ตามข้อมูลลักษณะงานและความเสี่ยงทั้งทางด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยา ที่มีผลกระทบด้านสุขภาพของพนักงานในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท. โดยสามารถนำข้อมูลผลการตรวจสุขภาพอาชีวอนามัยจากระบบฐานข้อมูล มาใช้ในการวิเคราะห์ กำหนดแผนงานด้านอาชีวอนามัย การจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้ง การปรับปรุงผลการประเมินตัวชี้วัดสมรรถนะด้านสุขภาพ (Health Performance Index: HPI) เพื่อยกระดับระบบการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยของ ปตท. ให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล
การมีส่วนร่วม การให้คำปรึกษา และการสื่อสารGRI403-4
ปตท. มีการสื่อสารผลการดำเนินงานและประสิทธิผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างโปร่งใส เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความตระหนัก รวมถึงการรับฟังความต้องการและความคาดหวังโดยเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้รับเหมามีส่วนร่วมในการให้ข้อแนะนำและขอคำปรึกษาผ่านช่องทางระบบข้อร้องเรียนของ ปตท. และผ่านการประเมินระดับวัฒนธรรมด้าน QSHE ขององค์กร เพื่อนำมาทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต
อุบัติเหตุในกระบวนการผลิตสามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมได้อย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง รวมถึงส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น กลุ่ม ปตท. จึงมุ่งเน้นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น ไฟไหม้ ระเบิด หรือสารเคมีอันตรายรั่วไหลสู่ภายนอก ด้วยการใช้ระบบ “การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต” หรือ Process Safety Management (PSM) ที่มุ่งเน้นให้มีการออกแบบกระบวนการผลิตและก่อสร้างโรงงานอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานสากล พนักงานเดินเครื่องจักรอย่างปลอดภัยตามคู่มือปฏิบัติการ รวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานสากล
ระบบ PSM ถูกถ่ายทอดการดำเนินการผ่านระบบบริหารจัดการของ ปตท. หรือ PTT Integrated Management System (PIMS) และระบบปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศ หรือ Operational Excellence Management System (OEMS) ที่เชื่อมโยงไปสู่ผู้รับผิดชอบหลักที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เช่น หน่วยงานวิศวกรรม (Engineering) หน่วยงานปฏิบัติการผลิต (Operation) หน่วยงานซ่อมบำรุง (Maintenance) และหน่วยงาน SSHE เป็นต้น ซึ่งแบ่งตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้สอดคล้องตามหัวข้อการจัดการที่เกี่ยวข้อง
กลุ่ม ปตท. บริหารจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิตอย่างเคร่งครัด โดยมีคณะทำงานความปลอดภัยกระบวนการผลิต กลุ่ม ปตท. (PTT Group Process Safety Management Task Force) เป็นเครือข่ายผู้บริหารและพนักงานของบริษัทในกลุ่ม ปตท. รวมกว่า 40 คน ประกอบด้วย ปตท., PTTEP, GC, IRPC, TOP, GPSC, OR, PTTTANK, PTTLNG, PTTAC และ TTM ที่ผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกัน ทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการดำเนินงานด้านเทคนิคและแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ในการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต และการเรียนรู้จากบทเรียนและข้อผิดพลาดที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง (Lesson Learned) ทั้งในกลุ่ม ปตท. และกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 กลุ่ม ปตท. ยังคงดำเนินการพัฒนากระบวนการตรวจสอบมาตรการควบคุม (Barrier validation) เหตุการณ์อุบัติเหตุร้ายแรง (Major Accident Event: MAE) อย่างต่อเนื่องจากปี 2564 ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการประยุกต์ใช้เทคนิค Bow Tie Analysis สำหรับการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตในพื้นที่ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจากปี 2562 ถึงปัจจุบัน โดยกระบวนการตรวจสอบมาตรการควบคุมมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้มั่นใจว่ามาตรการควบคุม MAE ในระบบการจัดการความเสี่ยงของพื้นที่ปฏิบัติการมีประสิทธิภาพที่ดีและอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานตามฟังก์ชันที่กำหนด ทั้งมาตรการควบคุมประเภทอุปกรณ์ (Equipment barrier) และบุคคล (Human barrier) รวมถึงดำเนินการปรับปรุงมาตรการควบคุมกรณีพบข้อบกพร่อง ให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ มาตรการควบคุม MAE ที่มีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานจะสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ลดการหยุดชะงักในกระบวนการผลิต ทำให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้างพื้นที่ปฏิบัติการ โดยโครงการนี้ได้ดำเนินงานร่วมกับที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบมาตรการควบคุม MAE ในพื้นที่นำร่องเพิ่มเติมจำนวน 1 พื้นที่และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของแต่ละบริษัทซึ่งเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตในพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่ม ปตท. มีการกำหนดและเก็บข้อมูลตัวชี้วัดเชิงรุกและเชิงรับด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Leading and Lagging Indicators) โดยกำหนดวิธีการและแนวทางการเก็บข้อมูลตามมาตรฐานสากล API RP 754 และมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดเชิงรับ (Process Safety Event Tier 1 และ 2) เป็นเป้าหมายประจำปีด้าน QSHE ของบริษัทในกลุ่ม ปตท. และติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำหนดมาตรการการแก้ไขและป้องกันการสูญเสียจากอุบัติเหตุกระบวนการผลิตได้อย่างทันท่วงที
ความมั่นคงปลอดภัย
ปตท. ได้กำหนดมาตรฐานการบริหารความมั่นคงปลอดภัยกลุ่ม ปตท. และแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยกลุ่ม ปตท. เพื่อเป็นกรอบการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยให้สอดคล้องกันทั้งองค์กร ครอบคลุมทุกพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. โดยมีการทบทวนแนวทางให้สอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ปี 2554 พร้อมทั้งพัฒนาวิธีปฏิบัติงานเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของบุคลากรและสินทรัพย์ เพื่อใช้เป็นขั้นตอนการดำเนินงานของทั้งกลุ่ม ปตท. โดยมีคณะผู้ตรวจประเมินความมั่นคงปลอดภัย กลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัย จาก กลุ่ม ปตท. มาสนับสนุนในการดำเนินการตรวจประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการตรวจประเมินความมั่นคงปลอดภัยกลุ่ม ปตท. และนำผลจากการตรวจประเมินและข้อร้องเรียนการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปตท. ได้ประสานงานกับเครือข่ายหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อดำเนินงานด้านการข่าว และสามารถขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ทันท่วงที โดยจัดให้มีการซ้อมแผนด้านความมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท. ควบคู่ไปกับการซ้อมแผนฉุกเฉินเป็นระยะ เพื่อเตรียมความพร้อมและสามารถบริหารเหตุฉุกเฉินได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ปตท. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ด้านหลัก ๆ ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการ และการนำนวัตกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยเข้ามาประยุกต์ใช้ โดยมีตัวอย่างการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น
- การพัฒนาศักยภาพบุคลากร: การจัดประชุมวิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัย การฝึกอบรมหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัย ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอก จัดการซ้อมแผนฉุกเฉินด้านความมั่นคงปลอดภัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และการเข้าร่วมการตรวจประเมินความมั่นคงปลอดภัย
- การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการ: การจัดทำแนวทางการบริหารความมั่นคงปลอดภัย กลุ่ม ปตท. และวิธีการจัดการในกระบวนการต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกรอบการบริหารความมั่นคงปลอดภัย กลุ่ม ปตท. เช่น การประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัย การตอบสนองของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกลุ่ม ปตท. (Security Officer Response Options: SORO) ที่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
- การนำนวัตกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัย: การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารความมั่นคงปลอดภัย เช่น ระบบ Visitor Management, CCTV, Access Control เป็นต้น รวมทั้งยังได้มีการทดสอบการใช้งานระบบ Face Recognition การประยุกต์ใช้ Geological Information System เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านความมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้เป็นการทดสอบเพื่อจะนำมาปรับใช้ภายในองค์กร เพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ปตท. ตระหนักถึงประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้านความมั่นคง จึงกำหนดมาตรการด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนไว้อย่างชัดเจนในนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท. ซึ่งครอบคลุมถึงการปกป้องชีวิต ทรัพย์สิน และข้อมูลขององค์กร ตลอดจนจัดหลักสูตรอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผ่านข้อกำหนดงานจ้างเหมารักษาความปลอดภัย ปตท. เช่น ศิลปะการป้องกันตัว และการตรวจค้นบุคคล เป็นต้น และมีการตรวจสอบการดำเนินงานเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผ่านการตรวจประเมินความมั่นคงปลอดภัยกลุ่ม ปตท. เพื่อยืนยันว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทราบถึงสิทธิในหน้าที่และปฏิบัติงานโดยไม่ให้เกิดการละเมิดในสิทธิของบุคคลอื่นขึ้น
การจัดการความปลอดภัยการขนส่ง
ปตท. และกลุ่ม ปตท. ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทั้งทางถนน ทางราง และทางน้ำ เพื่อมุ่งสู่ Zero Accident โดยในปี 2565 ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการขนส่งให้กับพนักงานขับรถ พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนชุมชนให้มีความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้น ดังนี้
1) จัดทำมาตรฐาน คู่มือการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการขนส่ง ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการทบทวนมาตรฐานการขนส่งทางรางให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล Regulation Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Rail (RID)
2) สนับสนุนและผลักดันการนำระบบ Marine Terminal Information System (MTIS) มาใช้ในกลุ่ม ปตท. พร้อมทั้งจัดให้มีการแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice Sharing) ด้านความปลอดภัยในการขนส่งทางเรือ โดยมีผู้แทนจากบริษัทในกลุ่ม ปตท. และบริษัทผู้ขนส่งทางเรือเข้าร่วมกว่า 170 คน
3) นำระบบประมวลผลพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ Advanced Safety Vehicle (ASV) มาติดตั้งในรถยนต์ส่วนกลางของ ปตท.
4) จัดโครงการ Safe Driving Challenge ปี 2565 สำหรับพนักงานและผู้รับเหมาที่ขับขี่รถยนต์ ปตท. โดยใช้ระบบ ASV ในการประเมินและติดตามพฤติกรรมการขับขี่ และมีการมอบรางวัลให้กับผู้ที่มีพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 587 คน
5) จัดกิจกรรม Risk in Road Safety เพื่อส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการขนส่งให้กับผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรายงานจุดเสี่ยงที่พบในเส้นการขนส่ง โดยระบุความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในบริเวณนั้น
- ปตท. ตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาจุดเสี่ยงจากระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่ผู้ขนส่งรายงาน และข้อมูลสถิติอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงนั้น หากพบว่ามีความเสี่ยงสูง ปตท. จะสำรวจพื้นที่และตรวจประเมินความเสี่ยงโดยละเอียด
- นำผลจากการประเมินจุดเสี่ยงของพื้นที่มาพิจารณากำหนดมาตรการแก้ไข ป้องกัน หรือมาตรการลดความเสี่ยง ในกรณีที่จุดเสี่ยงนั้นมีความเสี่ยงสูง
- สื่อความข้อมูลจุดเสี่ยงให้กับผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์ฯ ทราบผ่านคณะทำงาน PTT Group Transportation Safety Management Taskforce
- มอบรางวัลให้กับผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์และพนักงานขับรถตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยในปี 2565 มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 65 คน และได้มีการรายงานจุดเสี่ยงจำนวน 95 จุด
6) จัดโครงการขับดีมีสุข ปี 2565 ในพื้นที่จังหวัดระยอง โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 กิจกรรมย่อย ดังนี้
- จัดอบรมเทคนิคการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับขี่ฯ ให้กับนักเรียนและประชาชนทั่วไป โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 437 คน พร้อมทั้งพัฒนา Application: Smart Rider สำหรับกิจกรรมการแข่งขันสะสมระยะทางการขับขี่ปลอดภัย โดยมีการมอบรางวัลสำหรับผู้ที่ขับขี่ปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีผู้ที่ได้รับรางวัล จำนวน 3 คน
- ขยายผลกิจกรรม Risk in Road Safety โดยนำข้อมูลจุดเสี่ยงของจังหวัดระยอง จากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จังหวัดระยอง และข้อมูลอุบัติเหตุย้อนหลัง 3 ปี จากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนนทั้งภาครัฐและเอกชนมาพิจารณา พบว่ามีจุดที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 5 จุด จึงนำมาจัดทำมาตรการลดความเสี่ยง เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อไป
ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานและรางวัลที่สำคัญ
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท.
ตัวชี้วัด | เป้าหมายปี 2565 | ผลการดำเนินงานปี 2565 |
---|---|---|
อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Accident: LTA) (คน) |
พนักงานและผู้รับเหมา เท่ากับ 0 | พนักงาน 5 ผู้รับเหมา 18 |
อัตราการบาดเจ็บรวมของพนักงาน (TRIR) ครั้งต่อสองแสนชั่วโมงทำงาน | พนักงาน: ไม่เกิน 0.053 | 0.047 หรือคิดเป็น 0.235 ต่อ 1 ล้านชั่วโมงทำงาน |
อัตราการบาดเจ็บของผู้รับเหมา (TRIR) ครั้งต่อสองแสนชั่วโมงทำงาน | ผู้รับเหมา: ไม่เกิน 0.072 | 0.066 หรือคิดเป็น 0.460 ต่อ 1 ล้านชั่วโมงทำงาน |
จำนวนอุบัติเหตุรถขนส่งผลิตภัณฑ์ขั้นร้ายแรง* (Major Truck Accident Rate) (ครั้งต่อ 1,000,000 กิโลเมตร) |
ไม่เกิน 0.000 | 0.008 |
จำนวนและปริมาณการหกรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีลดลงทุกปี | 0 ครั้ง | 0 ครั้ง |
การควบคุม ติดตาม ตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม |
|
ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามมาตรการฯ ระยะก่อสร้างครบถ้วนร้อยละ 100 |
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน Lost-time injuries frequency rate (LTIFR) ของ ปตท.
(คนต่อ 1,000,000 ชั่วโมงการทํางาน)
ปี |
2562 |
2563 |
2564 |
2565 |
---|---|---|---|---|
พนักงาน | 0 | 0.15 | 0 | 0 |
ผู้รับเหมา | 0.11 | 0.15 | 0 | 0 |
อัตราการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดแล้วต้องหยุดงาน หรือเปลี่ยนไปทำงานอื่น
หรือไม่สามารถทำงานเดิมได้ Days Away/Restricted or Transfer Rate (DART) ของ ปตท.
(คนต่อ 200,000 ชั่วโมงการทํางาน)
ปี |
2562 |
2563 |
2564 |
2565 |
---|---|---|---|---|
พนักงาน | 0 | 0.03 | 0 | 0 |
ผู้รับเหมา | 0.025 | 0.029 | 0 | 0 |
จำนวนอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน Lost Workday Case (LWC)
(คนต่อ 200,000 ชั่วโมงการทํางาน)
ปี |
2562 |
2563 |
2564 |
2565 |
---|---|---|---|---|
พนักงาน | 0 | 0.03 | 0 | 0 |
ผู้รับเหมา | 0.025 | 0.029 | 0 | 0 |
อัตราวันทำงานที่สูญเสีย Lost Workday Rate (LWD) ของ ปตท.
(คนต่อ 200,000 ชั่วโมงการทํางาน)
ปี |
2562 |
2563 |
2564 |
2565 |
---|---|---|---|---|
พนักงาน | 0 | 0.09 | 0 | 0 |
ผู้รับเหมา | 0.11 | 0.537 | 0 | 0 |
อัตราการบาดเจ็บทั้งหมด Total Recordable Injury Frequency Rate (TRIFR) ของ ปตท.
(คนต่อ 1,000,000 ชั่วโมงการทํางาน)
ปี |
2562 |
2563 |
2564 |
2565 |
---|---|---|---|---|
พนักงาน | 0.305 | 0.445 | 0 | 0.315 |
ผู้รับเหมา | 0.19 | 0.545 | 0.2 | 0.195 |
อุบัติเหตุกระบวนการของกลุ่ม ปตท. Tier 1 (คร้ัง)
![]() |
หมายเหตุ:
- ขอบเขตข้อมูลครอบคลุมบริษัท PTT, PTTEP, TOP, GPSC, IRPC, OR, GC
- การรายงานอุบัติเหตุในกระบวนการผลิตระดับ Tier 1 และ Tier 2 ของกลุ่ม ปตท. อ้างอิงตามมาตรฐานของสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (American Petroleum Institute: API) API RP 754
ตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมที่สำคัญ
การบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานSDGs 8.8
- การทบทวนและส่งเสริมการนำกฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ปตท. (PTT Life Saving Rules) เพื่อให้ทุกพื้นที่นำไปปฏิบัติตลอดเวลาการทำงาน โดยมีการสื่อความ เน้นย้ำ และนำไปปฏิบัติใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะงานในทุกพื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท. ให้เกิดความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ โดยส่งเสริมให้มีการติดตามและสังเกตการปฏิบัติงาน ตรวจสอบการประเมินความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน รวมทั้ง การรายงานสภาพ/ การกระทำที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หากพบว่ามีการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับกฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐานฯ นอกจากนี้ ภายใต้กฎความปลอดภัยดังกล่าว ปตท. อนุญาตให้พนักงานและผู้รับเหมาสามารถหยุดปฏิบัติงานได้หรือมีสิทธิ์ปฏิเสธงานอันตราย (Right to Refuse Work) เมื่อพบว่างานที่กำลังปฏิบัติไม่ปลอดภัย โดยไม่ได้ถือเป็นความผิด และให้สิทธิ์ในการสั่งหยุดงานอันตราย (Stop Work Authority) เมื่อพบว่ามีพนักงานหรือผู้รับเหมากำลังปฏิบัติงานที่อาจเป็นอันตราย โดยจากการรณรงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐานฯ ทำให้จำนวนอุบัติเหตุจากการทำงานลดลง และไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานในปี 2565
- การสร้างความตระหนักรู้ของพนักงานและผู้รับเหมา
ปตท. มีการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการฝึกอบรมที่หลากหลายให้แก่พนักงานและผู้รับเหมาทุกราย โดยปี 2565 มีการอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยพื้นฐานที่เป็นภาคบังคับให้กับพนักงานใหม่ ผู้บริหารและหัวหน้างาน ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับพนักงานใหม่ จำนวน 12 รุ่น (SSHE1 Training) การอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน จำนวน 1 รุ่น การอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร จำนวน 1 รุ่น และการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) จำนวน 1 รุ่น รวมถึงการอบรมด้านความปลอดภัยให้ผู้รับเหมาทุกครั้งก่อนเข้าปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ - การพัฒนาระบบการวัดผลตัวชี้วัดสมรรถนะทางด้านสุขภาพในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย (Health Performance Indicators หรือ HPI)
เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยของกลุ่ม ปตท. ในเชิงรุก โดยคณะทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของกลุ่ม ปตท. ได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางการตรวจประเมิน HPI เพื่อให้นำไปปฏิบัติใช้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันของกลุ่ม ปตท. และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานและผู้ปฏิบัติงานของ ปตท. อันเนื่องมาจากการสัมผัสหรือได้รับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จากการทำงาน และกำหนดมาตรการควบคุมและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพดังกล่าว อาทิ การตรวจสุขภาพอาชีวอนามัยให้แก่พนักงานเป็นประจำทุกปี การจัดอบรมความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน การกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และการจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมกับอันตรายและความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการปฏิบัติงาน รวมทั้ง การจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพของพนักงานและผู้รับเหมา เพื่อให้มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง - การบริหารจัดการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19)
ศูนย์ติดตามและเฝ้าระวังกรณีโรคอุบัติใหม่ COVID-19 (ศูนย์พลังใจ ปตท.) ดำเนินการบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยให้พนักงานและบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้แก่ ปตท. อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ COVID-19 ดังนี้- ติดตามข้อมูลสถานการณ์แนวโน้มการแพร่ระบาด จำนวนผู้ติดเชื้อและบุคคลกลุ่มเสี่ยงรวมทั้ง ประกาศมาตรการและแนวปฏิบัติจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมากำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อให้เหมาะสมกับสถานการณ์แพร่ระบาด
- ประกาศมาตรการและแนวปฏิบัติในการเข้าปฏิบัติงานพื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท. โดยเคร่งครัด แนวปฏิบัติในการรายงานการเป็นผู้ติดเชื้อหรือบุคคลกลุ่มเสี่ยง รวมทั้ง แนวปฏิบัติตามมาตรการพื้นฐาน (Universal Prevention) เช่น สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างหรือทำความสะอาดมือ รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น
- ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และจัดให้มีช่องทางการติดต่อกับศูนย์พลังใจฯ ที่เข้าถึงได้ง่ายในการให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือด้านสุขภาพ เช่น Call Center, Official LINE, ศูนย์พลังใจฯ และ Email ศูนย์พลังใจฯ เป็นต้น
- จัดหาวัคซีนและสถานที่ฉีดวัคซีนให้พนักงาน บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้แก่ ปตท. และครอบครัวของพนักงาน เข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ
PTT Group Bow Tie Analysis and Barrier ValidationSDGs 8.8
ในปี 2565 กลุ่ม ปตท. ได้ดำเนินการต่อเนื่องในการพัฒนากระบวนการตรวจสอบมาตรการควบคุม เหตุการณ์อุบัติเหตุร้ายแรง (Major Accident Event: MAE) ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการประยุกต์ใช้เทคนิค Bow Tie Analysis สำหรับการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตในพื้นที่ปฏิบัติการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 โดยกระบวนการตรวจสอบมาตรการควบคุมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการควบคุม MAE มีประสิทธิภาพที่ดีและอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานตามฟังก์ชันที่กำหนด ทั้งประเภทอุปกรณ์ และบุคคล รวมถึงการปรับปรุงมาตรการควบคุมกรณีพบข้อบกพร่อง ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ มาตรการควบคุม MAE ที่มีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานจะสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ลดการหยุดชะงักในกระบวนการผลิต ทำให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และยังช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้างพื้นที่ปฏิบัติการได้ด้วย โดยมีการประยุกต์ใช้ “คู่มือ PTT Group Barrier Validation Guideline” และเพิ่มพื้นที่นำร่องในการดำเนินการ Barrier Validation จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ บริษัท พี ที ที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ทำให้ทราบสถานะและนำไปแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องที่ตรวจพบรวมถึงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของแต่ละบริษัท ซึ่งเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตในพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท. และกลุ่ม ปตท.
การบริหารความปลอดภัยในการขนส่งผลิตภัณฑ์SDGs 3.6
มีการติดตั้งอุปกรณ์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อช่วยในการติดตามและเฝ้าระวังพฤติกรรมการขับรถอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยศูนย์ควบคุมการขนส่งและมีการจัดกิจกรรม Risk in Road Safety เพื่อส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการขนส่งให้กับผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รายงานจุดเสี่ยงที่พบในเส้นการขนส่ง เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการประเมินจุดเสี่ยงและกำหนดมาตรการป้องกัน พร้อมทั้งมอบรางวัลให้กับผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์และพนักงานขับรถตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อให้มั่นใจในการนำไปปฏิบัติ ได้กำหนดให้มีการตรวจประเมินการบริหารจัดการบริษัทผู้ขนส่งตามมาตรฐานคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัยในการขนส่งทางรถยนต์ กลุ่ม ปตท. (PTT Group Road Safety Management Guideline: RSMG) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งจากบริษัทคู่สัญญา และในปี 2565 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินของกลุ่ม ปตท. เพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจประเมินการบริหารจัดการด้านขนส่งกับบริษัทผู้ขนส่งในกลุ่ม ปตท. จำนวน 5 บริษัท เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสร้างมาตรฐานการตรวจประเมิน RSMG ของกลุ่ม ปตท. ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทางเรือ ได้ผลักดันการนำระบบ MTIS (Marine Terminal Information System) มาใช้งานในกลุ่ม ปตท. โดยให้มีการทำ Best practice sharing เกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่งทางเรือ โดยมีตัวแทนจากบริษัทในกลุ่ม ปตท. และบริษัทผู้ขนส่งทางเรือเข้าร่วมกว่า 170 คน
การบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน ภาวะวิกฤต และความต่อเนื่องทางธุรกิจSDGs 3.6
ปตท. ปรับปรุงแผนการจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤต ของ ปตท. ให้มีความสอดคล้องกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ในปี 2564 เพื่อให้สามารถบูรณาการประสานความร่วมมือและเชื่อมโยงข้อมูลด้านต่าง ๆ กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2565 ปตท. นำแผนการจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤต ของ ปตท. มาดำเนินการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและภาวะวิกฤตระดับจังหวัด จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่การฝึกซ้อมฯ ครั้งที่ 1 วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ฝึกซ้อมในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง กรณีเกิดเหตุรถแบ็คโฮขุดไปกระแทกท่อส่งก๊าซอีเทน (Ethane) ขนาด 16 นิ้ว ของบริษัท GC ท่อ Fuel Gas ขนาด 16 นิ้ว และท่อส่งโพรเพน (Propane) ของ ปตท. ส่งผลให้ก๊าซรั่วไหลและติดไฟ ซึ่งการฝึกซ้อมฯ ในครั้งนี้ มีประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ (ปธต.) เป็นผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย (ปธป.) เป็นรองผู้อำนวยการ ตามโครงสร้างศูนย์บริหารจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤต กลุ่ม ปตท. (PTT Group Emergency Management Center: GEMC) มีการเชื่อมต่อ GEMC ไปยังศูนย์บริหารจัดการเหตุฉุกเฉินของสายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสายงานแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. (Emergency Management Center Business Area: EMC BA-TSO , EMC-GSP) และศูนย์บริหารจัดการเหตุฉุกเฉินของบริษัท GC (EMC-GC) ผ่านระบบ VDO Conference
การฝึกซ้อมฯ ครั้งที่ 2 วันที่ 23 สิงหาคม 2565 ฝึกซ้อมในพื้นที่ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี กรณีเกิดเหตุคนงานขุดเจาะถนน บริเวณใกล้องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ ความลึกประมาณ 2 เมตร ไปกระแทกท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาด 42 นิ้ว ส่งผลให้ก๊าซรั่วไหลและติดไฟ จึงเปิดศูนย์บริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน ปตท. (EMC) และมีการประสานงานไปยังศูนย์บริหารจัดการเหตุฉุกเฉินของสายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (EMC BA) ผ่านระบบ VDO Conference
การซ้อมแผนฉุกเฉินและภาวะวิกฤตระดับจังหวัด ทั้ง 2 ครั้งนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมฯ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ มีการบูรณาการกระบวนการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤตให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และบริหารจัดการให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังได้ทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ ปตท. (Business Continuity Management System: BCMS) พร้อมทั้งฝึกซ้อมแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 กรณีแท่น Erawan Central Processing Platform (ERCPP) และ Erawan Riser Platform (ERP) ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่น ทำให้ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas: NG) ไปยังโรงแยกก๊าซธรรมชาติ (Gas Separation Plant: GSP) เป็นเวลา 97 วัน โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ปธบ.) เป็นประธานการฝึกซ้อมฯ และมีผู้บริหารตามโครงสร้างศูนย์บริหารจัดการภาวะวิกฤตและบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Critical Management Center: CMC) เข้าร่วมการฝึกซ้อมฯ ด้วย มีการประสานไปยังศูนย์บริหารจัดการเหตุฉุกเฉินของกลุ่มธุรกิจ (EMC) รวมถึงบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) ผ่านระบบ VDO Conference นอกจากนี้ยังได้รับการตรวจประเมินภายในระบบ BCMS โดยคณะผู้ตรวจประเมินภายในของ ปตท. ในช่วงเดือนกันยายน และได้รับการตรวจประเมินภายนอกตามมาตรฐานสากล ISO22301 โดยสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งผลการตรวจประเมินฯ ไม่พบข้อบกพร่องที่สำคัญ