แนวทางการบริหารจัดการ
การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน
ตั้งแต่ปี 2563 ปตท. ปรับแนวทางการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่าน “แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี 2564 (แบบ 56-1 One Report)” ในหัวข้อ 3 การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ส่วนที่ 1 การประกอบธุรกิจและผลการดำเนินงาน ควบคู่ไปกับการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ www.pttplc.com ในหัวข้อความยั่งยืน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท ที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ และสามารถทวนสอบกลับไปยังข้อมูลต้นทางได้ ซึ่งครอบคลุมข้อมูลการดำเนินงานใน 3 มิติ คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล โดยนำเสนอรายละเอียดของการบริหารจัดการโอกาสและความท้าทายที่มีผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบต่อการดำเนินธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สังคมชุมชน ผู้ลงทุน ลูกค้า คู่ค้าและคู่ความร่วมมือ ตลอดจนพนักงาน ให้รับทราบและมีความเข้าใจในข้อมูลที่โปร่งใส ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจ
ปัจจุบัน ปตท. จัดทำรายงานแบบ 56-1 One Report และการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
- การรายงานด้านความยั่งยืนของ Global Reporting Initiative (GRI) และ The Oil and Gas Sector Disclosure (OGSD) โดยมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ “In accordance” ในระดับครบถ้วนตามตัวชี้วัดหลัก (Core) เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลมีความเหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับธุรกิจ
- การรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั้ง 3 มิติในเชิงการสร้างคุณค่าระยะยาว (Long-Term Value Creation) ตามมาตรฐาน “Measuring Stakeholder Capitalism: Towards Common Metrics and Consistent Reporting of Sustainable Value Creation” ของ World Economic Forum (WEF)
- รายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามหลักสากล 10 ประการของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) ในระดับ Advance ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านทุจริต ตอบสนองความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หัวข้อเครือข่ายด้านความยั่งยืน
- แนวทางการรายงานของ Integrated Reporting (IR) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและด้านการดำเนินธุรกิจ โดยแนวทางการรายงานนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากรอบการนำเสนอผลการดำเนินงานขององค์กรในอนาคตต่อไป
- รายงานผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยประยุกต์ใช้ Recommendation of the Task Force on Climate-related Financial Disclosure (TCFD)
- การมีส่วนร่วมส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับสากล จึงได้พิจารณาถึงความสอดคล้องเบื้องต้นของการดำเนินงานเทียบกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบสหประชาชาติ
![]() |
ปตท. จัดให้มีการทวนสอบข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เปิดเผย โดยหน่วยงานอิสระภายนอกต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 เพื่อความครบถ้วน ถูกต้อง เชื่อถือได้ และความโปร่งใสของรายงาน สามารถอ่านรายละเอียดของ Assurance Statement ได้ที่นี่
![]() |
สำหรับข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ และสามารถอ่านรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินของบริษัทในรายงานทางการเงิน (Financial Report) และข้อมูลผลการดำเนินงานของ ปตท. ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/ รายงานประจำปี 2564 (แบบ 56-1 One Report) โดยมีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวนี้เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ปตท. ยังจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านข้อมูลที่เปิดเผยในหัวข้อ 3 การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ในส่วนที่ 1 การประกอบธุรกิจและผลการดำเนินงานตามแบบ 56-1 One Report
![]() |
![]() |
หมายเหตุ * ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มธุรกิจและสายโซ่อุปทานที่มีนัยสำคัญในปี 2564GRI102-10
การประเมินผลด้านความยั่งยืน
ปตท. ได้รับการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนจากนักลงทุน/สถาบันต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยมีผลการประเมินที่สำคัญ ดังนี้
Benchmarking/ rating |
ผลประเมินปี 2564 |
---|---|
![]() |
ในปี 2564 ปตท. ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 ด้วยคะแนน 81 คะแนน* (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) |
![]() |
|
* ข้อมูลคะแนน ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564