ความยั่งยืน

องค์กรที่ดีของสังคม

ความยั่งยืน

องค์กรที่ดีของสังคม

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
     
      





ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ 

ผลกระทบของประเด็นในช่วงเวลาต่าง ๆ
ระยะสั้น
ระยะกลาง
ระยะยาว
กลาง
ต่ำ
ต่ำ

องค์กรที่ดีของสังคม 
มุมมองด้านการเงินขององค์กร (Financial Materiality)
มุมมองผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Impact Materiality)
  • ผลกระทบทางเศรษฐกิจทางอ้อมกับสังคมชุมชน
  • การประเมินผลกระทบต่อสังคมชุมชนท้องถิ่น
  • การพัฒนาและสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีของชุมชน
  • การสร้างสัมพันธ์ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมกับสังคมชุมชน
  • การอนุรักษ์/ ส่งเสริมวัฒนธรรมและการศึกษา
  • การสร้างงานและพัฒนาทักษะ
  • การส่งเสริมสุขภาพและรณรงค์ด้านสาธารณสุข
  • การระบุพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงสร้างผลกระทบต่อการโยกย้ายถิ่นฐานของชุมชน
  • ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจากการรักษาความปลอดภัยขององค์กรต่อชุมชน
  • สิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง
ความเสี่ยงต่อบริษัท
- มูลค่าความเสียหายทาง 
การเงินและภาพลักษณ์

โอกาสต่อบริษัท
+ สร้างความสัมพันธ์และ 
การมีส่วนร่วมกับสังคมชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและลดผลกระทบเชิงลบต่อภาพลักษณ์องค์กร 

+ พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการจ้างงานชุมชนในท้องถิ่นรวมถึงตอบสนองต่อนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม
+ ส่งเสริมศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดทุกช่วงวัยซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างโอกาสทางการศึกษา การส่งเสริมทักษะและความคิดสร้างสรรค์  
เพื่อความเท่าเทียม/ความเสมอภาคในหลากหลายมิติและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย

ปี 2567 ปตท. มีการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนสู่การเป็นองค์กรที่ดีของสังคม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลองค์กร  ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหวังเพื่อสร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้ แกสังคมไทยอย่างยั่งยืน  

ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การปลูกและดูแลรักษาป่าที่ ปตท. ได้ปลูกไว้แล้ว 1 ล้านไร่ และปลูกป่าใหม่เพิ่มอีก 1 ล้านไร่ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ. 2050พร้อมทั้งการสร้างจิต สำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม ประกอด้วยการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและการสร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมสังคมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มผู้เปราะบาง โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานคือ การบูรณาการศักยภาพความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมของบริษัทในกลุ่ม ปตท. และพันธมิตร มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  

สำหรับ
การลงทุนทางสังคม (งานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม) นั้น ปตท. มีนโยบายชัดเจนในเรื่องการจัดสรรงบประมาณสำหรับการลงทุนทางสังคม อย่างน้อยร้อยละ
1 - 3 ของกำไรจากการดำเนินงาน ปตท. โดยแบ่งเป็นการให้ในรูปแบบของการบริจาค (Donation) ไม่เกินร้อยละ 30 และการนำไปใช้ในการดำเนินโครงการเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) และ การดำเนินงานในรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70      

ในปี 2567 ปตท. ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการลงทุนทางสังคม รวมทั้งสิ้น 1,066.38 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.23 ของกำไรจากการดำเนินงานของ ปตท.  ซึ่งในปีนี้ ได้มีการดำเนินงานแล้วเสร็จตามแผนภายใต้กรอบงบประมาณ คือ Donation ไม่เกินร้อยละ 30 และ CSR รวมกับ SE ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 แบ่งเป็นการใช้งบประมาณในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

  1. บประมาณสำหรับความช่วยเหลือในรูปแบบการบริจาค (Donation) ร้อยละ 19.07   
  2. งบประมาณสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบโครงการ (CSR) ร้อยละ 80.07 และการดำเนินงานในรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) รวมกันอยู่ที่ร้อยละ 0.86  
จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ปตท. จะเห็นได้ว่า ปตท. มีการทำงานด้านสังคมในหลากหลายมิติเพื่อให้เห็นถึงความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาทักษะเพื่อสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มเกษตรกรและชุมชนผ่านโครงการชุมชนเข้มแข็ง การส่งเสริมทักษะความรู้ในการพัฒนามาตรฐานคุณภาพสินค้าชุมชนเพื่อจำหน่ายผ่านโครงการชุมชนยิ้มได้ การพัฒนาทักษะความรู้และสร้างแรงบันดาลใจด้าน STEM ผ่านงานด้านการศึกษาร่วมกับโรงเรียนกำเนิดวิทย์ และสถาบันวิทยสิริเมธี และการส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการส่งเสริมเครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริภายใต้การดำเนินงานของสถาบันลูกโลกสีเขียว รวมถึงการดำเนินงานของสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ในการดำเนินการปลูกและดูแลรักษาป่าใหม่ 1 ล้านไร่  การฟื้นฟูและดูแลรักษาพื้นที่ป่าเดิม พร้อมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ทางธรรมชาติ 4 แห่ง เพื่อให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับประชาชนและชุมชนในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

นอกจากนี้ เมื่อประเทศและประชาชนคนไทยได้รับความเดือนร้อนจากภัยพิบัติ ชมรมพลังไทยใจอาสา กลุ่ม ปตท.  ก็จะเร่งระดมสรรพกำลังในการจัดเตรียมและส่งมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัยโดยเร็ว พร้อมกับส่งทีมหน่วยปฏิบัติการ PTT Group Seals ซึ่งเป็นทีมเฉพะกิจที่ได้รวมพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการกู้ชีพจากบริษัทใน กลุ่ม ปตท. ลงพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึง ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย คนชรา เด็ก และร่วมบรรเทาทุกข์ประชาชนตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ได้ทันต่อสถานการณ์   


จากพันธกิจในการดูแลความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการเดินเคียงข้างไปกับการดูแลสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมพบว่า  ปตท. ยังคงเป็นองค์กรที่มีผลคะแนนชี้วัดความมีชื่อเสียงขององค์กร (Corporate Reputation Score) ที่มีคะแนนสูงสุดเมื่อเทียบกับบริษัทคู่เทียบ (ข้อมูลจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินธุรกิจ ปตท. ปี 2567) 

แผนงานเป้าหมายปี 2566ผลการดำเนินงานปี 2566เป้าหมายปี 2567ผลการดำเนินงานปี 2567
การสนับสนุนงบประมาณและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม 1,179.37 ล้านบาท 1,018.79 ล้านบาท 1,226.09 ล้านบาท 1,066.38 ล้านบาท
การสร้างวัฒนธรรม จิตอาสาภายในองค์กร 550 คน 965 คน 850 คน 1,813 คน
การบริจาคในรูปแบบของสิ่งของและบริการ  NA 303.31 ล้านบาท NA 16.31 ล้านบาท
ค่าบริหารจัดการสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม NA 86.7 ล้านบาท 57.28 ล้านบาท 53.47 ล้านบาท

แนวทางการจัดการ

เป้าหมายในการสร้างคุณค่าทางสังคม ของ ปตท. 

ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ได้กำหนดกลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนงานสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรนั่นคือ ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน โดยมีกระบวนการทำงานที่ผ่านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามแนวทางปฏิบัติงานด้านชุมชนสัมพันธ์อย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้ได้เข้าใจถึงบริบทและความต้องการของชุมชนที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ จึงกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน 2 ด้าน ได้แก่ 

  1. การยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมชุมชนให้มีผลลัพธ์ทางสังคมที่เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงคของโครงการ เช่น เพิ่มรายได้ หรือ ลดรยจ่ายมากกว่าหรือเท่ากับ 10% จาก Baseline  
  2. การขับเคลื่อนสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำและการดูดซับก๊าซเรือนกระจก 3 MtCO2 ต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)  

ขณะเดียวกัน ปตท. ยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานสละเวลาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ ผ่านโครงการจิตอาสาที่จัดกิจกรรมเพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม และชมรมพลังไทยใจอาสา กลุ่ม ปตท. ตลอดจนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมวัฒนธรรมการเป็นองค์กรที่ดีของสังคมของ ปตท. ในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 

โครงสร้างกำกับดูแล/ กลไก/ วิธีการบริหารจัดการ
โครงสร้างกำกับดูแล

ปตท. ได้มีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์การสร้างคุณค่าร่วมกัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ทิศทางกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ใน “แผนแม่บทการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปตท. ประจำปี 2564-2568” (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ปี 2567) โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายระยะยาว   ถ่ายทอดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในสายงานที่รับผิดชอบ (Functional KPI) ตลอดจนจัดทำเป็นแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยให้มีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดต่อคณะกรรมการในระดับจัดการและคณะกรรมการ ปตท. ตาม โครงสร้างกำกับดูแล ที่กำหนด เป็นรายไตรมาส 

กระบวนการ/ กลไกในการบริหารจัดการผลกระทบ

ปตท. มุ่งมั่นที่จะงดการดำเนินงานในพื้นที่คุ้มครองเพื่อให้การดำเนินงานด้านสนับสนุนชุมชนเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน โดย ปตท. ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานด้านชุมชนสัมพันธ์ เพื่อลดข้อกังวลต่าง ๆ และสร้างการยอมรับจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 


1) การระบุกลุ่มเป้าหมาย:

กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ครบถ้วนตามการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ/กิจกรรมขององค์กร และพิจารณาตามระดับความสนใจและอิทธิพลต่อการดำเนินโครงการ/กิจกรรมขององค์กร

2) การจัดลำดับความสำคัญของชุมชน:
ประเมินระดับความสำคัญของชุมชนที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ/กิจกรรมขององค์กร และกำหนดวิธีการและระดับการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่จำแนกตามระดับความสำคัญ จากผลสรุปที่ได้จากระดับความสนใจและอิทธิพลที่มีต่อโครงการ/ กิจกรรมขององค์กร

3) การจัดทำแผนงานการมีส่วนร่วมกับชุมชน:
นำข้อมูลชุมชนมาจัดทำเป็นแผนงานการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามระดับความสำคัญของชุมชนที่ได้จำแนกไว้

4) การดำเนินงานตามแผนการมีส่วนร่วมกับชุมชน:
ดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามรูปแบบที่เหมาะสมและสะดวกกับชุมชน โดยมุ่งเน้นประเด็นและความสนใจในผลกระทบที่มีต่อชุมชนและคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

5) การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลชุมชน:
รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานการพัฒนาชุมชนทั้งหมดไว้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนประมวลผลให้เป็นฐานข้อมูลไว้สำหรับการติดตามความก้าวหน้าและการขยายผลตามพันธะสัญญาต่าง ๆ ที่ได้เห็นชอบและตกลงร่วมกันกับชุมชน

6) การตอบสนอง การติดตามผล และการดำเนินงานต่อเนื่อง:
รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานการพัฒนาชุมชนทั้งหมดไว้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนประมวลผลให้เป็นฐานข้อมูลไว้สำหรับการติดตามความก้าวหน้าและการขยายผลตามพันธะสัญญาต่าง ๆ ที่ได้เห็นชอบและตกลงร่วมกันกับชุมชน

การสร้างคุณค่าทางสังคม 

ปตท. มีความตั้งใจที่จะลงทุนดำเนินกิจการทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จึงได้มีการทบทวนและปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม และได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและภายนอกตามสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างคุณค่าร่วมกัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) การสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 การพิจารณาถึงเรื่องปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาในการเข้าถึงพลังงาน รวมถึงผลสำรวจความต้องการของสังคมชุมชนที่มีต่อองค์กร 

มาตรการแก้ไข/ ป้องกัน
การดำเนินงานเพื่อสังคมของ ปตท.

ปตท. ดำเนินงานด้านกิจการเพื่อสังคมตามกรอบการดำเนินงาน ใน 2 เป้าหมาย คือ ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมชุมชน พัฒนาคน ชุมชน และสังคม (Social) และด้านการขับเคลื่อนสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้


การพัฒนาคน ชุมชน และสังคม (SOCIAL)
การส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENT)

พันธมิตรและความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ

สถาบันและวิสาหกิจเพื่อสังคม

สถาบันลูกโลกสีเขียว
สถาบันปลูกป่า
วิสาหกิจเพื่อสังคม

แนวทางการดำเนินงานเพื่อสังคม

ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมชุมชน พัฒนาคน ชุมชน และสังคม (Social) : งานการศึกษาและการพัฒนาทักษะเยาวชน
ปัจจัยนำเข้า (Input) ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Impact)
วิธีการดำเนินงาน (How) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
รูปแบบการสนับสนุน
  • งบประมาณ
  • เวลาที่พนักงานใช้ในการดำเนินกิจกรรม
  • การบริจาคในรูปแบบสิ่งของและบริการ
  • ต้นทุนค่าบริหารจัดการสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม
ประเด็นที่มุ่งแก้ไข
  • สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างรากฐานในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต
  • สนับสนุนการพัฒนาครูในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) 72 คน สะสมรวม  494 คน และสถาบันวิทยสิริเมธี 46 คน สะสมรวม 169 คน
  • จำนวนผลงานวิจัยจากสถาบันวิทยสิริเมธี 269 ผลงาน สะสมรวม 1,790 ผลงาน
  • จำนวนนักเรียนที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาทักษะความรู้สร้างแรงบันดาลใจด้าน STEM จำนวน 216 คน
  • จำนวนนักกีฬาได้รับประโยชน์สะสมมากกว่า  20,000 คน ในปี 2567
คุณค่า/ประโยชน์ต่อสังคม
  • เพิ่มบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่ประเทศ
  • เพิ่มงานวิจัยและนวัตกรรมที่สนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศ
  • ส่งเสริมและสร้างทักษะทางด้านกีฬาให้แก่เยาวชน
คุณค่า/ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มงานวิจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการ/กิจกรรม ด้านธุรกิจ ด้านธุรกิจ
  • การสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาศักยภาพการ ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระยะยาวผ่านโรงเรียนกำเนิดวิทย์ และสถาบันวิทยสิริเมธี 
  • การพัฒนาทักษะความรู้และสร้างแรงบันดาลใจด้าน STEM  
  • การสนับสนุน งบประมาณเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านกีฬา 
  • จำนวนข่าวหรือสื่อที่มีการรายงานกิจกรรมการส่งเสริมด้านการศึกษาสู่สาธารณชนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร 2,167 ข่าวเผยแพร่ ในปี 2567
คุณค่า/ประโยชน์ต่อพนักงาน
  • เกิดเครือข่ายในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม 
คุณค่า/ประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • เชื่อมโยงการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมกับธุรกิจกลุ่ม ปตท. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและการต่อยอดพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ
  • เกิดเครือข่ายโรงเรียนในรัศมีรอบสถานประกอบการ
ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมชุมชน พัฒนาคน ชุมชน และสังคม (Social) : การพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมทักษะเพื่อสร้างอาชีพ  และช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากสภาวะวิกฤต 
ปัจจัยนำเข้า (Input) ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Impact)
วิธีการดำเนินงาน (How) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
รูปแบบการสนับสนุน
  • งบประมาณ
  • เวลาที่พนักงานใช้ในการดำเนินกิจกรรม
  • การบริจาคในรูปแบบสิ่งของและบริการ
  • ต้นทุนค่าบริหารจัดการสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม
ประเด็นที่มุ่งแก้ไข
  • ลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานให้แก่ชุมชนและองค์กร โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
  • เพิ่มรายได้ผ่านการเพิ่มศักยภาพชุมชน มุ่งเน้นการใช้ฐานทรัพยากรในพื้นที่ ผสมผสานกับองค์ความรู้และนวัตกรรม ไปจนถึงการส่งเสริมช่องทางจัดจำหน่าย
  • พัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มโอกาสในการจ้างงานผู้พิการ ผู้สูงวัย และผู้ขาดโอกาส
  • สนับสนุนเพื่อช่วยเหลือสังคมด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและเศรษฐกิจในช่วงสภาวะวิกฤต
  • พัฒนาชุมชนในโครงการชุมชนเข้มแข็ง จำนวน 7 พื้นที่แม่ข่าย 143 ครัวเรือน สามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ครัวเรือน 10% ทุกครัวเรือน
  • พัฒนาสินค้าชุมชนและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน 1,595 SKUs และสร้างการเข้าถึงช่องทางการตลาดให้แก่ชุมชนกว่า 483 ชุมชน
  • จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือจากภัยพิบัติทางธรรมชาติผ่านการสนับสนุนเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น 21,620 คน ในปี 2567
  • จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือจากภัยพิบัติทางธรรมชาติผ่านการสนับสนุนเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น 49,200 คน ในปี 2567 
  • จำนวนผู้ด้อยโอกาสและเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ จำนวน 461 คน และ 96 ชุมชน ในปี 2567 
  • จำนวนผู้ด้อยโอกาส (บุคคลออทิสติกและบุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา  รวมทั้งเยาวชนผู้พลาดกระทำผิด) ที่ได้รับการฝึกอบรม 100 คน และได้รับการจ้างงาน 6 คน ในปี 2567 
คุณค่า/ประโยชน์ต่อสังคม
  • ลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานในครัวเรือน
  • เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
  • เพิ่มการจ้างงานผู้พิการ ผู้สูงวัย และผู้ขาดโอกาส
คุณค่า/ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • แก้ปัญหามลพิษแก่ชุมชน เช่น น้ำเสีย ขยะเศษอาหาร 
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำทางการเกษตร
โครงการ/กิจกรรม ด้านธุรกิจ ด้านธุรกิจ
  • โครงการชุมชนเข้มแข็ง
  • โครงการชุมชนยิ้มได้
  • การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส
  • โครงการพัฒนาทักษะทางสังคมและอาชีพแก่เยาวชนด้อยโอกาสและผู้พิการ (บุคคลออทิสติกและบุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา รวมทั้งเยาวชนผู้พลาดกระทำผิด)
  • จำนวนข่าวหรือสื่อที่มีการรายงานกิจกรรมการส่งเสริมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมทักษะเพื่อสร้างอาชีพ และช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากสภาวะวิกฤตสู่สาธารณชนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร 254 ข่าวเผยแพร่ ในปี 2567
คุณค่า/ประโยชน์ต่อพนักงาน
  • ได้นำความรู้และความเชี่ยวชาญมาใช้ช่วยเหลือสังคม 
คุณค่า/ประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • สร้างเครือข่ายชุมชนรอบสถานประกอบการ และระดับประเทศ
  • ภาพลักษณ์การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด
ด้านการส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การปลูกป่าใหม่และดูแลรักษาป่าเก่า การบริหารศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่า
ปัจจัยนำเข้า (Input) ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Impact)
วิธีการดำเนินงาน (How) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
รูปแบบการสนับสนุน
  • งบประมาณ
  • เวลาพนักงานที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม
  • การบริจาคในรูปแบบสิ่งของและบริการ
  • ต้นทุนค่าบริหารจัดการสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม
ประเด็นที่มุ่งแก้ไข
  • เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกและรักษาระบบนิเวศ
  • เชื่อมโยงการใช้ประโยชน์จากป่าหรือพื้นที่สีเขียวกับชุมชน สังคม
  • สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานสะอาดให้แก่สังคม
  • พื้นที่สีเขียวสะสม ตั้งแต่เริ่มดำเนินการโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ ในปี 2537- 2567 จำนวน 1,079,908 ไร่**
  • มูลค่าการใช้ประโยชน์
    จากป่า 300 ล้านบาท /ปี **
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจก
    ที่กักเก็บได้ จากการส่งเสริม การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อม ได้รับรองการดูดซับ CO₂ สะสม รวม 42.11 MtCO₂e
    คิดเป็นความเพิ่มพูนได้ 1.87 MTonCO₂e/ปี) **
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (ทางตรงและทางอ้อม) จากการใช้พลังงานสะอาด ในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ โดยรวมเฉลี่ย 10.5 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ในปี 2567
คุณค่า/ประโยชน์ต่อสังคม
  • เพิ่มรายได้จากการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน
  • ขับเคลื่อนเครือข่ายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คุณค่า/ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มพื้นที่สีเขียวและป่า
  • เพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก
  • รักษาระบบนิเวศ
คุณค่า/ประโยชน์ด้านอื่นๆ
  • เป็นแหล่งพักผ่อนและท่องเที่ยวให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่สนใจ



โครงการ/กิจกรรม ด้านธุรกิจ ด้านธุรกิจ
  • การมีส่วนร่วมในการเพิ่มและรักษาฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า
  • การสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่า 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง และศูนย์เรียนรู้สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา จังหวัดสมุทรปราการ
  • การมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านสถาบันลูกโลกสีเขียว
  • โครงการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับการศึกษาทางไกล
  • ปี 2567 จำนวนผู้ได้รับประโยชน์ โดยตรงจากการเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้ง 4 ศูนย์ รวม 71,342 คน 
  • จำนวนผู้ได้รับประโยชน์  จากการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับการศึกษาทางไกล  354 คน ในปี 2567
คุณค่า/ประโยชน์ต่อพนักงาน
  • การใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวในพื้นที่รอบ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่
  • การใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า และศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติ 4 แห่ง ของพนักงาน
คุณค่า/ประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • สร้างเครือข่ายชุมชนรอบสถานประกอบการ และระดับประเทศ
  • ภาพลักษณ์การให้ความสำคัญในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ
  • สร้างทักษะและความเชี่ยวชาญของพนักงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ผลการดำเนินงานการลงทุนทางสังคม ย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2565-2567)


มิติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ชุมชน และสังคม (SOCIAL)

หน่วย
2565
2566
2567
ตัวชี้วัดระยะสั้น
ำนวนผู้ได้รับประโยชน์สะสมจากการดำเนินงานด้านวิสาหกิจเพื่อสังคม  คน
ชุมชน
ครัวเรือน


348 คน

494 คน 461 คน และ 96 ชุมชน 
จำนวนผู้ได้รับประโยชน์สะสมจากการดำเนินงานของมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน คน 323 581 454
จำนวนผู้เข้ารับการศึกษา (ทุนการศึกษาเต็มจำนวน) โรงเรียนกำเนิดวิทย์ และสถาบันวิทยสิริเมธี คน/ปี 71 69 118
จำนวนนักเรียนที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาทักษะความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจด้าน STEM คน/ปี NA NA 216
จำนวนผู้ได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนด้านกีฬา คน/ปี 3,557 20,000 20,000
จำนวนผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงการชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอดโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้มที่สิ้นสุดปี 2566) คน/ปี NA NA 7 พื้นที่แม่ข่าย 143 ครัวเรือน
จำนวนสินค้าชุมชนที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการชุมชนยิ้มได้  SKU/ปี 31 36 143
จำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือจากภัยพิบัติทางธรรมชาติผ่านการสนับสนุนเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น คน/ปี 15,000 23,000 49,200
ตัวชี้วัดระยะยาว
รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานด้านวิสาหกิจเพื่อสังคม  บาท/ปี >4,751,028 >6,170,000 7,490,000

จำนวนผลงานวิจัยที่ยืนจดสิทธิบัตรแล้วของสถาบันวิทยสิริเมธี

ผลงาน 16 75 103
รายได้ที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ลดลงของชุมชนในภาพรวมจากการดำเนินงานโครงการชุมชนเข้มแข็ง ล้านบาท/ปี NA NA 10% ทุกครัวเรือน
รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการสนับสนุนช่องทางจำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านโครงการชุมชนยิ้มได้ บาท/ปี 28,375,482 28,848,622 3,090,000
ผลตอบแทนจากการลงทุนเชิงสังคม (Social Return on Investment; SROI) 1.3 เท่า 

มิติด้านการส่งเสริมการอนุรักษ์และ
ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ENVIRONMENT)
หน่วย
2565
2566
2567
หมายเหตุ
ตัวชี้วัดระยะสั้น
พื้นที่สีเขียวและพื้นที่ป่าที่เพิ่มขึ้น ไร่ 1,167,613 1,167,613 1,079,908 - ป่าเก่า (ปี 37- 64) เดิม 1,124,762 ไร่ คงเหลือ 931,039 ไร่เนื่องจาก กรมฯเจ้าของพื้นที่ปรับนโยบายการดำเนินงาน
- ป่าใหม่ ปี  66 จำนวน 86,172.98 ไร่ ปี 67 จำนวน 62,696 ไร่
จำนวนผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ คน/ปี 54,442 63,176 71,342
ตัวชี้วัดระยะยาว
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บได้ (ทางตรงและทางอ้อม) จากการส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ตันคาร์บอน
ไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี
36.49 MtCO₂e 36.49 MtCO₂e 42.11 MtCO₂e
(อ้างอิงงานวิจัยประเมินผลสัมฤทธิ์ แปลงปลูกป่า ปตท. ระยะที่ 5
(ปี 2565-2567)
รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากป่า บาท/ปี 280,000,000 280,654,442 300,000,000

หมายเหตุ: *อ้างอิงตามข้อมูลผลการดำเนินงานที่เปิดเผย One Report ปี 2565-2567
               ** อ้างอิงงานวิจัยประเมินผลสัมฤทธิ์ แปลงปลูกป่า ปตท. ระยะที่ 5 (ปี 2565-2567)

ตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมที่สำคัญ 

ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมชุมชน กลุ่ม ปตท. เพิ่มขีดความสามารถชุมชนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน โดยดำเนินงานโครงการชุมชนเข้มแข็ง รายละเอียด ดังนี้
  • ดำเนินการต่อยอดความสำเร็จของโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. สู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง โดยเสริมทักษะด้านการเกษตรด้วยแนวคิดการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในรูปแบบร่วมทุน ให้ชุมชนได้มีบทบาทความเป็นเจ้าของร่วมกัน เสริมแนวคิดความคุ้มค่าคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ และร่วมขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานทางเศรษฐกิจโดยรวมของชุมชน ผ่านโมเดลเศรษฐกิจยั่งยืน (BCG Economy Model) สำหรับการเสริมศักยภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่ โดยนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของแต่ละบริบทชุมชนเข้าไปประยุกต์ใช้ในแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย โซล่าเซลล์สูบน้ำ ระบบรดน้ำอัจฉริยะ โรงเรือนเพาะปลูก เตาเผาถ่าน โดรนเพื่อการเกษตร ปุ๋ยนาโนซิงค์ออกไซด์ และไบโอบูสเตอร์  โดยในปี 2567 ได้พัฒนาชุมชนเข้มแข้งจำนวน 143 ครัวเรือน ใน 7 พื้นที่แม่ข่าย  ที่สามารถส่งต่อองค์ความรู้ให้ชุมชนเครือข่ายอื่นๆ ต่อไป ได้แก่
    • ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
    • ตำบลบ้านน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
    • ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    • ตำบลคำแคน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
    • ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
    • ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
    • ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนงานพัฒนาทักษะชุมชน โดยฝึกอบรมทักษะช่างชุมชน เน้นให้ความรู้ในการออกแบบ ติดตั้ง และซ่อมบำรุงรักษาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาดูงานและการทำ Workshop ในพื้นที่ต้นแบบ รวมจำนวน 33 คน และเริ่มศึกษาพัฒนาโมเดลหรือนวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำ และวางแผนการพัฒนาพื้นที่ชุมชนในเครือข่าย ปตท. ให้เป็นจุดเรียนรู้ต้นแบบด้านบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคและการเกษตร ที่เกิดจากภัยแล้งให้เป็นรูปธรรม
  • ประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : ชุมชนและกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษกิจ ด้านการศึกษา และสิ่งแวดล้อม ได้รับพัฒนาศักยภาพ การส่งเสริมให้มีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดี
  • ประโยชน์ต่อ ปตท. : เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมในทุกมิติในฐานะองค์กรที่ดีของสังคม นอกเหนือจากบทบาทการเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ ที่มีภารกิจหลักสร้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อคนไทยและประเทศชาติ