ความยั่งยืน

นวัตกรรมและความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์

ความยั่งยืน

นวัตกรรมและความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน





ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจขององค์กร การเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้องค์กรจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงทั้งเชิงบวกและเชิงลบแก่องค์กร ถึงแม้ว่าการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจจะมีส่วนทำให้คุณภาพสินค้าและการบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และรวมถึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาด้านนวัตกรรมขององค์กร เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในธุรกิจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้องค์กรต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ เงินทุน ทักษะ และทรัพยากรที่มีค่าอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การคาดการณ์ความต้องการของตลาดที่ไม่ถูกต้องทำให้บริษัทขาดทุน ต้นทุนของนวัตกรรมที่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการพัฒนานวัตกรรมหลายอย่างพร้อมกัน เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อทิศทางการจ้างงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจัยที่มีผลในการขับเคลื่อนทางธุรกิจที่สำคัญและสามารถส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั่วโลก อาทิ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม การนำหุ่นยนต์มาทำงานแทนที่มนุษย์ รวมถึงการนำระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในปัจจุบัน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเทคโนโลยีก็ถือเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้มนุษย์พัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในส่วนที่เทคโนโลยีไม่สามารถเข้ามาแทนที่ได้

สำหรับผลกระทบของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อภาคอุตสาหกรรมนั้นค่อนข้างมีความชัดเจน อาทิเช่น ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ในการควบคุมดูแลเครื่องจักรกลทางการผลิต เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการจ้างงาน การขยายตัวทางเศรษฐกิจและชุมชนเมือง แต่ในขณะเดียวกันอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นของแรงงานจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง เกิดเป็นชุมชนอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้ยากต่อการจัดการทรัพยากรหรือเกิดมลภาวะได้ นอกจากนี้การนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก หรือพึ่งพาเทคโนโลยีจากประเทศอื่นๆ เพียงอย่างเดียว อาจก่อให้เกิดการเสียดุลทางการค้า ดังนั้นการพัฒนาและการสร้างเทคโนโลยีขึ้นเองจะช่วยให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศมีรายได้และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ปตท. มีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ขององค์กรใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2564 จากเดิม “Thai premier multinational energy company” เป็น “Powering life with future energy and beyond” หลังจากวิสัยทัศน์เดิมใช้มากว่า 10 ปี ซึ่งปัจจุบันได้ขับเคลื่อนองค์กรจนบรรลุเป้าหมายแล้ว ทั้งการเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ใหญ่ที่สุดในประเทศและทำธุรกิจที่ติดอันดับโลก โดยติดอันดับจากฟอร์จูน 500 และเป็น National Energy Company สำหรับวิสัยทัศน์ใหม่จะเน้น Powering life คือ การเป็นองค์กรที่ให้พลังขับเคลื่อนกับคนและประเทศ ซึ่งสะท้อนตัวตนของ ปตท.ที่จะก้าวต่อในอนาคตกับพลังงานใหม่และที่เกินกว่านั้น (Future Energy and Beyond) โดย ปตท. มีการสนับสนุนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมจากหน่วยงานทั่วทั้งองค์กร สำหรับแนวทางการสร้างนวัตกรรมของ ปตท. นั้น เป็นไปอย่างหลากหลาย อาทิเช่น ผลงานใหม่ที่มีหน่วยงานภายในองค์กรเป็นเจ้าของ สามารถดำเนินการพัฒนาในหน่วยงานได้เอง (Inside-Out) หรือสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเทคโนโลยีผ่านสถาบันนวัตกรรม ปตท. หรือหน่วยงานพัฒนาดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือบริการใหม่ให้กับหน่วยธุรกิจนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ยังให้คำปรึกษาเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคของกระบวนการ รวมทั้งบริการด้านเทคนิคต่าง ๆ อีกด้วย สำหรับการนำเข้านวัตกรรมจากภายนอกโดยหน่วยงานพัฒนานวัตกรรมและดิจิทัล (Outside-In) จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เกิดเป็นนวัตกรรมต่อยอดจนเกิดเป็นธุรกิจใหม่ได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยในการพัฒนานวัตกรรมทั้งสองรูปแบบจะมีการสนับสนุนด้านงบประมาณและเทคโนโลยีในการทำ Prototype เพื่อทดสอบ Idea หรือความเป็นไปได้ของตลาด หากดำเนินการทดสอบแล้วมีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ และผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารในการพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่ ก็สามารถตั้งเป็นบริษัทใหม่หรือโครงการภายใต้บริษัท AlphaCom เพื่อทดลองตลาดสำหรับนวัตกรรมใหม่ และสามารถเพิ่มทุนได้หากตลาดมีการเติบโตที่ดี

โดยนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ ปตท. นั้น จะครอบคลุมตั้งแต่ ผลิตภัณฑ์ บริการ รูปแบบธุรกิจ กระบวนการต่าง ๆ และเพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ใหม่ ดังนั้นในปี 2565 เป็นต้นมา ปตท. จึงได้มีการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมด้านพลังงาน ตามกลยุทธ์และเป้าหมายการดำเนินงานที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ Business Growth, New Growth และ Clean Growth อาทิ การขยายตัวไปยังธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) ธุรกิจยา (Pharmaceutical Industry) ที่ ปตท. ร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมในการผลิตยารักษามะเร็งแห่งแรกของประเทศ ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ และธุรกิจ Nutrition เป็นต้น ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ นอกจากนั้น ปตท. ยังคำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการสร้างนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม อาทิ แพลตฟอร์ม “ReAcc” (reacc.io) แพลตฟอร์มซื้อ-ขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียนผ่านระบบบล็อกเชน (Blockchain) แพลตฟอร์ม EVme แพลตฟอร์มบริการไลฟ์สไตล์ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมทั้งนวัตกรรมที่ส่งเสริมการลดการปล่อย GHG เป็นต้น

ปัจจุบัน ปตท. มีการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบภายในองค์กร โดยมีช่องทางการรับฟังข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงการดำเนินงานต่าง ๆ รวมถึงสามารถส่งข้อร้องเรียนแบบออนไลน์ ทำให้บุคลากรภายในองค์กรสามารถนำข้อคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนดังกล่าวมาต่อยอด ประยุกต์ใช้ให้เกิดการปรับปรุงการทำงานหรือสร้างเป็นองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและองค์กรได้ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงบวกต่อ ปตท. เนื่องจากทำให้ ปตท. ได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชน รวมทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้กับ ปตท. อีกด้วย

วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย

ปตท. มุ่งมั่นนำประเด็นด้าน ESG ที่สะท้อนจากความคาดหวัง ความต้องการ ข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ มาเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งจากสถาบันนวัตกรรม ปตท. จากโครงการส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมของพนักงาน ตลอดจนจากความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ที่ช่วยสร้างคุณค่าทางธุรกิจให้กับองค์กร ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายระยะยาวที่กำหนด โดยมุ่งเน้นพลังงานอนาคต (Future Energy) อาทิ พลังงานทดแทน ระบบการกักเก็บพลังงาน ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า การศึกษาการใช้พลังงานจากไฮโดรเจน ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ได้ในปี ค.ศ. 2065 ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน  โดยได้กำหนดเป้าหมาย ในการพัฒนานวัตกรรมไว้ ดังนี้ 
  • ทุกปีมีงบลงทุนและค่าใช้จ่ายดำเนินการด้านนวัตกรรมทุกประเภทรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยเป็นงบสำหรับกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิในปีเดียวกัน
  • ในปี 2573 มีกำไรสุทธิจากงานนวัตกรรม 15,000 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งต้องมาจากนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นภายในองค์กร 2,500 ล้านบาท

แนวทางการจัดการ

นวัตกรรมและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
นโยบายการบริหารจัดการนวัตกรรม ของ ปตท.
ปตท. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมขององค์กร ทั้งในส่วนของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ นวัตกรรมในกระบวนการทำงาน และนวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมไปสู่การสร้างธุรกิจใหม่เพื่อความยั่งยืน จึงได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการนวัตกรรม ลงนามโดยประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อแสดงเจตจำนงและเป็นแนวทางให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคน มีความตระหนัก สนับสนุน ผลักดัน และปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการนวัตกรรม โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • ข้อ 1 ส่งเสริมการนำนวัตกรรม มาสนับสนุนการทำงาน และกำหนดให้มีกระบวนการจัดการนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดโครงสร้างผู้รับผิดชอบในระดับองค์กรพร้อมบทบาทหน้าที่และกระบวนการปฏิบัติงาน
  • ข้อ 2 กำหนดให้มีแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรม รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร และงบประมาณในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสม
  • ข้อ 3 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรเพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ คัดเลือก และประยุกต์ใช้นวัตกรรมในกระบวนการทำงานได้อย่างเหมาะสม
  • ข้อ 4 กำกับดูแลกระบวนการบริหารจัดการนวัตกรรมให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดของประเทศที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อ 5 สนับสนุนกิจกรรมและสร้างบรรยากาศในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการองค์ความรู้ รวมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและองค์ความรู้ในการพัฒนานวัตกรรมระหว่างหน่วยงาน
  • ข้อ 6 กำหนดให้มีการประเมินประสิทธิผลของกระบวนการจัดการนวัตกรรม รวมถึงการติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้บริหารและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อเสนอแนะและปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนแม่บทด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มีหน้าที่สนับสนุน ผลักดัน และปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการนวัตกรรม รวมถึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างกำกับดูแล/ กลไก/ กระบวนการบริหารจัดการนวัตกรรม
การกำกับดูแลด้านนวัตกรรม

เพื่อให้การขับเคลื่อนการจัดการนวัตกรรม ปตท. ไปสู่การปฏิบัติในระดับองค์กร สายงาน หน่วยงาน และบุคคล ปตท. จึงได้กำหนดโครงสร้างการขับเคลื่อนการจัดการนวัตกรรม ปตท. โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management Committee: ERMC) ทำหน้าที่กำกับดูแลให้การดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรม ได้รับการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติผ่านคณะกรรมการจัดการนวัตกรรม ปตท. (PTT Innovation Management Committee: PTT IMC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของแต่ละสายงานเพื่อทำหน้าที่กลั่นกรอง ผลักดัน สนับสนุนการดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร และคณะทำงานจัดการนวัตกรรม ปตท. (PTT Innovation Management Working Team ซึ่งประกอบไปด้วยผู้จัดการฝ่าย และผู้แทนของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ช่วยสนับสนุน ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของ ปตท. ต่อไป ซึ่งผลการดำเนินงานจะถูกรายงานและติดตามตามลำดับขั้นเป็นประจำอย่างน้อย ไตรมาสละ 1 ครั้งหรือตามความจำเป็น โดยในปี 2566 คณะกรรมการ PTT IMC มีการประชุมเพื่อมอบหมายแนวทาง และติดตามการดำเนินงานครบถ้วนทุกไตรมาส ทำให้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี และแผนแม่บทด้านนวัตกรรม บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผนงานครบถ้วนร้อยละ 100 ของแผนงาน

กระบวนการบริหารจัดการและแผนแม่บทนวัตกรรม ปตท.

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมของ ปตท. จะดำเนินการตามระบบนวัตกรรมของ ปตท. (PTT Innovation System) ภายใต้ “แนวคิด ASAP นวัตกรรมจะเกิดขึ้นต้องเริ่มทำทันที” โดยกระบวนการพัฒนานวัตกรรมของ ปตท. มีที่มาจาก 2 ช่องทางหลัก คือ การพัฒนานวัตกรรมจากเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของ ปตท. (เป็นลักษณะ Top down) ภายใต้การกำกับ ดูแลโดยคณะกรรมการจัดการของ ปตท. (PTT Management Committee: PTTMC) และคณะกรรมการแผนวิสาหกิจและบริหารความเสี่ยง (Corporate Plan and Risk Management Committee: CPRC) และการพัฒนานวัตกรรมที่มาจากการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร (เป็นลักษณะ Bottom up) ผ่านการเชื่อมโยงและบริหารจัดการในภาพรวมโดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management Committee: ERMC) และคณะกรรมการจัดการนวัตกรรม ปตท. (PTT Innovation Management Committee: PTT IMC) ภายใต้การบริหารจัดการการลงทุนกลุ่ม ปตท. (PTT Group Portfolio Management)

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการนวัตกรรม ปตท. (คณะกรรมการ PTT IMC)


นวัตกรรมที่มาจากเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของ ปตท. มีที่มาจากการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร (Top Executive Thinking Session: TTS และ Strategic Thinking Session: STS) เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ และสนับสนุนการดำเนินงานด้านนวัตกรรมให้กับกลุ่ม ปตท. นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานด้านนวัตกรรมในรูปแบบโครงการที่เป็น New Initiative ที่สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร

นวัตกรรมที่มาจากการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร โดย ปตท. จะรวบรวมความคิดสร้างสรรค์จากพนักงานผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การทำ Productivity Improvement Project การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงาน การร่วมกิจกรรมการประกวดต่าง ๆ ของพนักงาน เช่น Innovation Boost Camp ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ จะผ่านการคัดกรองและนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ PTT IMC หรือที่ประชุมผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะให้คําแนะนำ แนวทาง หรือสั่งการให้ขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อพัฒนาสู่นวัตกรรมในระดับองค์กรต่อไป

ปตท. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการนวัตกรรมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีและการสร้างสรรค์นวัตกรรม การใช้ทรัพยากรขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การดำเนินการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีระบบ มีประสิทธิภาพ เกิดความต่อเนื่องอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

ภายใต้วิสัยทัศน์ด้านการจัดการนวัตกรรม “Powering Life with Future Energy and Beyond” ซึ่งคือ วิสัยทัศน์ใหญ่ขององค์กรที่มีความหมายในการแสดงถึงความสำคัญของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนองค์กรในทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ การจัดทำแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมของ ปตท. เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรมระยะ 5 ปี ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567-2571 ผ่านการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อระบุช่องว่างและจัดทำแนวทางในการการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงาน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (Internal และ External Analysis) ที่เกี่ยวข้อง การระดมความคิดเพื่อวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร รวมถึงสอดคล้องตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการบริหารจัดการนวัตกรรม ทั้ง 8 ข้อ ของเกณฑ์การประเมินผลของ สคร. จึงได้มีการกำหนด 3 ยุทธศาสตร์และแผนงานด้านการจัดการนวัตกรรม ดังนี้

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1: การยกระดับบุคลากรเตรียมพร้อมสู่นวัตกรรม (Nurturing People) โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจการจัดการนวัตกรรม และปลูกฝังนวัตกรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2: การพัฒนากระบวนการสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม (Embracing Innovative Process) โดยมีเป้าหมายเพื่อมีกระบวนการด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบและนำไปสู่การจัดการนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3: การกำหนดทิศทางกลยุทธ์เพื่อความเป็นเลิศด้านการพัฒนานวัตกรรม (Winning Innovation Strategy) โดยมีเป้าหมายเพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน ตัวชี้วัดและประเมินผลด้านการจัดการนวัตกรรม พร้อมทั้งสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

การจัดทำแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยทำให้ ปตท. มีแนวทางการดำเนินงาน การจัดการนวัตกรรมแบบบูรณาการและสอดคล้องกับนโยบายด้านการดำเนินงานของ ปตท. รวมถึงมีแผนงานและตัวชี้วัดที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดนวัตกรรม ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ กระบวนการทำงาน รูปแบบธุรกิจและภารกิจใหม่ในทุกระดับขององค์กรต่อไป

แผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมปี 2567-2571


นวัตกรรมและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
GRI416-1

ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องก้าวทันแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก ปตท. นำโอกาสและความท้าทายของเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีการดำรงชีวิตของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ทิศทางกลยุทธ์ แผนวิสาหกิจ และตอบรับกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล

การวิจัยพัฒนา การจัดหาผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) ที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ของ ปตท. ตามนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม  ปตท. ประยุกต์ใช้หลักการ LCA นำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน จนถึงการจัดการซากของผลิตภัณฑ์เมื่อหมดอายุการใช้งานตลอดห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ ยังมีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและความปลอดภัยครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ตลอดจนมีความปลอดภัยในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง และการนำไปใช้งาน

ปัจจุบัน ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้ร่วมกันศึกษาและจัดทำฐานข้อมูล LCA ของผลิตภัณฑ์พื้นฐานปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ครบถ้วนทุกผลิตภัณฑ์แล้ว ซึ่งจะมีการทบทวนและพิจารณาประกอบการออกแบบและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วย

ข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ)GRI416-2, 417-2, 417-3, 418-1

ทุกผลิตภัณฑ์และบริการของ ปตท. รวมทั้งที่ดำเนินการโดยผู้รับเหมา เช่น การขนส่งผลิตภัณฑ์ทางรถยนต์ ต้องมีการแสดงข้อมูลความปลอดภัย และติดป้ายเตือนอันตราย ที่สอดคล้องตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และมาตรฐานสากลต่าง ๆ อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ปตท. ยังมุ่งมั่นในการให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจของผู้บริโภค ผ่านกิจกรรมด้านการตลาดและการสื่อสารต่าง ๆ โดยไม่ทำการอันใดที่เป็นการหลอกลวงหรือชวนเชื่อในข้อมูลที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ภาพและเสียงที่ปรากฏในสื่อโฆษณาของกลุ่ม ปตท. ทุกชิ้นต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจพิจารณาการโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ นอกจากนี้ ปตท. ยังมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ของ ปตท. ผ่านการประชุมสัมมนาและการเข้าเยี่ยมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มเป็นประจำ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย

ในปี 2566 ไม่พบกรณีความไม่สอดคล้องต่อข้อกำหนด กฎระเบียบและกฎหมายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงกฎระเบียบด้านการติดฉลากผลิตภัณฑ์ การรักษาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า และการสื่อสารเชิงการตลาดของผลิตภัณฑ์

ตราสัญลักษณ์รับรองความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. มุ่งมั่นคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาพลังงานทางเลือก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ตลาดมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ปตท. ยังดำเนินการพัฒนาธุรกิจพลังงานทดแทน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในระยะยาว โดยจัดตั้งสถานีประจุไฟฟ้านำร่องและออกแบบจุดเติมประจุไฟฟ้าจากเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ในสถานีบริการ ปตท. และสร้างความร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ เพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ในด้านการสร้างความตระหนักรู้ในสังคมเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปตท. ได้พัฒนาตราสัญลักษณ์รับรองความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสัญลักษณ์ GREEN FOR LIFE ซึ่งเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมแบบรับรองตนเอง (Self-Declared) ตามแนวทางที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (ISO14021:2016) และอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความถูกต้องแม่นยำ ทวนสอบได้ ให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ป้องกันความสับสนของผู้บริโภค ช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ปตท.

ตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมที่สำคัญ

โครงการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA)SDGs 9.4

ปตท. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการประเมินวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) ประกอบกับวิสัยทัศน์ “ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต” (Powering Life with Future Energy and Beyond) ในปี 2566 จึงได้ดำเนินการประเมิน LCA ของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar PV) และไฮโดรเจน โดยข้อมูลที่ได้จากการประเมินของแต่ละผลิตภัณฑ์จะถูกจัดเตรียมเพื่อนำไปใช้สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานในอนาคตต่อไป

โครงการ GREEN FOR LIFESDGs 9.4

ปตท. พัฒนาและปรับปรุงแนวทางการรับรองผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่ม ปตท. ภายใต้ตราสัญลักษณ์ GREEN FOR LIFE อย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีผลิตภัณฑ์ที่ขอรับการรับรอง 1 ผลิตภัณฑ์ นับเป็นผลิตภัณฑ์ลำดับที่ 116 ที่ผ่านการรับรอง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองทั้งหมดมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และได้รับฉลากสิ่งแวดล้อม Carbon Footprint Reduction Label โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำปราศจากแร่ธาตุ ของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เอทิลีน (Ethylene) และ เม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (LLDPE) ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

โครงการ PTT Group Geo-spatial for Maritime System (PTT Group - GMaS)

ปตท. ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) พัฒนาข้อมูลและส่วนแสดงผลการศึกษาผลกระทบเชิงพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง บริเวณพื้นที่จังหวัดระยอง ในรูปแบบที่สามารถให้การตอบสนองโดยทันที เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการสถานการณ์กรณีเกิดการรั่วไหลของน้ำมันลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยสามารถคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำมัน และแสดงผลแผนที่พื้นที่อ่อนไหวของทรัพยากรธรรมชาติต่อมลพิษน้ำมันบริเวณจังหวัดระยอง ครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและพื้นที่ในทะเล ที่สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนขจัดคราบน้ำมัน อีกทั้งเป็นแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ควรได้รับการปกป้องหรือฟื้นฟู ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาและจัดการพื้นที่ชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อมั่นใจได้ว่าระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการฟื้นฟูให้กลับสู่สมดุลโดยเร็ว โดยในปี 2565 ได้มีการนำไปใช้ในการคาดการณ์แนวโน้มการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน กรณีน้ำมันรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นต้น

การพัฒนานวัตกรรมธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องในระบบนิเวศ

จากทิศทางการใช้พลังงานของโลกในปัจจุบันที่มุ่งสู่พลังงานสะอาด การให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม และการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ปตท. ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานจึงได้เร่งพัฒนาและขยายธุรกิจใหม่เพื่อมุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคตและธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้า (EV Value Chain) ภายใต้บริษัท อรุณ พลัส จำกัด สำหรับการทำธุรกิจ EV Charging Platform และมีบริษัทภายใต้ที่สำคัญประกอบด้วยบริษัท  ฮอริษอน พลัส จำกัด สำหรับแพลตฟอร์มผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าครบวงจรในประเทศ และการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าผ่านบริษัท นูออโว พลัส จำกัด เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจ ปตท. โดยสถาบันนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานพัฒนาธุรกิจมีบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมหรือประเมินเพื่อนำเข้าเทคโนโลยีจากภายนอกเพื่อสนับสนุนธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในระบบนิเวศ โดยมีการก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ด้วยเทคโนโลยี Semi Solid ของ 24m เป็นแห่งแรกของโลก ให้บริการสลับแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า และเช่ายืมรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งมีการพัฒนา EV Charger ด้านระบบการทำงานระบบสื่อสารต่าง ๆ และการผลิตเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ ปตท. นอกจากนี้ยังเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ อาทิ การเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการทดสอบรถ EV และแบตเตอรี่ การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจด้าน EV Value Chain อย่างยั่งยืน

การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF)

ปตท. ร่วมมือกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ประกอบด้วย Thaioil GC IRPC และ OR ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต Hydroprocessed Esters and Fatty Acids (HEFA) และ Alcohol to Jet (ATJ) มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก

 

ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานและรางวัลที่สำคัญ (นวัตกรรม และความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์)

ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Products and Services)

เป้าหมายปี 2566ผลการดำเนินงานปี 2566
รับรองผลิตภัณฑ์ (สินค้า) ภายใต้ตราสัญลักษณ์ GREEN FOR LIFE
และคงไว้ซึ่งการรับรองของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ GREEN FOR LIFE อย่างต่อเนื่อง

รับรองผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์


ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองตราสัญลักษณ์ 

หมายเหตุ: จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองตราสัญลักษณ์ Green for Life สะสมในปี 2564 - 2566


ปริมาณการผลิต Bio-Fuel ประจำปี 2566


ปริมาณเชื้อเพลิงชีวภาพที่จัดหาเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย (ล้านลิตร)

หมายเหตุ:

 ปี 2562-2564 คือปริมาณเชื้อเพลิงเฉพาะของ ปตท. เท่านั้น และปี 2561 คือปริมาณเชื้อเพลิงรวมของ ปตท. และ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)



ปริมาณขายเชื้อเพลิงชีวภาพ (พันล้านลิตร/ปี) ของปี 2566


หมายเหตุ:

 จำหน่ายโดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)


นวัตกรรมและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ 

ผลการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม



คะแนนความยึดมั่นในค่านิยม SPIRIT (ร้อยละ)

คะแนนความยึดมั่นในค่านิยม SPIRIT ในส่วนของพฤติกรรมด้าน Innovation ตั้งแต่ปี 2563-2566 (ร้อยละ)


หมายเหตุ: ไม่มีการกำหนดค่าเป้าหมายเป็นรายพฤติกรรม แต่มีการกำหนดค่าเป้าหมายของคะแนนความยึดมั่นค่านิยม SPIRIT โดยรวม


รางวัลที่ได้รับ

ปตท. ได้รับรางวัล SET AWARDS ประจำปี 2023 ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร รวม 3 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน (SUSTAINABILITY AWARDS OF HONOR) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านนวัตกรรม (Innovative Company Awards of Honor) และรางวัลด้านนักลงทุนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม (Best Investor Relations Awards) จากการกำหนดทิศทางกลยุทธ์และแผนธุรกิจที่ชัดเจนในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ โดยมีการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และรุกสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมใหม่และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย ครอบคลุมธุรกิจเกี่ยวเนื่องในระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ตลอดจนการประกาศเจตนารมณ์ของ ปตท. ที่มุ่งสู่เป้าหมาย CARBON NEUTRALITY ในปี ค.ศ. 2040 และเป้าหมาย NET ZERO EMISSIONS ในปี ค.ศ. 2050 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ. 2065 และแสดงออกถึงการปฏิบัติจริงเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ทิศทางความยั่งยืน 

สำหรับรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านนวัตกรรม หรือ Innovative Company Awards of Honor จากการได้รับรางวัล Best Innovative Company Awards ต่อเนื่อง 3 ปี ในปีนี้ ปตท. ได้รับรางวัลจากผลงานการพัฒนานวัตกรรม “ตัวเร่งปฏิกิริยา PTT SCR” ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยา PTT SCR  (Selective Catalytic Reduction) ได้ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นเพื่อใช้ในการกำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen oxide, NOx) ในไอเสียจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก๊าซไนโตรเจนออกไซด์เป็นก๊าซพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพร่างกายของมนุษย์ กล่าวคือเป็นก๊าซพิษที่มีผลทำลายชั้นบรรยากาศ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฝนกรดและก่อให้เกิดปัญหา PM2.5 รวมถึงยังส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและระบบประสาทของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งนวัตกรรมตัวเร่งปฏิกิริยา PTT SCR มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้งานได้ถึง 10 ปี จากเดิมมีอายุการใช้งานเพียง 5 ปี สามารถลดปริมาณกากของเสีย (Waste) รวมถึงตัวเร่งปฏิกิริยา PTT SCR ยังมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งทำให้สามารถนำความร้อนที่เหลือไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ และเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร 3 รายการ จึงถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสังคมและชุมชน ช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกิริยาจากต่างประเทศ เพิ่มโอกาสในการสร้างธุรกิจด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจใหม่ในอนาคต ซึ่งทำให้ ปตท. เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันตัวเร่งปฏิกิริยา PTT SCR ถูกนำไปใช้งานจริงที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปตท. มากกว่า 2 ปี และอยู่ระหว่างต่อยอดเชิงพาณิชย์ขยายผลการใช้งานไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกกลุ่ม ปตท. อีกด้วย

พร้อมกันนี้ ปตท. ยังได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2023 ระดับสูงสุด AAA ซึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทอย่างต่อเนื่องและเป็นข้อมูลสนับสนุนให้นักลงทุนมาลงทุนใน ปตท. อีกด้วย

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

ปตท. มีการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์แบบแยกหน่วยธุรกิจ ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันตามผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมทั้งในด้านการสำรวจความต้องการและความคาดหวัง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองและพัฒนาความพึงพอใจเพื่อสร้างความผูกพันในการใช้สินค้าและบริการ การบูรณาการกระบวนการมุ่งเน้นลูกค้าร่วมกับกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ มีกรอบเวลาในการปฏิบัติและปรับปรุงระบบการทำงานที่ชัดเจน เช่น การกำหนดและทบทวนช่องทางการเรียนรู้ลูกค้าและตลาด การวิเคราะห์สารสนเทศด้านตลาด กระบวนการสร้างความผูกพันของลูกค้า เป็นต้น

ทุกหน่วยธุรกิจกำหนดแนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเป็นระบบเป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันตามกลุ่มลูกค้า เช่น มีการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารต่างๆ อาทิ Customer Service Center Website และ Line Official ของแต่ละกลุ่มลูกค้า Application uVoice เพื่อรับเรื่องร้องเรียน หรือการรับเรื่องร้องเรียนผ่าน 1365 Contact Center การสำรวจความพึงพอใจประจำปี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และนำไปวิเคราะห์ให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ มีการเข้าเยี่ยมลูกค้าอย่างมีแบบแผนและต่อเนื่อง การประชุมสัมมนาร่วมกับลูกค้า การจัดทำฐานข้อมูลลูกค้าที่มีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้ตลอดเวลา การสร้างความผูกพันกับลูกค้าผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

กฎบัตร และมาตรฐานการให้บริการ

ปตท. มุ่งมั่นในการส่งมอบบริการอันเป็นเลิศแก่ลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ซึ่งนำไปสู่การสร้างความพึงพอใจและความผูกพัน โดยมีการกำหนดกระบวนการและมาตรฐานการบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า ที่คำนึงถึงเส้นทางการเดินทางของลูกค้า (Customer Journey) ในแต่ละจุดสัมผัสการให้บริการ (Touch Point) พิมพ์เขียวการให้บริการ (Service Blueprint) และมาตรฐานการให้บริการในแต่ละหน่วยธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความพร้อมและความต่อเนื่องในการให้บริการ (Accommodate) อย่างมีมาตรฐานในทุกจุดบริการของ ปตท. (Standard) โดยให้ความสำคัญต่อการปกป้องและรักษาความลับของลูกค้า (Security) ให้บริการด้วยความโปร่งใสและมีจริยธรรม (Ethics) ด้วยความซื่อสัตย์และรับผิดชอบ (Trustworthy) ต่อลูกค้าทุกกลุ่ม

ในปี 2566 จากการปฏิบัติตามกฎบัตร และมาตรฐานการให้บริการอย่างต่อเนื่อง พบว่าผลลัพธ์ด้านการบริหารจัดการลูกค้ายังคงเป็นไปตามเป้าหมาย สามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้เป็นอย่างดี สะท้อนจากผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพิจารณาปัจจัยป้อนเข้าต่าง ๆ จาก “มุ่งมั่นในการให้บริการที่เป็นเลิศ” เป็น “Customer is Our Precious ASSET” รวมถึงการกำหนดระดับผลการสำรวจความพึงพอใจในทุก Touch Point เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการของ ปตท. ที่มีต่อลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

กฎบัตร และมาตรฐานการให้บริการ

ความพึงพอใจของลูกค้า

ปตท. คำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ รวมทั้งผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้รับผลิตภัณฑ์ในราคาที่เป็นธรรม มีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและผู้บริโภค ปตท. จึงกำหนดให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดขององค์กร โดยสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปี โดยแบ่งกลุ่มลูกค้าตามหน่วยธุรกิจ ได้แก่ ลูกค้าของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และลูกค้าของหน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ กระบวนการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานภายนอก ด้วยวิธีการที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมกระบวนการเก็บข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อความครบถ้วนและโปร่งใส ซึ่งคณะกรรมการของแต่ละหน่วยธุรกิจจะพิจารณานำข้อเสนอแนะจากการสำรวจความพึงพอใจมาเป็นข้อมูลในการกำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงและแผนการดำเนินงานประจำปี เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ ปตท. ได้มีการประเมินประสิทธิผลและการปรับปรุงกระบวนการสํารวจความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันลูกค้า เป็นประจําทุกปีพร้อมทั้งได้ พัฒนาระบบ Data Analytics เพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีเป็นจํานวนมากด้วยการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยและประมวลผลผ่านระบบ Digital เพื่อให้หน่วยธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลในการวางแผนปรับปรุงสร้างความสัมพันธ์เชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ข้อมูลที่รวดเร็ว แม่นยํา สามารถรักษาฐานลูกค้าและยกระดับความผูกพันและความพึงพอใจ รวมถึงเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับหน่วยงานภายในและภายนอก ซึ่งจากผลสำรวจความพึงพอใจของ ปตท. พบว่ามีค่าดีขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องตามเป้าหมายที่กำหนด

นโยบาย และระเบียบปฏิบัติการจัดการข้อร้องเรียน

ปตท. มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการ ข้อร้องเรียน ข้อร้องขอ และข้อเสนอแนะ จากลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเหมาะสม และเท่าเทียม ผ่านนโยบายและระเบียบปฏิบัติการจัดการข้อร้องเรียน ซึ่งดำเนินการผ่านช่องทางที่หลากหลาย โดยมีระบบในการจัดเก็บข้อมูลตามกลุ่มของลูกค้า รวมถึงมีการปกป้อง และคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียน โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ร้องเรียน คำนึงถึงความปลอดภัย และความเสียหายของผู้ร้องเรียน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความผูกพันและความภักดีในระยะยาว ที่จะนำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของ ปตท.

ในปี 2566 ปตท. มีการทบทวนนโยบายและระเบียบปฏิบัติการจัดการข้อร้องเรียน โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด เช่น การเกิดข้อร้องเรียนซ้ำ ความพึงพอใจโดยรวมต่อการปิดข้อร้องเรียน และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อให้สะท้อนการดำเนินงานจึงมีความเห็นในการทบทวนการจัดระดับของข้อร้องเรียน และนิยามการปิดข้อร้องเรียน รวมถึงการกำหนดระยะเวลาในการรายงาน และติดตามความคืบหน้าของร้องเรียนให้ชัดเจนขึ้น เช่น ข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญ หรือข้อร้องขอที่จะมีการติดตามและรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงในแต่ละระดับทุก 15 และ 30 วันตามลำดับ เพื่อตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม

นโยบาย และระเบียบปฏิบัติการจัดการข้อร้องเรียน

ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานและรางวัลที่สำคัญ (การบริหารลูกค้าสัมพันธ์)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าก๊าซธรรมชาติ

ปตท. ยังคงมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์สำหรับจำหน่ายแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ตามชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) จากผลของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตั้งแต่การบริหารการจัดหา การผลิตแยกก๊าซธรรมชาติ ซ่อมบำรุง บริการลูกค้า และปฏิบัติการตามสถานีจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ นอกจากนี้ ปตท. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ จากผลสำรวจของลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยมีตัวอย่างสำคัญ ดังนี้

  1. การพัฒนาเว็บไซต์ศูนย์บริการลูกค้าโรงไฟฟ้าและตลาดค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Customer Service Center-CSC Website) เพื่อเป็นช่องทางการสื่อความ สร้างความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ให้ความรู้เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า อาทิ สถานการณ์พลังงาน บริการจัดอบรมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินธุรกิจร่วมกัน คำถามที่พบบ่อย และยังเป็นช่องทางเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มลูกค้าเกี่ยวข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวให้ทันต่อเหตุการณ์
  2. การพัฒนา Line Official เพื่อเป็นช่องทางอำนวยความสะดวกลูกค้าในการรับรู้สถานการณ์ราคาพลังงาน ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่เป็นประโยชน์ และเป็นช่องทางเชื่อมไปยัง CSC Website อีกด้วย
  3. การพัฒนาระบบแจ้งเตือนคุณภาพก๊าซ (Gas Quality Notice) โดยต่อยอดการใช้ข้อมูลศูนย์ควบคุมการบริหารรับจ่ายก๊าซธรรมชาติ (Shipper Control Room) สำหรับการแจ้งเตือน ประสานงานกรณีคุณภาพก๊าซธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ลูกค้าได้รับทราบ พิจารณา รวมถึงเตรียมความพร้อม เพื่อปรับเครื่องจักรในระบบของลูกค้า ให้รองรับคุณภาพก๊าซฯ ได้อย่างทันท่วงที
  4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารและจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า อาทิเช่น ระบบประเมินความสามารถการผลิตแต่ละโรงแยกก๊าซฯ ตามสภาวะก๊าซขาเข้าและคุณภาพก๊าซฯที่เกิดขึ้นจริงรายวัน (Adaptive Planning Optimization) ระบบ Global Plant Wide Advanced Process Control เพื่อทำให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์พลังงานที่มีความผันผวนจากสถานการณ์ภายนอก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาต่อยอดงานด้านการบริการที่ได้นำเสนอให้กับลูกค้า ได้แก่ การบริการในการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ผ่านบริษัท The Predictor ที่ทาง ปตท. ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อให้บริการการพยากรณ์ความเสียหายและพฤติกรรมผิดปกติล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งการพัฒนาระบบ E-Nose เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบกลิ่นที่เกิดขึ้นบริเวณโดยรอบของโรงงาน เพื่อตรวจเช็คการเกิดกลิ่น และประเมินหาแหล่งกำเนิดของต้นตอว่ามาจากโรงงานหรือไม่ เป็นต้น
  5. จากการวิเคราะห์เสียงของลูกค้า (Voice of Customer) ในปีที่ผ่านมา พบว่าลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์พลังงานเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงาน พร้อมระบบวิเคราะห์ข้อมูลอัตโนมัติ ได้แก่ PTT NGR EMOS และ PTT NGR AIOT Platform ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้าน IoT, Data & Analytics และ Edge Computing มาให้บริการลูกค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยติดตามและตรวจสอบการใช้พลังงานของเครื่องจักร เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และสามารถวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งระบบสามารถแจ้งเตือนผู้ใช้งาน หากเกิดปัญหาหรือความผิดปกติ  นอกจากนี้ทีมวิศวกร ปตท. คอยดูแลและตรวจสอบการผลิตและการใช้พลังงานผ่าน Platform นี้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกค้าเตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล 4.0 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการดำเนินงานในโรงงานอุตสาหกรรมมุ่งสู่ Factory 4.0
  6. การให้บริการปรึกษาครบวงจรสำหรับระบบรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติอัดและก๊าซธรรมชาติเหลว เป็นการให้คำปรึกษาในการออกแบบก่อสร้างระบบรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติอัดและก๊าซธรรมชาติเหลว รวมถึงการขนส่งไปยังโรงงานอุตสาหกรรมนอกแนวท่อส่งก๊าซฯ การให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรม
  7. ศูนย์ฝึกอบรมดับเพลิงที่จังหวัดราชบุรี ให้บริการแก่ลูกค้าก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟตามกฎหมาย การตรวจสอบและทดสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในหลักสูตรต่าง ๆ ตามกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งเป็นการต่อยอดความชำนาญในการสร้างธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยปัจจุบันขยายการให้บริการอบรมหลักสูตรก๊าซธรรมชาติครอบคลุม ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ ผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ และผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ
  8. ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ปตท. มุ่งเน้นการใช้ช่องทางการประชุมและการสื่อสารออนไลน์ควบคู่กับการกำหนดนโยบายให้พนักงานพบปะและสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการติดตามการแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ให้กับลูกค้า ทดแทนการเข้าพบลูกค้าโดยตรงจากมาตรการจำกัดการเดินทางข้ามประเทศในช่วงสถานการณ์โรคโควิด 19 นอกจากนี้ ยังได้จัดทำคลิปวิดีโอแสดงความห่วงใย ความคิดถึง และความปรารถนาดีที่มีต่อลูกค้าตลอดมา

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 

ปตท. มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องโดยใช้ช่องทางการสื่อสารทั้งในรูปแบบ Online และ Offline เพื่อติดตามประเด็นปัญหาด้านต่าง ๆ ให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนจัดงานสัมมนาลูกค้าทั้งภายในประเทศและจากประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก เพื่อกระชับความสัมพันธ์หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 คลี่คลาย นอกจากนี้ ปตท. มีการพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้ในการสร้าง Platform โดยเน้นเรื่อง Real-time Information Sharing และ Data Analytic for Decision Making ตลอดทั้ง End-to-End Process

เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีตัวอย่างสำคัญ ดังนี้   
  1. การพัฒนาระบบ ONE Platform เพื่อเป็น Data Sharing Tools กับบริษัท Flagships สำหรับใช้ในการวางแผนการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าการค้าส่วนเพิ่มจากการทำ Logistic Optimization อาทิ Co-load และ Co-purchase
  2. การใช้ Power BI ในการติดตามข้อมูล Crude Import Preference ที่โรงกลั่นนำเข้าในปัจจุบัน เพื่อประเมิน Crude Basket ที่โรงกลั่นต้องการ รวมทั้งกำหนดตลาดและกลุ่มคู่ค้าเป้าหมายที่จะต้องเข้าไปดำเนินการเจรจาทางธุรกิจต่อไป
  3. การพัฒนา Intelligence Trading Signal (ITS) เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจับจังหวะซื้อ-ขายสัญญาอนุพันธ์ในเวลาที่ดีที่สุด เพื่อเลือกรูปแบบการบริหารความเสี่ยงราคาที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองตามความต้องการบริหารความเสี่ยงของลูกค้าได้มากขึ้นในสภาวะที่ราคาผลิตภัณฑ์มีความผันผวนอย่างมาก

การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า (ร้อยละ)

หมายเหตุ:
• ผลสรุปความพึงพอใจของลูกค้าก๊าซธรรมชาติไม่รวมกลุ่มลูกค้าก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เนื่องจากเป็นตลาดที่ถูกควบคุมโดยภาครัฐ

• ลูกค้าโรงไฟฟ้า ได้แก่ EGAT IPP และ SPP
• ลูกค้าตลาดค้าส่ง ได้แก่ DCAP NGD และลูกค้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติมากกว่า 1 ปีขึ้นไป

ปตท. ยังคงสามารถรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าไว้ได้ในระดับสูง แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาก๊าซฯ ที่ผันผวนและมีการแข่งขันในตลาดก๊าซฯ ปตท. มีการดำเนินการเพื่อความผูกพันและความพึงพอใจของลูกค้าก๊าซฯอุตสาหกรรมโดยมีแผนทำกิจกรรมบริการหลังการขายให้กับลูกค้า เช่น สัมมนา เข้าพบลูกค้าเพื่อชี้แจงสถานการณ์ก๊าซฯ ให้บริการด้านเทคนิค (Technical service) เป็นต้น พร้อมรับฟังปัญหาและข้อร้องเรียนเพื่อนำมาจัดทำแผนพัฒนา ปรับปรุง และส่งข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ทางธุรกิจให้ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งจัดทำแพลตฟอร์มการอบรมออนไลน์ (GASTALKTH.COM) บริการห้องเรียนออนไลน์ที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ เทคนิคการบำรุงรักษาระบบท่อส่งก๊าซฯและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ข้อกฎหมาย เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงาน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจาก ปตท. เป็นผู้ถ่ายทอด โดยผู้สนใจสามารถเข้าเรียนได้แบบไม่จำกัด

ในมุมของกิจกรรมเพื่อสังคม ปตท. ร่วมกับลูกค้า ได้จัดกิจกรรมออกกำลังกายแบบ Virtual 30 Days Challenge สะสมแคลอรี่เพื่อแปลงเป็นทุนการศึกษามอบให้นักเรียนในพื้นที่ กิจกรรมปลูกต้นไม้บนพื้นที่ชุมชนของลูกค้า และพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า

การทบทวนปรับปรุงที่สำคัญในรอบปีที่ผ่านมา

แผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมปี 2567-2571 

ปตท. มีการปรับปรุงแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมปี 2566-2570 เป็นแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมปี 2567-2571 โดยมีหัวข้อที่ทำการปรับปรุงดังนี้

  1. PTT Innovation System ยังคงไว้ตามเดิม แต่ได้มีการปรับปรุงกระบวนการภายในและตัวชี้วัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. ปรับแนวทางการเก็บข้อมูลเชิงการเงินของงานนวัตกรรม เพื่อสะท้อนส่วนของงานนวัตกรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การให้บริการโดยการนำเทคโนโลยี มายกระดับการดำเนินการในโรงงานอุตสาหกรรม (Digital Solution)

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงาน (ทั้งความร้อนและไฟฟ้า) อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงกระบวนการซ่อมบำรุงในโรงงานอุตสาหกรรม และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิผลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้ขอบเขตของงานบริการ ได้แก่

  • ระบบตรวจสอบ วิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อใช้วางแผนการจัดการด้านพลังงาน (Energy Efficiency Platform)
  • การประมวลและเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Cloud Computing)
  • การเชื่อมเครื่องจักรเข้ากับอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะนำเอาข้อมูลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต และลดค่าใช้จ่าย (Industrial Internet of Things)
  • การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data Analysis)
  • การบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (System Integration)
  • การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Cybersecurity)
  • หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous Robots)
  • เทคโนโลยีโลกเสมือนโดยผ่านอุปกรณ์ (Augmented Reality)
  • การสร้างแบบจำลอง (Simulation)

การต่อยอดธุรกิจแบตเตอรี่ในประเทศไทย

ปตท. ร่วมกับ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) บริษัท นูออโว พลัส จำกัด (Nuovo Plus) และ บริษัท โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ จำกัด (TES) ในการร่วมดำเนินการแสวงหาโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีและศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ในประเทศไทย สนับสนุนการดำเนินธุรกิจแบตเตอรี่ครบวงจรในอนาคต พร้อมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีรีไซเคิลมาส่งเสริมธุรกิจด้านพลังงานสะอาดที่เกี่ยวข้องให้แก่ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศอีกด้วย

การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

ปตท. ขยายผลการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ผ่านการส่งมอบใบยืนยันสิทธิพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates หรือ RECs) โดย บริษัท เมฆาวี จำกัด (Mekha V) ซึ่ง ปตท. ถือหุ้น 100% ร่วมกับ บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด ทำสัญญาซื้อใบยืนยันสิทธิพลังงานหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) จากแพลตฟอร์ม ReAcc ของ Mekha V ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลด้วยมาตรฐาน The International REC (I-REC Standard) นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมนวัตกรรมทางพลังงานที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทยและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

การส่งเสริมระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบายของประเทศ

บริษัท อรุณ พลัส จำกัด ซึ่ง ปตท. ถือหุ้น 100% ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาธุรกิจให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า กับ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการใช้และให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้รถ EV เติมเต็มพลังงานสะอาดได้แบบไม่ต้องแวะรอชาร์จ ซึ่งเป็นไปตามแผนขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าพร้อมบริการครบวงจร ภายใต้แบรนด์ on-ion ให้ครอบคลุมครบทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ พื้นที่ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน ร้านอาหาร และพื้นที่โครงการที่อยู่อาศัยกว่า 400 หัวจ่าย ในปี 2566

นอกจากนี้ ปตท. OR และ บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด ซึ่ง ปตท. ถือหุ้น 100% ร่วมกันดำเนินโครงการ “Swap & Go - Universal Battery Swapping Network Expansion Empowered by OR” ขยายเครือข่ายแพลตฟอร์มสถานีสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของสวอพ แอนด์ โก ที่ใช้ได้กับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าทุกรูปแบบ (Universal Swapping) ภายในสถานีบริการ PTT Station ของ OR ตอบโจทย์การเดินทางที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ (Seamless Mobility) โดยมีเป้าหมายในการขยายจุดให้บริการสถานีสลับแบตเตอรี่ครอบคลุมกรุงเทพฯ ปริมณฑลกว่า 100 แห่ง ในปี 2567 และบริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง ผ่านเครือข่ายสถานีบริการ PTT Station เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้นวัตกรรมพลังงานสะอาดและเป็นทางเลือกของผู้บริโภคในการประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงาน โดยเป็นการสนับสนุนระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในทุกมิติ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หมุนเวียน จากวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต

ปตท. IRPC และ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมต่อยอดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต สร้างผลิตภัณฑ์หมุนเวียน (Returnable Equipment) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้ดำเนินโครงการนำร่องรีไซเคิลพลาสติก ผ่านผลิตภัณฑ์ต้นแบบอย่างลังน้ำและโซดาขวดเปลี่ยน ผลิตจาก rPET และ rHDPE พาเลท (Pallet) ผลิตจาก rHDPE และกากมอลต์ สำหรับความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ตามโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG) ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนอนาคตที่ดีให้แก่โลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

โครงการนวัตกรรม Rainwater Treatment (RE Rain)

ปตท. ขยายผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนานวัตกรรม Rainwater Treatment หรือ RE Rain ซึ่งเป็นระบบรวบรวมน้ำฝนและนำมาปรับปรุงคุณภาพ เพื่อนำน้ำที่ผ่านการปรับปรุงแล้ว มาใช้ใน Cooling Tower ทดแทนการใช้น้ำประปา และสามารถลดการใช้น้ำได้ 1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 2% ของการใช้น้ำในอาคารสำนักงานทั้งหมด นอกจากนี้ ได้นำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้ เพื่อควบคุมการทำงานและติดตามผลการทำงานผ่าน Mobile application ปัจจุบัน ระบบดังกล่าวติดตั้ง บริเวณดาดฟ้าอาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ และเริ่มเดินระบบอย่างเป็นทางการ ในเดือนมิถุนายน 2566