ความยั่งยืน

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความยั่งยืน

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
 





นโยบายและทิศทางกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย GRI 2-29

ปตท. กำหนดเป้าหมายการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ “เป็นองค์กรที่คนไทยเชื่อใจ พึ่งพากัน และร่วมขับเคลื่อนอนาคตสู่สังคมสิ่งแวดล้อมสะอาด” เพื่อตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ สังคมชุมชน ผู้ลงทุน ลูกค้า คู่ค้าและคู่ความร่วมมือ กรรมการและพนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความเข้าใจและเชื่อมั่นการดำเนินงานของ ปตท. กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างมืออาชีพ ด้วยความมุ่งมั่น โปร่งใส เป็นธรรม การตอบสนองความต้องการและความคาดหวัง โดยสร้างการมีส่วนร่วมในประเด็นสำคัญอย่างเหมาะสม รวมทั้ง การยกระดับความสัมพันธ์ที่ดีและพัฒนาเครือข่ายอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ปตท. มีทิศทางกลยุทธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ “เข้าใจ เข้าถึง พึ่งพากัน” โดย “เข้าใจ” เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสื่อสาร “เข้าถึง” เป็นการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมและผลักดันสู่การปฏิบัติโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกการดำเนินงาน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และ “พึ่งพากัน” เป็นการพัฒนาเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง โดยมีขอบเขตครอบคลุมถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 6 กลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในปัจจุบันและอนาคต ในพื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท. รอบสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ที่บริหารจัดการเอง และไม่ได้บริหารจัดการเอง รวมถึงโครงการร่วมทุนอีกด้วย

กระบวนการบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กระบวนการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ปตท. เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยอ้างอิงหลักการกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย AA1000 Stakeholder Engagement Standard 2015 (AA1000 SES) รวมทั้ง เกณฑ์ประเมินการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้าของคู่มือการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามหลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ Enablers ของรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model: SE-AM) โดยผู้ที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย

  1. ผู้รับผิดชอบระดับองค์กร  (ฝ่ายบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) เป็นผู้จัดทำนโยบายและทิศทางกลยุทธ์ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกำกับดูแลกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ขององค์กร
  2. ผู้รับผิดชอบระดับสายงาน เป็นผู้นำนโยบาย ทิศทางกลยุทธ์ และกลยุทธ์ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร  ไปถ่ายทอดเพื่อให้ผู้รับผิดชอบระดับหน่วยงานไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และสรุปแผนสร้างความสัมพันธ์ในระดับสายงาน
  3. ผู้รับผิดชอบระดับหน่วยงาน เป็นผู้จัดทำแผนสร้างความสัมพันธ์และกำหนดตัวชี้วัดผลผลิต (Leading KSI) /ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Lagging KSI)  เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ดูแล ติดตามและประเมินผลการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง  

ทั้งนี้ การติดตามและรายงานผลการดำเนินงานจะมีทั้งระดับองค์กรและสายงาน โดยการรายงานผลในประเด็นที่ติดตามระดับองค์กรผ่านคณะกรรมการแผนวิสาหกิจและบริหารความเสี่ยง (CPRC) คณะกรรมการจัดการ (PTTMC) และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (ERMC) ตามลำดับ รายไตรมาส เพื่อกลั่นกรองให้ข้อคิดเห็นและให้ความเห็นชอบ รวมทั้งการรายงานผลการสร้างความสัมพันธ์ของสายงานทุกไตรมาสให้กับผู้บริหารระดับสูงของสายงานรับทราบ

การจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ปตท.GRI 2-29

มีส่วนได้ส่วนเสียของ ปตท. คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบจากการดำเนินธุรกิจของ ปตท. หรือผู้ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน จนถึงอนาคต โดยสามารถจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็น 6 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • หน่วยงานภาครัฐ หมายถึง ผู้กำหนดนโยบายหรือกำกับดูแล รัฐวิสาหกิจ ศาล องค์กรอิสระ สภาผู้แทน
    ราษฎรและวุฒิสภา และองค์การระหว่างประเทศ
  • สังคมชุมชน หมายถึง ชุมชนรอบสถานประกอบการ ปตท. ประชาชนทั่วไป เยาวชน สถาบันการศึกษาสื่อมวลชน นักการเมืองท้องถิ่น และองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ (NGO)
  • ผู้ลงทุน หมายถึง ผู้ถือหุ้นสามัญ ผู้ถือหุ้นกู้ นิติบุคคลและนักลงทุนรายย่อย บริษัทหลักทรัพย์ และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
  • ลูกค้า หมายถึง ลูกค้าภาคธุรกิจ ผู้บริโภค และลูกค้าราชการ
  • คู่ค้าและคู่ความร่วมมือ หมายถึง คู่ค้า ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ และพันธมิตรทางธุรกิจ
  • กรรมการและพนักงาน หมายถึง กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ปตท.
กระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปตท.

ปตท. รวบรวมและระบุประเด็น ความต้องการ ความคาดหวัง ข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจหลักและสายงานสนับสนุนตามโครงสร้างขององค์กร รวม 15 สายงาน เพื่อให้สามารถระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร แล้วจึงนำมาระบุประเด็น ความต้องการ ความคาดหวัง ข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มได้อย่างครบถ้วน โดยสายงานจะนำกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นในระดับองค์กร มาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นของสายงาน นอกจากนี้ ยังมีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่

  • ผลการสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีการสำรวจอย่างน้อยปีละครั้ง
  • ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจากการประเมินผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คนและสิทธิมนุษยชน
  • บทวิเคราะห์แนวปฏิบัติ แนวโน้มและทิศทางของโลก
  • แผนธุรกิจประจำปี
  • ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management Committee: ERMC)

จากผลการวิเคราะห์ประเด็น ความต้องการ ความคาดหวัง ข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผลวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของแต่ละสายงานจะนำมาจัดทำแผนสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประเด็น ตัวชี้วัดที่ชัดเจน และรายงานความก้าวหน้าการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผู้บริหารสูงสุดของสายงาน ทุกไตรมาส เพื่อทบทวนและนำ
ข้อเสนอแนะไปพัฒนาปรับปรุงภายในสายงานต่อไป รวมถึง การสรุปภาพรวมของประเด็นสำคัญที่จะมีการติดตามระดับองค์กร เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้แก่คณะกรรมการแผนวิสาหกิจและบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (ERMC)ซึ่งเป็นคณะกรรมการเฉพาะเรื่องในคณะกรรมการ ปตท. เป็นรายไตรมาส โดยในปี 2566 มีประเด็นสำคัญในระดับองค์กรทั้งหมด 10 ประเด็น ได้แก่

  1. Brand & Trust Brand หมายถึง ภาพลักษณ์และมุมมองความคิดที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีต่อบริษัทหรือสินค้าและผลิตภัณฑ์ และ Trust หมายถึง ความเชื่อถือ ความไว้วางใจ ความมั่นใจ
  2. Climate Change หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากความผันแปรตามธรรมชาติหรือกิจกรรมของมนุษย์
  3. Compliance/ Transparency Compliance หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ และ Transparency หมายถึง ความชัดเจนที่ธุรกิจเปิดเผยไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางบวกหรือ
    ทางลบ
  4. Customer Experience หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและองค์กรตลอดจนความสัมพันธ์ทางธุรกิจรวมถึงการสร้างการรับรู้ อบรม สนับสนุน การซื้อ และการบริการ
  5. Energy Transition หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลังงานใหม่
  6. Financial Performance หมายถึง ผลการดำเนินงานทางการเงิน
  7. Future Business หมายถึง ธุรกิจใหม่ เช่น Renewable Energy, Energy Storage, Electricity Value Chain, Hydrogen Technology, Life Science, AI & Robotics
  8. Information Security & Data Privacy Information Security หมายถึง การรักษาความปลอดภัยทางข้อมูล และ Data Privacy หมายถึง ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยให้
    ความคุ้มครองและปฏิบัติตามกฎหมาย
  9. Organization & Employee หมายถึง การพัฒนาองค์กรและพนักงาน
  10. Safety Health & Environment หมายถึง ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ผลการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของแต่ละสายงาน ประจำปี 2566 สามารถสรุปได้ดังนี้

แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญ GRI 2-29

ปตท. มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประเด็นที่สำคัญที่ติดตามระดับองค์กร จากการวิเคราะห์และประมวลผลคะแนนจากการจัดลำดับความสำคัญประเด็นของ 15 สายงาน (Bottom-up) และการวิเคราะห์ในมุมมองขององค์กร (Top-down) ซึ่งพิจารณาประเด็นที่มีความสอดคล้องใน 3 ด้าน ปี 2566 คือ นโยบายภาครัฐ วิสัยทัศน์ขององค์กร และความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีประเด็นสำคัญที่ติดตามระดับองค์กรทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ 1) Brand & Trust 2) Climate Change 3) Energy Transition 4) Future Business และมีแผนสร้างความสัมพันธ์ในแต่ละประเด็น ตัวอย่างเช่น ประเด็น Climate Change ปตท. เป็นประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) ซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรชั้นนำระดับประเทศจากภาครัฐ เอกชน ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ SME มหาวิทยาลัยชั้นนำ และชุมชนท้องถิ่น รวมกว่า 500 องค์กร ร่วมเป็น “เครือข่ายแกนนำของประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero”
ผลักดันการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการลดก๊าซเรือนกระจกและเร่งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อภาครัฐ ในการยกระดับมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งในปี 2566 ปตท. เป็น 1 ใน 5 องค์กรผู้พัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกของเครือข่าย TCNN และ เป็น 1 ใน 16 องค์กรนำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งได้รับผลการประเมินและจัดระดับการรับรองฯ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

นอกจากนี้ ปตท. มีช่องทางสื่อสารในรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามช่องทางการสื่อสารหลัก ประกอบด้วย 1) Mass Media เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ เป็นต้น 2) Social Media โดยเลือก content สื่อสารที่ตรงกับกลุ่มผู้ใช้งาน เช่น Website, Facebook, Instagram, YouTube, Twitter, Line, TikTok, PTT Insight Application 3) สื่ออื่น ๆ เช่น การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การประชุมวิชาการ

ผลการสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญ

ในปี 2566 มีรายละเอียดของผลการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

ผลการสร้างความผูกพันผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


คะแนนความผูกพันผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย



ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพิจารณาจากคะแนนความผูกพันผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยกำหนดเป้าหมายในระดับดีมาก (≥80) โดยผลคะแนนปี 2566 เท่ากับ 85 คะแนน  ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมาย สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของ ปตท. ที่สามารถตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ในระดับดีมาก