ความยั่งยืน

กรอบการบริหารจัดการด้าน SSHE

ความยั่งยืน

กรอบการบริหารจัดการด้าน SSHE

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน





แนวทางการบริหารจัดการด้าน SSHE




นโยบายด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Safety, Health, and Environment Policy: QSHE Policy)GRI 403-1

ปตท. กำหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท. ลงนามโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นขององค์กรและเป็นกรอบในการบริหารจัดการด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSHE) สำหรับ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท.ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  โดยมุ่งเน้นให้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ดังต่อไปนี้

  • ขอบข่ายการประยุกต์ใช้ครอบคลุมถึงผู้ปฏิบัติงานทุกคน ได้แก่ พนักงาน ผู้รับเหมา ของทุกหน่วยงาน ทุกพื้นที่ปฏิบัติงาน ตลอดสายโซ่อุปทานของ ปตท. และกลุ่ม ปตท.
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดขององค์กร มาตรฐานสากล และพันธสัญญาที่เกี่ยวข้อง
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความสูญเสียจากอุบัติการณ์ต่อชีวิต ทรัพย์สิน กระบวนการผลิต และโลจิสติกส์ ส่งเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีของพนักงาน ลูกจ้าง ผู้รับเหมา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
  • การจัดการความเสี่ยง ปกป้อง ป้องกัน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
  • การสื่อสารผลการดำเนินงานและประสิทธิผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกอย่างโปร่งใส เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดความตระหนัก
  • กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้บริหารทุกระดับเป็นแบบอย่างที่ดี มีการกำกับดูแล และผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องรับทราบ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติ
  • เป็นกรอบของการถ่ายทอดเป็นเป้าหมาย QSHE ระยะยาวและประจำปี ซึ่งลงนามโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีการกำหนดเป็นแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน รวมทั้งตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในระดับองค์กร ซึ่งวัดผลผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ลงมา จนถึงผู้จัดการฝ่ายและผู้จัดการส่วนขึ้นตรง
มุ่งทบทวนและพัฒนาการบริหารจัดการด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำหนดให้มีการทบทวนนโยบาย เป้าหมายการดำเนินงานด้าน QSHE เป็นประจำทุกปี ซึ่งมีกระบวนการในการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้าน QSHE ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมในการทบทวน เช่น QSHE BA 

นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ปตท.

มาตรฐานการจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ปตท.

เป้าหมายการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Security, Safety, Health and Environment: SSHE) ระยะยาวและประจำปีGRI 403-4

ปตท. กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (SSHE)  โดยวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท และคัดเลือกตัวชี้วัดที่สะท้อนสมรรถนะการบริหารจัดการและสอดคล้องตามมาตรฐาน/ แนวปฏิบัติสากลมากำหนดเป็นเป้าหมายในระดับองค์กร ซึ่งแต่ละหน่วยธุรกิจจะนำไปพิจารณากำหนดเป้าหมายของแต่ละหน่วยธุรกิจ และถ่ายทอดเป้าหมายดังกล่าวไปสู่ระดับสายงานตามความเหมาะสม เป้าหมายการดำเนินงานด้าน SSHE ประกอบไปด้วยเป้าหมายระยะยาวประจำปี 2573 และเป้าหมายประจำปี ลงนามโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งบรรจุไว้ในแผนแม่บทการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. และมีการกำหนดกลยุทธ์ แผนงานไว้อย่างชัดเจน 

เป้าหมายการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(Security, Safety, Health and Environment: SSHE) ประจำปี

เป้าหมายการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(Security, Safety, Health and Environment: SSHE) ระยะยาว


มาตรฐานการจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท.

ในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน SSHE เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและบรรลุตามเป้าหมายการดำเนินงานที่กำหนด ปตท. ได้กำหนด “มาตรฐานการจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท.” ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญให้ทุกบริษัทในกลุ่ม ปตท. นำไปเป็นกรอบในการบริหารจัดการ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะและความเสี่ยงของธุรกิจนั้น ๆ โดยถ่ายทอดผ่านแนวทางบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. (PTT Group Way of Conduct)

มาตรฐานการจัดการด้าน SSHE ได้ถูกทบทวนและปรับปรุงให้มีความทันสมัยและสอดคล้องตามกฎหมายของประเทศไทย มาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติต่าง ๆ เช่น มาตรฐาน ISO  คู่มือและแนวทางของ GRI, WBCSD, IPIECA เป็นต้น ตลอดจนบริบทและปัจจัยความเสี่ยงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการเข้ากับระบบการจัดการอื่น ๆ ขององค์กรเพื่อให้การถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

นอกจากนี้ ทุกพื้นที่ปฏิบัติงานหลักของ ปตท. ไม่ว่าจะเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สถานีหลัก/สถานีแม่ของระบบเครือข่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ อาคาร ปตท.สำนักงานใหญ่ เป็นต้น ยังได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO ได้แก่ ISO45001, ISO14001 โดยมีสถาบันการรับรองมาตรฐานสากล (สรอ.) หรือ Management System Certification Institute (Thailand) (MASCI) เป็นผู้ให้การรับรอง (Certification Body)  ตลอดจนมาตรฐานอื่น ๆ เช่น ISO50001  มาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (Corporate Social Responsibility : CSR-DIW) เป็นต้น โดยพิจารณาประยุกต์และขอการรับรองตามบริบทและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานการจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยเเละสิ่งเเวดล้อม กลุ่ม ปตท.


การบริหารนโยบายไปสู่การปฏิบัติในหน่วยธุรกิจและกลุ่ม ปตท.

ในการถ่ายทอดนโยบาย เป้าหมาย มาตรการการจัดการด้าน SSHE ไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร แต่ละหน่วยธุรกิจจะควบคุมดูแลการนำไปปฏิบัติในสายงาน พื้นที่ปฏิบัติการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามคู่มือระบบการจัดการ SSHE รวมทั้งขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ โดยมีหน่วยงาน QSHE ระดับสายงาน ซึ่งขึ้นตรงกับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ในแต่ละสายงาน เช่น สายงานแยกก๊าซธรรมชาติ สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สายงานสถาบันนวัตกรรม ปตท. เป็นต้น และหน่วยงาน QSHE ที่ดูแลหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท. ทำหน้าที่ผลักดัน
ส่งเสริม ให้คำปรึกษา และติดตามการดำเนินงานตามเป้าหมาย แผนงาน และตัวชี้วัดที่กำหนด โดยมีการรายงานให้ผู้บริหารทั้งในระดับพื้นที่ สายงาน และหน่วยธุรกิจ พิจารณาทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามวาระที่กำหนด

สำหรับการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติในกลุ่ม ปตท. จะดำเนินการตามแนวทางบริหารจัดการแบบกลุ่ม ปตท. (PTT Group Way of Conduct) ตามสัดส่วนของการถือหุ้น โดยบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 100 และมีสัดส่วนการถือหุ้นมากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่น จะนำนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ และมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE ไปปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ ปตท. มุ่งเน้นให้ทุกบริษัทเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับการบริหารจัดการร่วมกัน  จึงได้จัดตั้ง คณะทำงานเฉพาะด้าน (PTT Group QSHE Taskforce) ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้  ผลักดันการดำเนินโครงการด้าน SSHE ร่วมกันในกลุ่ม ปตท. เช่น โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย โครงการพัฒนาคู่มือ/ แนวทางการดำเนินงาน โครงการนำร่องการดำเนินงานด้าน SSHE เป็นต้น ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน รวมทั้งร่วมทบทวนนโยบาย เป้าหมาย มาตรฐานการจัดการ คู่มือ ขั้นตอน/ แนวทางการดำเนินงาน ในรายละเอียดเชิงเทคนิค ก่อนนำเสนอคณะกรรมการตามโครงสร้างกำกับดูแลพิจารณาทบทวนประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเห็นชอบต่อไป

การจัดเก็บและรายงานผลการดำเนินงาน  

ปตท. จัดทำคู่มือและกระบวนการจัดเก็บและรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลต่าง ๆ โดยนำระบบสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เพื่อให้การบันทึกข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบ ลดข้อผิดพลาด และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ ระบบการจัดเก็บและรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกลุ่ม ปตท. ได้ถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต สามารถปรับปรุงระบบได้ง่าย มีระบบความปลอดภัย ตลอดจนรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานจากพื้นที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท. ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ

การตรวจประเมิน

ปตท. กำหนดกรอบและแนวทางในการกำกับ ควบคุม ดูแลระบบบริหารจัดการด้าน SSHE ของหน่วยงานภายใน ปตท. และกลุ่ม ปตท. ให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามนโยบาย QSHE ของกลุ่ม ปตท. โดยมีแนวทางการตรวจประเมิน ดังนี้

  • การตรวจประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานต่าง ๆ โดยผู้ตรวจประเมินภายนอก เช่น ISO45001 และ ISO14001 โดยสถาบันการรับรองมาตรฐานสากล (สรอ.) หรือ Management System Certification Institute (Thailand) (MASCI)
  • การตรวจประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมกลุ่ม ปตท.
  • การตรวจประเมินการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • การตรวจประเมินการปฏิบัติตามระบบการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย
  • การทวนสอบข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

การทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพการดำเนินงาน 

การทบทวนประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน และการดำเนินการตามแผนงานด้าน SSHE ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความยั่งยืน ทั้งภายใน ปตท. และกลุ่ม ปตท. จะดำเนินการโดยคณะกรรมการฯ ทั้งในระดับจัดการ และคณะกรรมการ ปตท. ตามโครงสร้างกำกับดูแลด้านความยั่งยืนที่กำหนด เป็นรายไตรมาส 

โครงสร้างกำกับดูแลด้านความยั่งยืน ปตท.

ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม 

แผนการบริหารจัดการด้านความมั่นคง
ปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงานปี 2562ผลการดำเนินงานปี 2563ผลการดำเนินงานปี 2564
การกำหนดและทบทวนนโยบาย QSHE
กลุ่ม ปตท. อย่างน้อยปีละครั้ง
ทบทวนเนื้อหาและพบว่ายังมีความ
ทันสมัย 
มีการทบทวนเนื้อหานโยบายฯ ให้สอดคล้องตามบริบทและปัจจัยต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป มีการทบทวนเนื้อหานโยบายฯ ให้สอดคล้องตามปัจจัยต่าง ๆ  ที่เปลี่ยนแปลงไป และได้รับการลงนามประกาศใช้เรียบร้อยแล้ว
การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน QSHE ระยะยาวและประจำปี

มีการกำหนดเป้าหมาย QSHE ปตท. และกลุ่ม ปตท. ประจำปี

  • มีการทบทวนเป้าหมาย QSHE ระยะยาวประจำปี 2573 โดยเป้าหมายด้านความปลอดภัย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ระยะกลาง ถูกกำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน ปตท. ในทิศทางกลยุทธ์ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม
  • มีการกำหนดเป้าหมาย QSHE ปตท. และกลุ่ม ปตท. ประจำปี
มีการกำหนดเป้าหมาย QSHE ปตท. และกลุ่ม ปตท. ประจำปี
การกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงาน ระดับองค์กร ด้าน QSHE
  • มีการกำหนดตัวชี้วัดสิ่งแวดล้อม เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานระดับองค์กร (Corporate KPI) ได้แก่ PTT Group Greenhouse Gas Target
  • หน่วยธุรกิจและสายงานปฏิบัติการ ถ่ายทอดเป้าหมาย QSHE เป็น
    ตัวชี้วัดในสายงาน (Functional KPI)
  • มีการกำหนดตัวชี้วัดสิ่งแวดล้อม
    เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานระดับองค์กร (Corporate KPI) ได้แก่ PTT Group Greenhouse Gas Target
  • หน่วยธุรกิจและสายงานปฏิบัติการ ถ่ายทอดเป้าหมาย QSHE เป็นตัวชี้วัดในสายงาน (Functional KPI)
  • มีการกำหนดตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
    เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานระดับองค์กร (Corporate KPI) ได้แก่
    • Safety Management Effectiveness
    • Eco-efficiency วัดประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • หน่วยธุรกิจและสายงานปฏิบัติการ ถ่ายทอดเป้าหมาย QSHE เป็นตัวชี้วัดในสายงาน (Functional KPI)

การพัฒนาและทบทวนมาตรฐานการจัดการ
ด้าน SSHE

มีการทบทวนเนื้อหาข้อกำหนดในมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE มีการทบทวนเนื้อหาข้อกำหนดในมาตรฐาน
การจัดการด้าน SSHE
มีการปรับปรุงมาตรฐานการจัดการด้าน SSHE ในระบบบริหารจัดการของ ปตท. และจัดทำคู่มือการดำเนินงาน (Manual)
การถ่ายทอดการบริหารจัดการ SSHE ไปสู่
การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรใน ปตท.
มีการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ โดยผ่านเป้าหมายประจำปี และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ครบถ้วนทุกหน่วยงานตามที่กำหนด มีการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ โดยผ่านเป้าหมายประจำปี และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ครบถ้วน
ทุกหน่วยงานตามที่กำหนด
มีการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ โดยผ่านเป้าหมายประจำปี และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ครบถ้วนทุกหน่วยงานตามที่กำหนด
การถ่ายทอดมาตรฐานการจัดการ SSHE ไปสู่การปฏิบัติในกลุ่ม ปตท. มีการถ่ายทอดมาตรฐานฯ ไปสู่การปฏิบัติในกลุ่ม ปตท. โดยผ่าน PTT Group Way of Conduct โดยทุกบริษัทมีการดำเนินการ
ได้สอดคล้องครบถ้วน
การทบทวนประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการทบทวนประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคณะกรรมการฯ ตามโครงสร้างกำกับดูแล ครบถ้วนทุกไตรมาส